ที่มา ประชาไท เราได้ยินประโยคเช่นนี้กันบ่อยขึ้น “นับแต่นี้ต่อไปสังคมไทยจะไม่เหมือนเดิม” แต่อะไรหรือที่ไม่เหมือนเดิม? นิธิ เอียวศรีวงศ์ เคยวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (อย่างน้อยในช่วงสองทศวรรษหลังมานี้) ทำให้เกิดการขยายฐานจำนวนคนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ เช่น การมีสวัสดิการในการรับบริการสาธารณสุข โอกาสทางการศึกษา การประกันราคาพืชผล การเข้าถึงแหล่งทุน หรือกระทั่งการรักษา/พัฒนาคุณค่า (และมูลค่า) ของทรัพยากรธรรมชาติและภูมิปัญญาของชุมชน ต้องพึ่งพาหรือมีมิติเชื่อมโยงกับอำนาจรัฐมากขึ้น ในยุครัฐธรรมนูญ 2540 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญคือ มีการ “แข่งขันทางนโยบาย” ค่อนข้างเด่นชัด แม้การเลือกตั้งจะมากด้วยการซื้อเสียง (ซื้อเสียงกันทุกพรรค) แต่ไม่ได้หมายความว่าประชาชนที่รับเงินซื้อเสียง จะปราศจากการใช้ “เหตุผล” ในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพราะผลของการเลือกตั้งบ่งชี้ข้อเท็จจริง (ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนเลือกอย่างมีเหตุผล) ที่ชัดเจนอย่างข้อย 2 ประการ คือ 1) ประชาชนเลือกเพราะชอบนโยบายพรรค 2) ประชาชนเกิดศรัทธาอย่างเหนียวแน่นต่อนักการเมืองหรือพรรคการ เมืองที่ใช้นโยบายที่หาเสียงไว้มาปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ที่พวก เขามองเห็นได้อย่างเป็นรูปธรรม แน่นอนว่า เราอาจวิจารณ์นโยบายประชานิยม และรัฐบาลที่คนชั้นกลางระดับล่างและคนรากหญ้าเลือกได้หลายแง่มุม แต่เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การเลือกนโยบายพรรค และการที่ประชาชนศรัทธาต่อนักการเมืองหรือพรรคการ เมืองเพราะทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้นั้นไม่ใช่ความก้าวหน้าของ การเมืองในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน และความก้าวหน้าดังกล่าวนี้เองที่ทำให้คนชั้นกลางระดับล่าง และคนชั้นล่างซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคมไทยได้ค้นพบว่าพวกเขามี “อำนาจ” อยู่จริงในการกำหนดทิศทางการเมืองระดับชาติ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของพวกเขา การที่ประชาชนส่วนใหญ่ค้นพบว่า พวกเขามีอำนาจ “อยู่จริง” ดังกล่าว ทำให้เกิดการตระหนักในคุณค่าของการใช้อำนาจนั้นให้เอื้อประโยชน์ ต่อชนชั้นของพวกเขามากขึ้น และมีความรู้สึก “หวง” อำนาจของตนเองมากขึ้น จึงทำให้พวกเขาตระหนักว่า “การเลือกตั้ง” มีความหมายต่อการกำหนดอนาคตของพวกเขาเอง ไม่ใช่ “ประชาธิปไตยเพียง 4 วินาที” ดังที่แกนนำพันธมิตรฯ “เข้าใจ” (และพยายามชี้นำให้สังคมเชื่อตาม) ฉะนั้น การออกมาทวงคืนอำนาจในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งจากรัฐบาลหุ่นเชิด ของอำมาตย์ จึงไม่ใช่การเรียกร้องของคนไม่รู้ประชาธิปไตย หรือไม่ได้มีอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างที่ถูกดูแคลน (และถูกซ้ำเติมด้วยข้อกล่าวหาว่าเป็นเครื่องมือนักการเมืองโกง ขบวนการก่อการร้าย ขบวนการล้มเจ้า ฯลฯ) ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ทำให้ เกิดการขยายฐานจำนวนคนชั้นกลางระดับล่างเพิ่มมากขึ้น (คนเหล่านี้สามารถเข้าถึงสื่อ การศึกษา เทคโนโลยีการสื่อสารหลากหลายขึ้นกว่าเดิม) และความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ การแข่งขันทางนโยบาย ประชาชนลงคะแนนเลือกตั้งอย่างมีเหตุผล และตระหนักว่าพวกเขามีอำนาจ “อยู่จริง” มากขึ้น นี่คือ “ความไม่เหมือนเดิม” ของสังคมไทย แต่ “ความไม่เหมือนเดิม” ดังกล่าวนั้น ต้องปะทะกับ “ความเหมือนเดิม” ของชนชั้นนำไทย ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นอภิสิทธิชน ชนชั้นปกครอง ปัญญาชน