ก่อนการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 นั้น ทักษิณ โดนรุมแบบ "กฐินสามัคคี" จากหลายฝ่ายเช่น พวกอำมาตย์ พวกขวาจัด พวกสื่อ นักวิชาการ ชนชั้นกลางบางส่วน เอ็นจีโอ ฯลฯ คนพวกนี้รุมกันสะกรัมทักษิณแบบสามัคคีบาทา
หากวิเคราะห์ให้ลึกลงไปถึงฝ่ายที่ต่อต้านทักษิณแล้ว แท้ที่จริงก็คือ "คนชั้นกลางบางส่วน" ใน กทม. กับ คนภาคใต้ ทั้งภาค นั่นเอง
ส่วนกลุ่มที่นิยมทักษิณนั้น คือ คนรากหญ้า และคนชั้นกลางแบบก้าวหน้าในโลกไซเบอร์ทั้งหลาย
เมื่อพรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้ง และได้จัดตั้งรัฐบาล กลุ่มพันธมิตร ซึ่งจะให้พูดตรงๆ คือ นอมินีของพวกอำมาตยาธิปไตย และผู้มีอิทธิพลนอกรัฐธรรมนูญ และพวกมือที่มองไม่เห็น แต่คนรับรู้ได้กันทั่วประเทศทั้งหลาย พวกนี้พาคนของพวกตนลงประท้วงกลางถนน ปิดถนน เรียกร้องให้รัฐบาลแลนายกฯสมัครลาออก ทั้งๆ ที่รัฐบาลเพิ่งตั้งมาได้ 4 เดือนเศษเท่านั้ ผมคิดว่าจุดนี้เอง ก่อให้เกิดความแตกแยกในกลุ่มต่อต้านทักษิณอย่างรุนแรง
บางส่วนของกลุ่มที่เคยต่อต้านทักษิณ ไม่เห็นด้วยกับแนวทางสุดกู่ของพันธมิตร คนพวกนี้ก็แยกตัวออกมา เช่น พวกริบบิ้นสีขาว พวกเอ็นจีโอบางกลุ่ม หรือพวกนักวิชาการบางส่วน เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ เป็นต้น
คนพวกนี้เริ่มคิดว่า สาเหตุของความขัดแย้งทางการเมืองของไทยที่ไม่รู้จักจบจักสิ้น และไม่อาจมองทางออกได้ แท้ที่จริงนั้นไม่ใช่มีสาเหตุมาจากทักษิณทั้งหมดเสียแล้ว แต่มีอะไรที่ลึกซึ้งกว่านั้น
พวกนี้เริ่มวิเคราะห์แก่นแท้ของปัญหา ว่ารากเหง้าสาเหตุของปัญหาคืออะไร ทำไมความขัดแย้งครั้งนี้มันถึงได้ยาวนานและไร้ทางออกเช่นนี้ เมื่อพวกเขาเริ่มวิเคราะห์หาสาเหตุ คนเหล่านี้ก็จะต้องเจอความจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว มันถึงจุดเปลี่ยนของประวัติศาสตร์ จุดเปลี่ยนของโครงสร้างอำนาจทางการเมือง ที่อำนาจทางการเมือง เริ่มไหลออกไปจากคนชั้นกลางในเมือง และคนชั้นสูงทั้งหลาย ไปสู่คนชนบท คนรากหญ้า เรียกว่า Power shift ทักษิณแค่ "เข้าไปครองตลาดได้ก่อนเท่านั้น"
เมื่อคนชั้นรากหญ้าตระหนักในอำนาจของตน และรู้ว่าหนึ่งคะแนนของพวกเขามีผลอย่างมหาศาลต่อการเมืองไทย มีผลต่อความกินดีอยู่ดีของพวกเขา จำนวนที่มากกว่าของคนรากหญ้า และการออกคะแนนเสียงเป็นกลุ่มก้อน ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน ทึ่คนทุกคนต่างมีหนึ่งเสียงเท่ากัน ไม่ว่ามหาเศรษฐีหมื่นล้าน ศักดินาชั้นสูง หรือชาวนารับจ้าง ไม่ว่าจบด็อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ หรือจบแค่ ป. 4 ในสังคมประชาธิปไตยยต่างมีอำนาจเท่ากัน มีหนึ่งเสียงเท่ากัน คนรากหญ้าก็ต้องชนะเลือกตั้งอยู่วันยังค่ำ พรรคการเมืองที่คนรากหญ้าสนับสนุน ย่อมชนะเลือกตั้งอย่างแน่นอน
พวกสื่อบางส่วนเริ่มสำนึกในความจริงเหล่านี้ และเริ่มเสนอข่าวที่เป็นกลางมากขึ้น แม้ว่าส่วนใหญ่จะยังเป็น สื่อเสี้ยมอยู่ก็ตาม
ทหารและกองทัพไทย ที่ทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของประชาชนแล้วปกครองไม่ได้ ทำให้ทหารใม่ใช่ปัจจัยชี้ขาดทางการเมืองอีกต่อไป แม้ว่าทหารจะยังมีพลังอยู่บางส่วนก็ตาม แต่เมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไม่เอา ทหารก็ไม่สามารถฝืนความจริงพ้น การขู่จะทำรัฐประหารจึงไม่ใช่สิ่งที่ฝ่ายต่อต้านรัฐประหารจะกลัวอีกต่อไป เพราะขืนทำรัฐประหาร ล้มรัฐบาลพลเรือนที่มาจากเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง จะต้องโดนนานาชาติ คว่ำบาตรทางเศรษฐกิจแน่นอน และสุดท้ายก็จะไปไม่รอด
