WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 17, 2008

นักรัฐศาสตร์จี้สื่อเลิกเสื้ยม หยุด!หมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ !

กรณีความเคลื่อนไหวของคณาจารย์คณะรัฐศาสตร์จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ได้แสดงจุดยืนและการแสดงออกทางการเมืองไทยมากมายนั้นก่อให้เกิดเสียงวิจารณ์ว่านักรัฐศาสตร์วางตัวเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ซึ่งในงานสัมมนา ความมืดยามเที่ยง : ความรู้ทางรัฐศาสตร์กับทางออกการเมืองไทย เนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้มีการถกเถียงในหลากหลายประเด็นโดยมีนักรัฐศาสตร์เข้าร่วมสัมนา เช่น ดร. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ ,รศ.ดร. เกษียร เตชะพีระ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มธ. ฯลฯ

อ. เกษียร เตชะพีระ
“ต้องทำให้การเมืองเรื่องชนชั้นเป็นประชาธิปไตย”
“ในประวัติการเมืองไทยสมัยใหม่ ได้เกิดการเคลื่อนย้ายอำนาจครั้งใหญ่อย่างน้อย 3 รอบแล้ว โดยครั้งแรก กลางคริสศตวรรษที่ 19 ถึงคริสศตวรรษที่ 20 บริบทโลกคือระบอบอาณานิคมทางเศรษฐกิจ เราเปิดประเทศรับตะวันตก และเปิดการค้าเสรี สมัยสนธิสัญญาบาวริ่ง สมัยรัชกาลที่ 4 เกิดกลุ่มคนกระฎุมพีจีนอพยพและข้าราชการที่ศึกษาแบบตะวันตก การสร้างรัฐสมัยใหม่ของรัชกาลที่ 5 ถึงจุดหนึ่ง กลุ่มคนเกิดใหม่เหล่านี้เห็นว่าตัวเองไม่มีที่ทางในระบอบเก่าในแง่อำนาจ ก็รวมกลุ่มกันเป็นคณะราษฎร ปฎิวัติ 2475 โค่นสมบูรณาสิทธิราชย์เปลี่ยนเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ

รอบที่สอง 1960s-1970s เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่นำโดยตลาด และส่งเสริมโดยรัฐ นำไปสู่การลงทุนโดยตรงของต่างชาติโดยเฉพาะญี่ปุ่น อเมริกา สังคมเปลี่ยน เกิดคนกลุ่มใหม่ขึ้นมา คือชนชั้นกลางในเมืองและนายทุนหัวเมืองต่างจังหวัด ถึงจุดหนึ่ง คนเหล่านี้ก็รู้สึกอึดอัดกับระบอบเก่า ในที่สุดก็ลุกฮือโค่นเผด็จการทหาร ทั้ง 2516 และ 2535 เมื่อผ่านการต่อสู้ 20 ปี ระบอบเปลี่ยน ได้ระบอบประชาธิปไตยรัฐสภา

รอบปัจจุบัน สมัยรัฐบาลชวนเมื่อปี 2535 มีการเปิดเสรีทางการเงิน โลกาภิวัตน์ทางเศรษฐกิจ สังคมเกิดคน 2 กลุ่มขึ้นมา กลุ่มหนึ่งเป็นกลุ่มที่รวยกระทันหัน คือ สามารถเกาะกระแสโลกาภิวัตน์ได้ กับกลุ่มที่แพ้ในโลกาภิวัตน์ เพราะเสียฐานทรัพยากร แต่ไม่มีความรู้เทคโนโลยี เพราะฉะนั้นกลุ่มหนึ่งคือชาวบ้านชนบท บวกคนจนคนชายขอบผู้ใช้แรงงานในเศรษฐกิจนอกระบบของเมือง

ทักษิณและไทยรักไทย ก็คือตัวแทนทางการเมืองทั้งในแง่นโยบายและการจัดตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มๆ นี้ ที่รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ 2540 แล้วได้บทเรียนว่าใหญ่ทางเศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ ต้องบริหารรัฐเองด้วย ปล่อยให้กลุ่มอื่นบริหารรัฐ เราเจ๊งได้ ต้องเข้าสู่อำนาจรัฐบริหารเอง โดยในกระบวนการเปลี่ยนระบอบเขากำลังเผชิญกับประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

