WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 7, 2008

ความยุติธรรม ( คอลัมน์ : ฤๅจะเป็นเมืองนอกกฎหมาย : ศุภชัย ใจสมุทร )

ที่มา ประชาทรรศน์

ขณะที่เขียนบทความนี้ (2 ธ.ค. 51) ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำสั่งให้ย้ายการพิจารณาคดีที่นัดให้พรรคการเมืองทั้ง 3 พรรคได้แถลงการณ์ปิดคดี ไปยังศาลปกครอง เนื่องจากมีกลุ่มประชาชนจำนวนมากได้ไปชุมนุมกันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำหน้าที่ตามกฎหมายด้วยความยุติธรรม ในการตัดสินคดียุบพรรค ซึ่งกว่านิตยสารฉบับนี้จะวางแผน ผลการตัดสินอาจจะออกมาแล้ว

เรื่องความยุติธรรม ดูเป็นสิ่งที่คู่กับมนุษยชาติมาตลอด ประวัติศาสตร์ของการค้นหาความยุติธรรมของมนุษยชาตินั้นได้กระทำติดต่อกันมานับพันปี และในทุกยุคทุกสมัยก็มีความพยายามที่จะตอบปัญหาว่าความยุติธรรมคืออะไรกันแน่ เมื่อปรากฏว่าสังคมและกฎหมายอยู่ในสภาพที่ไม่พึงปรารถนา ปัญหาเดียวกันนี้ยังมิได้รับคำตอบที่แน่นอน และมนุษย์พยายามแสวงหาคำตอบจนถึงทุกวันนี้
สิ่งที่ยังคงอยู่เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นจริงอยู่ในทุกชาติทุกวัฒนธรรมคือ มนุษย์เชื่อว่านอกจากกฎเกณฑ์ความประพฤติที่มีอยู่แล้ว มนุษย์ยังเรียกร้องแสวงหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า “ความยุติธรรม” ในฐานะที่เป็นสิ่งพึงปรารถนายิ่ง และอยู่เหนือกฎหมายบ้านเมืองที่เป็นอยู่
Aristotle เคยกล่าวไว้ว่า มนุษย์มีธรรมชาติที่จะพัฒนาไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์แบบ มนุษย์จึงมีธรรมชาติแสวงหาความสุขที่แท้จริง มิใช้เพียงพอใจกับความสุขสนุกสนานบันเทิง (pleasure) เท่านั้น แต่โดยที่มนุษย์ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ดังนั้นการพัฒนาตนเองของมนุษย์จะเกิดขึ้นได้ก็โดยการอาศัยมนุษย์ด้วยกันช่วยกันก่อให้เกิดขึ้น มนุษย์จึงต้องอยู่รวมกันเป็นสังคม มนุษย์จึงมีธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม
การมีชีวิตอยู่ในสังคมมนุษย์จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อดำเนินไปภายใต้หลักเหตุผลและความยุติธรรม นั่นคือต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย สังคมที่มีระเบียบและเป็นธรรมย่อมจะสอดคล้องกับธรรมชาติของมนุษย์มากที่สุด และนำมนุษย์ไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์ขึ้นด้วย ในทางกลับกัน มนุษย์ที่มิได้อยู่ภายใต้กฎหมาย หรือไม่ได้ถูกกำกับด้วยเหตุผล ก็อาจใช้ความสามารถและความฉลาดของตนในทางที่ผิด ซึ่งเป็นสิ่งอันตราย
หากจำกันได้ ผู้เขียนได้เคยนำการอธิบายเรื่องการปกครองภายใต้กฎหมายที่ Aristotle ได้อธิบายไว้ในหนังสือ Politics ที่ว่า “การให้อำนาจแก่กฎหมายเสมือนหนึ่งเป็นการให้อำนาจแก่พระผู้เป็นเจ้าหรือตัวเหตุผล หรือแก่ธรรมะ แต่การให้อำนาจแก่บุคคลเป็นการให้อำนาจแก่สัตว์เดียรัจฉาน เพราะความปรารถนาหรือความอยากของคนนั้นมีลักษณะของเดียรัจฉาน แม้คนที่ดีที่สุดที่อยู่ในอำนาจก็มักเสียคนเพราะกิเลสตัณหา”