นักวิชาการ สื่อสายอนุรักษ์นิยม หรือสายก้าวหน้ากึ่งอนุรักษ์นิยม “ความเหมือนเดิม” ของชนชั้นนำเหล่านี้คือ การยึดติดว่าพวกตนเป็นเจ้าของ “อำนาจปกครอง” และ “อำนาจทางศีลธรรม” หรือ อำนาจชี้ถูกชี้ผิดและ/หรือกำหนดทางเลือกทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง แล้วโศกนาฏกรรมจึงเกิดขึ้นเมื่อพวก เขาเผชิญกับ “การท้าทาย” จากความเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้ากว่า ด้วยการพยายาม “กระชับ” อำนาจปกครองให้เข้มแข็งเฉียบขาดมากขึ้น โดยอาศัย “ลมปาก” ของนักการเมืองรุ่นใหม่ภาพลักษณ์งดงามว่า เพื่อปกป้องนิติรัฐ ปกป้องสถาบัน สร้างความปรองดอง คืนความสงบสุขให้บ้านเมือง ฯลฯ และพยายาม “กระชับ” อำนาจทางศีลธรรม ด้วยข้อเสนอแผนปรองดอง ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปสื่อ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ (หรือกระทั่งเสนอให้ “ถวายคืนพระราชอำนาจ” ใช้เวลา 3 ปี ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปตำรวจ) สรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ว่า “ความไม่เหมือนเดิม” มาขอ “การมีส่วนร่วม” ในการกำหนดอนาคตของประเทศผ่าน “การเลือกตั้ง” แต่ “ความเหมือนเดิม” นอกจากจะไม่ยอมให้เกิดการมีส่วนร่วม (ย้ำ การเลือกตั้งเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนที่เป็นรูปธรรมและ กว้างขวางที่สุด) ดังกล่าวแล้ว ยังพยายาม “กระชับ” อำนาจปกครองและอำนาจทางศีลธรรมของชนชั้นของพวกตนให้เข้มแข็งกว่าเดิม! แต่การไม่ยอมรับ “ความไม่เหมือนเดิม” ด้วยการพยายามกระชับอำนาจของชนชั้นนำดังกล่าวดำ เนินไปท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่เหมือนเดิมอ ย่างสำคัญ คือ หากเปรียบเทียบกับความขัดแย้งทางการเมืองเดิม เช่น เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา และพฤษภา 35 ความขัดแย้งทางความคิดของคนในสังคมไม่ได้ขยายกว้าง ร้าวลึก และยืดเยื้อมากขนาดนี้ การที่รัฐบาลอภิสิทธิชนพยายามปกครอง ประเทศด้วยการสร้างความกลัว (คง พรก.ฉุกเฉิน ปิดสื่อฝ่ายตรงข้าม สื่อที่มีความเห็นต่าง อย่างไม่มีกำหนด) เดินหน้าแผนปรองดองพร้อมกับกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ถูกตั้งคำถามถึง “ความเป็นกลาง” และอ้างว่า เมื่อบ้านเมืองเข้าสู่บรรยากาศของความปรองดองสมานฉันท์แล้วจึงจะ มีการเลือกตั้ง ก็ยิ่งแสดงถึงวิธีคิดและรูปแบบการเผชิญกับ “ความไม่เหมือนเดิม” ของสังคมไทยที่สะท้อนถึงความเห็นแก่ตัว ลุแก่อำนาจ และไม่เคารพต่อ “อธิปไตย” ของประชาชน ของบรรดาชนชั้นนำไทยที่ไม่รู้จักเรียนรู้และปรับตัวต่อโลกที่เปลี่ยนแปลงไปแล้ว คำถามคือ อำนาจปกครอง และอำนาจศีลธรรมของชนชั้นนำไทยที่เสื่อม “ความชอบธรรม” (เพราะเป็นอำนาจบน “ฐานคิด” ที่ดูถูกประชาชน สืบทอดรัฐประหาร ฆ่าประชาชน! ฯลฯ) ไปมากแล้ว จะยังคงอยู่ได้นานแค่ไหน? ชนชั้นนำเหล่านี้เกิดการเรียนรู้หรือไม่ว่า ประชาชนส่วนใหญ่ที่หูตาสว่างมองเห็น “ความไม่เหมือนเดิม” ที่ก้าวหน้ากว่า เขาเบื่อหน่ายแค่ไหนกับการที่ได้เห็น “วิธีการแบบเดิมๆ” โดยให้บรรดา “ทหารหาญ” (ที่ควรไปปฏิบัติ “หน้าที่” ใน 3 จังหวัดภาคใต้) ลงพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดเพื่อปฏิบัติการจิตวิทยา (ปจว.) ชิงมวลชนกลับคืน คนเสื้อแดงและประชาชนทั่วไปที่ต้องการเปลี่ยนประเทศไปสู่ “ความไม่เหมือนเดิม” ที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ต้องไม่ท้อถอย ต้องมีขันติธรรม ไม่เผาโรงเรียน สถานที่ราชการ ต้องชัดเจนในเป้าหมาย มั่นคงในอุดมการณ์ เรียกร้องรัฐบาลด้วยการใช้เหตุผลที่เหนือกว่า และอดทนที่จะรอคอย “สั่งสอน” ชนชั้นนำที่ยึดติดอำนาจปกครองและอำนาจทางศีลธรรมอย่าง หน้ามืด ใน “การเลือกตั้ง” ครั้งต่อไป!