สำหรับทางออกจากความขัดแย้งนั้น ขั้นตอนแรก อย่าจินตนาการถึงสิ่งที่สุดโต่งตกขอบ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงของการเมืองวัฒนธรรมไทย ไม่ว่าการขัดแย้งรุนแรงแตกหัก หรือระบอบการเมืองที่ไม่มีพลังฝ่ายตรงข้ามดำรงอยู่ มันเป็นไปไม่ได้ ดูผลการเลือกตั้งปี 2547-2548 เรากำลังอยู่ในภาวะที่คนสิบกว่าล้านเลือกพรรคไทยรักไทยและพรรคพลังประชาชน เลือกภายใต้ คปค. ภายใต้รัฐธรรมนูญ 50 และคนอีกสิบกว่าล้านที่ไปเลือกฝั่งตรงข้าม คุณจะทำให้คนสิบกว่าล้านหายไปได้ยังไง

ดังนั้นทั้งสองฝ่ายควรตั้งสติและเลิกบ้า ควรจินตนาการถึงอนาคตทางการเมืองที่พลังทั้งสองฝ่ายต้องดำรงอยู่ด้วยกัน คำถามคือ จะอยู่ด้วยกันแบบไหนที่เป็นไปได้และไม่ทำลายตัวสังคมไทยลงไป และจะทะเลาะกันอย่างสันติเพื่อไปสู่จุดนั้นอย่างไร เสนอว่า ต้องทำให้การเมืองเรื่องชนชั้นเป็นประชาธิปไตย เราปฎิเสธไม่ได้แล้วว่า สังคมไทยแยกขั้ว ฐานที่แท้จริงคือเรื่องชนชั้น มีความขัดแย้งทางชนชั้นเกิดขึ้นแล้ว ทำอย่างไรจะต่อสู้กันในฐานะเพื่อนร่วมชาติอย่างเป็นประชาธิปไตยได้

ข้อเสนอคือต้องเคารพรัฐธรรมนูญไทยฉบับวัฒนธรรม 4 มาตรา ไม่สนใจฉบับกระดาษเพราะแก้ได้ก็แก้อีกได้ คือ 1.กองทัพต้องไม่ใช้กำลังเข้าแทรกแซง ยุ่งเกี่ยวความขัดแย้งทางการเมือง 2.ไม่ดึงสถาบันกษัตริย์มาเป็นเครื่องมือทำลายคู่ขัดแย้งทางการเมือง เราไม่ควรดึงสถาบันกษัตริย์ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่คนไทยต่างชนชั้น และต่างขั้วการเมืองยอมรับร่วมกันมาอยู่ข้างเราเท่านั้น แล้วบอกว่าฝ่ายตรงข้ามไม่ใช่ เพราะมันจะไม่มีทางออกสันติ ถ้ามีคนแบบนั้นต้องฟ้องศาลไปตามกฎหมาย จนกว่าเราจะเปลี่ยนกฎหมาย ถ้าบ้านนี้เมืองนี้มีกฎหมายอยู่ และมีใครหมิ่นก็ว่ากันไปตามกฎหมาย แต่อย่ามาปลุกให้ฆ่ากันกลางถนน

ถึงที่สุด ถ้าเราทะเลาะกันจนถึงจุดที่เราหาที่ลงไม่ได้ เราควรจะเก็บอะไรที่เป็นของชาติเอาไว้ เพื่อทำให้เราไม่ต้องฆ่ากันในวันนั้น พิทักษ์ปกป้องและขยับขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ พิทักษ์ปกป้องและขยับขยายพื้นที่ประชาธิปไตย ทั้งสองพื้นที่นี้ถูกทั้งสองฝ่ายขยี้ในรอบหลายปีที่ผ่านมา เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้าม

ขอยก 2 กรณี ในพระราชดำรัส 25 เมษายน 2549 ขณะนั้นพันธมิตรฯ มีข้อเสนอขอพระราชทานนายกฯ เป็นผู้นำปฏิรูปการเมืองโดยอ้างมาตรา 7 ในพระราชดำรัสองค์นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบอกว่าทำไม่ได้ นั่นเป็นการปกครองแบบมั่ว เราอาจจะประมาณได้ว่า จากพระราชดำรัสองค์นั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับของพันธมิตรฯ ไม่ตรงกัน