อย่างไรก็ตาม Aristotle ก็ยอมรับว่าการปกครองด้วยกฎมายนั้นในบางกรณีอาจไม่เป็นธรรมได้ เพราะกฎหมายเป็นหลักการทั่วไป ปรับแก่กรณีทั้งหลายอาจมีปัญหาไม่เป็นธรรมในกรณีเฉพาะเรื่องได้ แต่โดยที่กฎหมายนั้นในตัวของมนุษย์มันเองก็คือเหตุผลอันปราศจากกิเลส ดังนั้นในกรณีที่มีปัญหาไม่เป็นธรรม เพราะกรณีเกิดขึ้นจากการใช้กฎหมาย ก็ย่อมอนุญาตให้มีการนำเอาหลักความเป็นธรรม หรือหลัก Equity เข้ามาปรุงแต่งกฎมายให้ชอบด้วยเหตุผลและเป็นธรรมได้ ลักษณะดังกล่าวย่อมสอดคล้องกับธรรมชาติของการปกครองด้วยกฎหมาย เพราะการปกครองด้วยกฎหมายก็คือการปกครองด้วยเหตุผลนั่นเอง เพราะแก่นของกฎหมายก็คือเหตุผล
แนวคิดดังกล่าวถือเป็นการชี้ช่องให้นักกฎหมายใช้หลักเหตุผลเข้ามาปรุงแต่งกฎหมายให้มีความยืดหยุ่นเป็นธรรมแก่กรณีเฉพาะเรื่อง หรือเฉพาะคดี กล่าวคือ ต้องยึดถือกฎหมายเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาวินิจฉัยประการหนึ่ง และการใช้กฎหมายจะต้องใช้ให้สอดคล้องกับความเป็นธรรมด้วยอีกประการหนึ่ง
ผลการตัดสินคดียุบพรรคของศาลรัฐธรรมนูญจะออกมาก่อนเมื่อนิตยสารฉบับนี้ได้วางแผง แต่สิ่งที่คงจะต้องตอกย้ำไว้ก็คือ พรรคการเมืองคือสถาบันการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน ดังนั้น การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในอารยประเทศนั้น การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันจำเป็นที่จะรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่า พรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้ว ยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวเพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎร ซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จึงได้แต่หวังว่าศาลรัฐธรรมนูญคงจะไม่ละเลยนำหลักการสำคัญนี้มาประกอบการตัดสิน รวมถึงคงจะได้ตระหนักด้วยว่าประชาชนจำนวนมากมายได้ผ่านเหตุการณ์อันเป็นประสบการณ์เลวร้ายมามาก จากความรู้ที่ว่าไม่ได้รับความยุติธรรม และประชาชนเหล่านั้นคงจะไม่ปล่อยให้ถูกกระทำย่ำยีซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีกต่อไป

บ้านเมืองจะเข้าสู่ยุคมิคสัญญีอย่างแท้จริงหรือไม่ คงจะอยู่ในเงื้อมมือของศาลรัฐธรรมนูญที่จะตีความคำว่า “ความยุติธรรม” อย่างไร เพราะหลายวันที่ผ่านมาประชาชนจำนวนมากได้มีคำถามกับคำนี้มากมาย ซึ่งหมายรวมถึงตัวผู้เขียนที่ได้เขียนเกี่ยวกับคดียุบพรรคมาหลายครั้ง ด้วยความรู้สึกดังกวีเอก นายผี (อัศนี พลจันทร) เคยเขียนไว้ว่า
“ตราชูนี้ดูเที่ยง บ่มิเอียงจริงไหมหือ
ขวาซ้ายเท่ากันหรือ รึจะหย่อนอยู่ข้างไหน
เพ่งดูตราชูตั้ง ข้านี้ยังมิแน่ใจ
ที่เที่ยงนั้นเพียงใด ที่ว่าไม่แค่ไหนกัน”
--นายผี--