"แกนนำของพวกศักดินา" รอบ ๆ ป.สี่เสา และอื่น ๆ (หวังว่าคงทราบว่าอื่นๆ คืออะไร) พร้อมใจกัน "บารมีเสื่อมโทรมทั่วหน้า" เมื่อเทียบกับ เมื่อสามปีก่อน ที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง ไม่กล้าแม้แต่จะคิด ตอนนี้เริ่มมี "อารยะขัดขืน" ไม่ยืน...บ้างแล้ว
แต่ในทางตรงกันข้าม “พวกนิยมทักษิณ” ผมว่าส่วนใหญ่ที่เป็นชาวรากหญ้ายังเหนียวแน่นเหมือนเดิม ยิ่งภาวะข้าวราคาแพง ฐานคะแนนเสียงของพรรคพลังประชาชน ไม่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากนัก ราคาน้ำมันแพง ก็ไม่ค่อยกระทบคนชนบทมากนัก ทำให้แรงกดดันในชนบทที่เป็นฐานคะแนนเสียงหลักของพวกนิยมทักษิณ ไม่กระเทือนแต่อย่างใด
สำหรับคนชั้นกลางนั้น ผมว่าขณะนี้กำลังเสียงแตก บางพวกแหยงที่จะเลือกข้าง บางคน พยายามที่จะทำตัวไม่สนใจการเมือง เพราะไม่สามารถหาทางออกให้กับตนเองได้ ไม่สามารถตอบคำถามตัวเองได้อย่างซื่อสัตย์ ว่าความวุ่นวายทางการเมืองสามปีที่ผ่านมานี้ เกิดจากคนชั้นกลาง ที่ไม่ยืนอยู่บนหลักการประชาธิปไตย และใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล
ตอนนี้ พวกนักวิชาการที่มีฐานมาจากคนชั้นกลางเหล่านี้ ต่างแย่งชิงกัน “เสนอทางเลือกที่สาม” เช่น ไปให้พ้นจากความขัดแย้งของการเมืองแบบสองขั้ว “ “พวกริบบิ้นสีขาว” ฯลฯ คนพวกนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นคนชั้นกลาง ไม่ใช่คนรากหญ้า ตลาดการเมืองที่แนวคิดเหล่านี้จะขายได้คือ “ขายให้กับคนชั้นกลางด้วยกัน” คนชั้นกลางที่เมื่อการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา เทคะแนนให้พรรคประชาธิปัตย์ หากสามารถขายแนวคิดนี้ได้ เสียงของพวกนี้จะแตก และแยกตัวออกไปเลือกพรรคทางเลือกที่สาม พวกนี้จะไปดึงคะแนนจากพรรคประชาธิปัตย์ เพราะพวกนี้คือพวกต่อต้านทักษิณเดิม แต่เริ่มสับสนว่าทักษิณ อาจไม่ใช่ปัญหาหลัก ทักษิณไม่ใช่ปัญหาที่แท้จริง
สถานการณ์ตอนนี้ "ฝ่ายเรายังเข็มแข็ง" ศัตรูนั้นแตกออกเป็นหลายพวก ไม่เป็นเอกภาพ สับสนทางด้านแนวคิด อุดมการณ์ และ "เข็มมุ่ง"
ทิศทางรวนเร ไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด ตรงกันข้ามกับพวกนิยมทักษิณ ที่จุดมุ่งหมายไม่เปลี่ยนแปลง คือ "ประชาธิปไตย ต้องมาจากเลือกตั้ง และต้องยอมรับเสียงข้างมาก"
สังคมไทยตอนนี้ การเสนอทางออกจากวิกฤต โดยกลุ่มต่างนั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ไม่ต้องมีใครเสนอทางออกหรอกครับ ไม่อย่างนั้นปัญหามันจะไม่จบ การสมานฉันท์ โดยซุกปัญหาไว้ใต้พรม จะทำให้รอยร้าวมากยิ่งขึ้น
สังคมย่อมมีทางออกของมันเอง วิกฤตการณ์ทุกอย่างมีทางออกของมันเสมอ เหมือนคำกล่าวสำคัญที่ว่า Life has its own way. คือ ชีวิตย่อมมีทางออกของมันเอง ชีวิตย่อมไม่ถึงทางตันแน่นอน ประเทศไทยมีวิกฤตการณ์หลายครั้งแล้ว เราเคยเสียกรุง เสียเอกราชก็ถึงสองครั้งแต่ประเทศไทยก็ไม่ล่มสลาย
ราชธานีเคยถูกเผา ราชวงศ์เคยถูกโค่น กษัตริย์เคยถูกจับไปเป็นเชลย ประชาชนเคยถูกกวาดต้อนไปจนเป็นเมืองร้าง แต่ประเทศไทย และคนไทย ก็ยังอยู่บนแผ่นดินนี้ได้ ชีวิตย่อมมีทางออกของมันเอง คนทุกคนเกิดมาต้องตาย ไม่มีใครอยู่ค้ำฟ้า
ไม่ตายแบบเลือดท่วม ก็ต้องตายบนเตียง ป่วยตาย หรือแก่ตาย แต่สรุปคือ "ตายทุกคน" ดังนั้น จะนองเลือกก็ให้มันนองไป โลกไม่มีเคยมีคนตายมากกว่าคนเกิด เพราะ "คนเกิดกับคนตายจะเท่ากันพอดี"
ดังนั้น ไม่ต้องเสนอทางออกในการแก้ปัญหาแล้วครับ ปล่อยให้สังคมมันแก้ปัญหาด้วยตัวของมันเอง
ทางออกย่อมมี และจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับสังคมในขณะนั้นเสมอ