นอกจากนั้นมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ ซึ่งจำตัวเลขไม่ได้ เกี่ยวกับคดีหมิ่นประมาทที่คุณทักษิณฟ้องคุณสนธิ (ลิ้มทองกุล) ศาลตัดสินให้คุณสนธิแพ้และมีโทษจำคุก คำตัดสินบอกด้วยว่าศาลไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่คุณสนธิอ้างอิงสถาบันกษัตริย์มาใช้ในทางการเมืองเพื่อโจมตีคุณทักษิณ เราอนุมานจากกรณีนี้ได้เช่นกันว่าศาลกับของคุณสนธิเห็นไม่ตรงกันเรื่องนี้

เท่าที่พยายามศึกษาจากคำแถลงของคุณสนธิและของคุณคำนูณ (สิทธิสมาน) ซึ่งมีบทบาทมากในผู้จัดการ ลักษณะความเข้าใจหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของคุณสนธินั้นมีลักษณะพิเศษมาก ซึ่งไม่ทราบว่าถูกหรือผิด แต่น่าสนใจยิ่ง มีปัญหาจำนวนหนึ่ง มีข้อสังเกตจำนวนหนึ่ง ซึ่งเราต้องพูดกันยาว ดังนั้น พึงฟังข้อกล่าวหาเหล่านี้อย่างรอบคอบ ผมอยากจะเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องนี้...ในเวลาที่เหมาะสม

ประการต่อมา ในพระราชดำรัส ก่อนวันพระราชสมภพวันที่ 5 ธันวาคม 2548 ช่วงนั้นมีคดีความที่รัฐบาลทักษิณและตำรวจจำนวนมากราวกับนัดหมายกันมาฟ้องคุณสนธิทั่วประเทศว่าหมิ่นฯ พระราชดำรัสวันนั้นพระองค์บอกว่า The King can do no wrong นั้นไม่ถูก แต่ The King can do wrong วิพากษ์วิจารณ์ได้ ทำให้รัฐบาลถอนฟ้องคดีหมิ่นของคุณสนธิทั้งหมด เราอาจอนุมานได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยหลักการแล้วทรงเห็นว่า สถาบันกษัตริย์หรือพระองค์เองนั้น can do wrong หรือสามารถวิจารณ์ได้

ประการต่อมา หลังรัฐประหารเป็นต้นมามีการแสดงทัศนะวิพากษ์วิจารณ์เยอะตามเว็บบอร์ดต่างๆ ทัศนะเหล่านั้นอาจเริ่มต้นด้วยจุดยืนทางการเมืองอันแตกต่างหลากหลายเกี่ยวกับระบอบการปกครอง ถ้าเป็นการวิจารณ์ด้วยเหตุผล บนพื้นฐานข้อเท็จจริงก็สมควรรับฟัง การวิจารณ์เหล่านั้นควรอยู่ในกรอบของกฎหมาย แต่ที่ผมรับไม่ได้คือการวิจารณ์โดยดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ที่ถูกวิจารณ์ ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร ผมรับไม่ได้จริงๆ ต่อให้คุณเกลียดเขาทางการเมืองแค่ไหน ก็ไม่มีสิทธิวิจารณ์อย่างดูหมิ่นไม่เป็นมนุษย์ เกินเลยไปถึงครอบครัวของเขา ไม่ว่าคนที่ถูกวิจารณ์จะเป็นอดีตนายกฯ หรือคนที่สูงกว่าอดีตนายกฯ คุณมีสติเป็นมนุษย์แต่คุณไม่ทำ แล้วเจ้าของเว็บทั้งหลายควรรับผิดชอบที่จะเขี่ยทัศนคติที่ดูหมิ่นความเป็นมนุษย์ของคนอื่นทิ้ง ผมอายแทนพวกคุณ พวกคุณปล่อยให้คน abuse เสรีภาพเพื่อดูหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนอื่น คุณไม่อายหรือ ปล่อยให้เขาใช้พื้นที่ของคุณยุยงความเกลียดชัง คุณบ้าหรือเปล่า”


