WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, February 10, 2008

สดศรี ชี้ควรให้ ส.ส.ยื่นตีความกรณีห้าม ส.ส.เป็นเลขานุการ รมต

กรุงเทพฯ 9 ก.พ. - “สดศรี สัตยธรรม” ระบุ รธน. ปี 50 ไม่ต้องการให้นักการเมืองยุ่งเกี่ยวกับข้าราชการประจำ หากต้องการให้ตีความ กรณีห้าม ส.ส.เป็นเลขานุการ หรือที่ปรึกษารัฐมนตรี ควรให้ ส.ส.เข้าชื่อยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญมากกว่าให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ ระบุหากต่อไปต้องการแก้ไข รธน.ฉบับนี้ ควรสอบถามประชามติจากประชาชนก่อน


นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะอดีตกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ให้ความเห็น กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ การเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมือง ของ ส.ส. (กรณี ส.ส.เป็นเลขานุการ หรือ ที่ปรึกษารัฐมนตรี) ว่าจุดใหญ่ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่ต้องการให้นักการเมืองยุ่งเกี่ยวกับข้าราชการประจำ ดังนั้น บทบัญญัติต่างๆ ที่ออกมาจึงระบุว่า เมื่อเข้าสู่การเมือง เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ก็ไม่ควรเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งทางราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ

“การยื่นตีความบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ ควรให้ตุลาการรัฐธรรมนูญ หรือ ศาลรัฐธรรมนูญตีความ การที่รัฐบาลให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ เห็นว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นส่วนหนึ่งของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ด้วยกันมาตลอด ดังนั้น การตีความควรยึดตัวบทของรัฐธรรมนูญเป็นหลัก” นางสดศรี กล่าว

อย่างไรก็ตาม นางสดศรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด พิจารณาศึกษารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ว่าเป็นการปิดกั้นนักการเมือง จนไม่สามารถหาทางออกในเรื่องต่างๆ มากเกินไปหรือไม่ แต่เมื่อมีการใช้รัฐธรรมนูญมาช่วงหนึ่งแล้ว ก็ต้องมาทบทวนดูว่า มีส่วนดี ส่วนเสียอย่างไร มีช่องว่างที่ทำให้การเมืองเดินไม่สะดวกหรือไม่ หากพบก็เป็นหน้าที่หลักของรัฐบาล ที่จะต้องมาทบทวน และพิจารณาแก้ไขในสภาฯ ต่อไป โดยให้ทุกพรรคการเมืองมีส่วนร่วม

“เวลายกร่างรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับต่างๆ ที่บัญญัติไว้ กรรมาธิการยกร่างฯ ก็มีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเสียงข้างมาก บางเรื่องมติก็ไม่เป็นเอกฉันท์ การตีความกรณีที่เกิดขึ้น น่าจะให้ ส.ส.เข้าชื่อกัน ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา น่าจะเหมาะสมกว่า” นางสดศรี กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า เห็นด้วยหรือไม่กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญประเด็นนี้ นางสดศรี กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องมองผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก การเข้าไปทำงานในลักษณะเหมือนเป็นการควบคุมการทำงานของข้าราชการประจำ ส่วนตัวเห็นว่าไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน ดังนั้น การเมืองกับข้าราชการต้องแยกออกจากกันได้ และว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ที่ได้รับฉันทามติจากประชาชน ในขั้นตอนการลงประชามติมาแล้ว ผู้ที่จะแก้ไขก็ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม ด้วยการทำประชามติก่อนว่า ประชาชนเห็นด้วยหรือไม่ที่จะแก้ไข เพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง .- สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-02-09 19:01:57