WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, June 19, 2008

เมื่อผู้ใหญ่เฮงซวย...วางตัวไม่เป็นกลาง!

คอลัมน์ : ละครชีวิต

การวางตัวให้เป็นกลางของผู้หลักผู้ใหญ่ ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางความคิดอย่างรุนแรงแบบนี้ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

โดยเฉพาะบรรดานักคิด นักเขียน นักวิชาการ ที่มีหน้าที่ให้การศึกษา ให้ความรู้ ต้องมีสติยึดมั่นในหลักการวิชาชีพของตนเองอย่างมั่นคง

เพราะสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ไม่ใช่เกิดความขัดแย้งแบบธรรมดา แต่กำลังเกิดความขัดแย้งที่มีลักษณะประหลาด

คือไม่ใช่ความขัดแย้งในเรื่องของประเด็น แต่เป็นความขัดแย้งในลักษณะการแบ่งพรรคแบ่งพวก ซึ่งทำให้คนที่อยู่ตรงกลางต้องวางตัวลำบาก

แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะต้องวางตัวลำบากมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นเรื่องยากเย็นเข็ญใจ โดยเฉพาะผู้มีวุฒิภาวะสูง มีการศึกษา

เพราะถ้าหวังดีต่อประเทศชาติ เมื่อถูกบังคับให้เลือกพวก ดังนั้นคุณจะต้องมีความเป็นมืออาชีพ มีมารยาท ไม่ทำให้คนไทยเกลียดกันหรือฆ่ากัน

ช่วงนี้เกิดเรื่องราวอัปรีย์ในแวดวงการศึกษา เพราะครูบาอาจารย์ที่พร่ำสอนวิชาความรู้ด้านการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทะเลาะกันชนิดแตกแยกเป็น 2 ฝ่าย

อาจารย์กลุ่มหนึ่งมองว่า การจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองจะต้องระมัดระวัง และต้องแยกแยะให้ถูกถึงบทบาทของตัวเองและความเป็นส่วนตัว

อาจารย์อีกกลุ่มหนึ่งมองว่า ควรจะแสดงจุดยืนทางการเมืองของตัวเองให้ชัดเจน โดยมองว่า หน้าที่หนึ่งที่สำคัญคือ การชี้นำสังคมทางด้านการเมือง

ในฐานะที่ผมได้ติดตามความเคลื่อนไหวในแวดวงนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์มาตลอด เห็นได้ว่า บรรดานักรัฐศาสตร์มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป

ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ เพราะในคนหมู่มาก คนเรามีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นแตกต่างกันได้ ถือเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว

อย่างเช่น รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ก็เห็นว่า นายสนธิ ลิ้มทองกุล และ นายคำนูณ สิทธิสมาน มีความเข้าใจประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีลักษณะพิเศษมาก ซึ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด แต่มีปัญหาจำนวนหนึ่ง มีข้อสังเกตจำนวนหนึ่ง

ผมเข้าใจว่า รศ.ดร.เกษียร ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดประชาธิปไตยของพันธมิตรฯ ซึ่งก็เป็นสิทธิของ รศ.ดร.เกษียร ที่จะคิดต่างได้ และผมก็ไม่เห็นว่า รศ.ดร.เกษียร จะเป็นจะตายกับคุณสนธิที่คิดไม่เหมือนกัน

อาจารย์ท่านนี้ไม่ได้ชื่นชอบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี สักเท่าไร ใครอยากรู้ลองไปค้นหาข้อมูลเก่าๆ มาดู

แต่วันนี้ ในฐานะนักรัฐศาสตร์ ท่านวางตัวเป็นกลางบนสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งกันรุนแรง จนคนไทยจะฆ่ากันเองอยู่แล้ว

อยากถามบรรดาอาจารย์ท่านอื่นๆ เช่น ดร.สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ รศ.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ รัฐศาสตร์ มสธ. ผศ.ยุทธพร อิสระชัย อาจารย์สาขารัฐศาสตร์ มสธ. รศ.ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า ดร.ณัฐฐา วินิจนัยภาค อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ นิด้า

อาจารย์เหล่านี้ ได้แถลงการณ์ให้กำลังใจ ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่ไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ว่าขอยกย่องว่านี่คือแบบอย่างแห่งศักดิ์ศรี และความภาคภูมิใจของเหล่านักวิชาการและนิสิต-นักศึกษา และขอประณามผู้ที่หวังให้เกิดความแตกแยกในหมู่นักวิชาการและพันธมิตรฯ ขอให้มันผู้ใดที่มีอคติอันชั่วร้ายนั้น จงพินาศโดยพลัน ทั้งหมู่และบริวารจงฉิบหาย...

นี่เหรอครับ...ภูมิปัญญาของบรรดาคณาจารย์ทั้งหลาย ที่จะชี้นำสังคมด้านการเมือง

ผมแนะนำให้พวกคุณถอดตำแหน่ง เอาเครดิตคืนมหาวิทยาลัย และกลับไปศึกษาประชาธิปไตยกันใหม่อีกรอบ

เรียนจบกลับมาเป็นอาจารย์อีกครั้งก็จงเป็นอาจารย์ที่ดี อบรมสั่งสอนให้ความรู้นักศึกษาในหลักวิชาการที่ถูกต้อง ไม่ใช่เอาความคิดเห็นส่วนตัวไปยัดเยียดนักศึกษา เพราะจะทำให้ลูกศิษย์โง่เง่าไปกับพวกคุณด้วย

พวกท่านควรสอนให้ลูกศิษย์รู้จักคิดไตร่ตรอง วิเคราะห์ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เอาอคติตัวเองไปครอบงำพวกเขา

เพราะถ้าเป็นแบบนี้แล้วลูกศิษย์ที่ไหนจะกล้ามีความคิดแตกต่าง เพราะคนสอนมันมีความคิดเฮงซวย

เมื่อคนสอนคิดเฮงซวย ลูกศิษย์ก็เลยต้องคิดห่วยๆ บ้านเมืองก็เลยพลอยซวยไปด้วย! (เวรกรรม)

ลวดหนาม