อ. เสกสรรค์ ประเสริฐกุล
“ถ้าไม่เตรียมตั้งสติให้ดี อาจเกิดพายุใหญ่ได้”


“เมื่อพูดถึงความรู้ทางรัฐศาสตร์กับทางออกของการเมืองไทย มีข้อสังเกตว่า รัฐศาสตร์ไม่ค่อยเหมือนอย่างอื่น คือโดยตัวมันเองแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ อยู่ที่ว่าใครเป็นผู้ใช้ความรู้นั้น นักรัฐศาสตร์มักเป็นชนคนละกลุ่มกับผู้มีอำนาจ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจทางการเมือง เพราะฉะนั้นจึงถูกนำไปใช้จริงๆ ค่อนข้างน้อย เมื่อเทียบกับศาสตร์อื่นๆ อีกหลายสาขา ผู้ปฎิบัติกับผู้รู้เป็นคนๆ เดียวกัน เช่น จบนิติศาสตร์ เป็นทนายความก็ใช้กฎหมาย เรียนแพทย์แล้วก็เป็นแพทย์ ใช้ทุกวันก็ชำนาญขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น เวลาพูดว่าความรู้ทางรัฐศาสตร์กับทางออกทางการเมืองไทย ผมคิดว่า นักรัฐศาสตร์มองเห็นหลายอย่าง แต่จะทำให้ผู้อื่นที่อยู่บนเวทีการเมืองเห็นด้วยหรือไม่นั้นเป็นปัญหาใหญ่กว่าเยอะ และถ้าเขาไม่เห็นด้วยเราก็ได้แต่อภิปรายต่อเท่านั้นเอง

แต่ทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าตัวละครทางการเมืองไม่ได้รู้รัฐศาสตร์ หรือนักรัฐศาสตร์จะรู้ดีไปทุกเรื่อง บางทีผู้มีประสบการณ์ตรงอาจจะรู้มากกว่าเรา ปัญหาคือเมื่อขึ้นสู่เวทีอำนาจ ส่วนใหญ่มักไม่สามารถนำองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์มาใช้ได้ทั้งชุด เพราะไปติดพันอยู่กับความขัดแย้ง จุดยืนที่ต้องเอาชนะคู่แข่งขัน หรือคู่ปรปักษ์ เพราะฉะนั้นก็อาจใช้รัฐศาสตร์เฉพาะบางส่วน เช่น อ่านเฉพาะซุนวู หรือแมคคิอาเวลลี แต่ที่เอามาใช้ดูจะไม่สอดคล้องกับความรู้ทางอำนาจ ส่วนคนที่เรียนรัฐศาสตร์โดยตรงก็อาจจะไม่ได้รู้ทุกเรื่อง บางท่านเก็บข้อมูลไม่ได้หมด หรือวิเคราะห์ผิดพลาด

รัฐศาสตร์เองก็ไม่ได้เป็นเอกภาพ ไม่ได้ตายตัว แบบสะเด็ดน้ำหมดจดเหมือนวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีระบบระเบียบพอสมควร เช่น ต้องศึกษาความเป็นจริง มองปัญหาโดยเห็นความเชื่อมโยงของเหตุปัจจัยต่างๆ เพราะการมองโลกแบบตัดตอน อาจเข้าใจได้ไม่ครบ

สุดท้าย สิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในรัฐศาสตร์ตลอดเวลา คือ ต้องถือความผาสุกของส่วนรวมหรือผลประโยชน์ขององค์รวมเป็นจุดหมายสูงสุด ผมเองตอนหลังถือว่าตำรารัฐศาสตร์เล่มแรกไม่ใช่เพลโต แต่เป็น เต๋าเต๊กเก็ง ซึ่งบอกว่า การปกครองชั้นเยี่ยมคือการปกครองที่ผู้ถูกปกครองรู้สึกไม่ถูกปกครอง หรือ เพลโต ก็บอกว่าผู้ปกครองต้องปกครองเพื่อผลประโยชน์ของผู้อยู่ใต้ปกครองเท่านั้น ”