WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, January 19, 2009

ล่าแสนรายชื่อปลด9ปปช.เถื่อน

ที่มา ประชาทรรศน์

* ตั้งเป้ากองบังคับการละพัน-จัดสัมมนาวันนี้

“ตำรวจ” เปิดฉากกู้ศักดิ์ศรีคืนหลังถูกปรักปรำหนักจากเหตุการณ์สลายม็อบชั่วหน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ตุลาคม ระดมมันสมองนักวิชาการ-อดีตนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ร่วมถกเชิงวิชาการ “องค์กรตำรวจตามรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ” นายกสมาคมตร. ชี้เป็นแพะการเมืองไม่พอ ยังถูกองค์กรอิสระทั้ง กรรมการสิทธิ์-ป.ป.ช. รุกหนักจนไม่มีกำลังใจทำงานดูแลประชาชน ขณะเดียวกันจ่อล่ารายชื่อให้ครบแสน ถอดถอน 9 ป.ป.ช.เถื่อน ตั้งเป้ากองบังคับการละพันคน พร้อมตั้งโต๊ะหน้างานเวทีอภิปรายวันนี้ เผยลูก-เมียตำรวจที่คับแค้นใจ ร่วมลงรายชื่อกันเพียบ

* ลูก-เมียตำรวจร่วมลงชื่อถอดถอนป.ป.ช.

การเข้าปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการยุติการชุมนุมอย่างบ้าคลั่งของกลุ่มพันธมิตรฯ หน้ารัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา เหตุการณ์ได้พลิกผันให้ตำรวจกลายเป็นจำเลยสังคมในขณะที่คนก่อเหตุยังคงลอยนวล โดยคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้สรุปผลการสอบสวน และส่งสำนวนไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ดำเนินการกับกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการสั่งการสลายการชุมนุม

ส่งผลให้มีผู้ถูกฟ้องทั้งนักการเมือง และนายตำรวจหลายนายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าข่ายความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ขณะเดียวกันก็ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติของการดำเนินคดี และการให้ความเป็นธรรมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำงานตามหน้าที่

โดยหลังจากมีการกล่าวหาตำรวจหลายนาย ได้มีอดีตอธิบดีกรมตำรวจและนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่เกษียณอายุราชการแล้วหลายคนได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางถึงเกียรติภูมิของตำรวจที่ถูกย่ำยีอย่างหนักในครั้งนี้

ตั้งโต๊ะล่าชื่อขับป.ป.ช.วันนี้

ตามมาด้วยกระแสข่าวว่าสมาคมตำรวจจะมีเปิดเวทีสัมมนาเพื่อพูดจากันในเรื่องดังกล่าว และขณะเดียวกันก็จะมีการรวบรวมรายชื่อให้ได้ 100,000 รายชื่อเพื่อยื่นต่อประธานวุฒิสภา นายประสพสุข บุญเดช เพื่อพิจารณาถอดถอนคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน

ทั้งนี้ในวันที่ 19 มกราคม จะมีการจัดอภิปรายเชิงวิชาการเรื่อง “องค์กรตำรวจตามรัฐธรรมนูญ กับการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ” ที่จัดโดยสมาคมตำรวจ และมีพล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์ นายกสมาคมตำรวจ เป็นประธาน ซึ่ง พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ของตำรวจตอนนี้คือ ตกเป็นจำเลยของสังคม และเป็นแพะทางการเมืองไม่พอ องค์กรตำรวจที่ก่อตั้งขึ้นมาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ กลับถูกองค์กรอิสระทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ ป.ป.ช. เข้ามารุกหนักในการพิจารณาเหตุการณ์ 7 ตุลาคม 2551 จนทำให้ภาพลักษณ์ของตำรวจเสื่อมเสียเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ตำรวจขาดขวัญกำลังใจและไม่มีความตั้งใจทำงาน

ตร.ถูกรุกหนักจนไม่มีกำลังใจ

ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดผลเสียต่อการทำคดีอาชญากรรม ทำหน้าที่ดูแลชีวิต และทรัพย์สินของพี่น้องประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ในการทำงานของตำรวจ ที่ต้องรักษากฎหมายบ้านเมือง

“ที่ผ่านมาผมมีโอกาสไปเยี่ยมตำรวจที่ได้รับบาดเจ็บ รู้สึกสงสาร เพราะไม่ค่อยมีใครมาดูแล จึงจัดการสัมมนาครั้งนี้ เพื่อเป็นเวทีสาธารณะสำหรับตำรวจให้แสดงความคิดเห็น และถกปัญหาเหล่านี้หาทางแก้ไขร่วมกับฝ่ายอื่นๆ”

ส่วนกรณีที่มีข่าวรวบรวมรายชื่อตำรวจในการยื่นถอดถอนป.ป.ช. นั้น พล.ต.อ.วิสุทธิ์ กล่าวว่า ผมไม่เคยคิดที่จะทำอย่างนั้น แต่ก็ได้ยินมาว่ามีตำรวจบางส่วนจะมีการลงรายชื่อในวันนั้น ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะเห็นว่าเป็นสิทธิที่สามารถทำได้

“โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยที่จะมีการรวบรวมรายชื่อเพื่อถอดถอน ป.ป.ช. เพราะไม่รู้ว่าการดำเนินการดังกล่าวจะออกมาในรูปแบบใด แต่ถึงอย่างไรตนก็จะรอดูผลการแสดงความคิดเห็นที่มีการอภิปรายในวัน นี้ด้วย ว่าจะมีผลออกมาเป็นอย่างไร”

อดีตนายตำรวจร่วมเวทีเพียบ

ทั้งนี้ ในการจัดอภิปรายดังกล่าวนอกจากจะมีการเชิญทั้งนักวิชาการ ประชาชน และเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าร่วมการชุมนุมแล้ว ยังมีการรวมตัวของอดีตตำรวจที่มีชื่อเสียงเข้าร่วมในงานดังกล่าวด้วย อาทิ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ อดีต อธิบดีตร. พล.ต.อ.พจน์ บุณยะจินดา อดีต อธิบดีตร. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก อดีต ผบ.ตร. พล.ต.อ.พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ อดีต ผบ.ตร.

อย่างไรก็ดีผู้สื่อข่าวรายงานว่าการขับเคลื่อนการล่ารายชื่อดังกล่าวมีการประสานกันเป็นการภายใน โดยยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียด และทำให้นายตำรวจที่ยังอยู่ในราชการ โดยเฉพาะคนที่เกี่ยวข้องกับการถูกสอบสวน ยังคงออกมาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว

สุชาติปัดล่ารายชื่อไล่9ป.ป.ช.

พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กล่าวเรื่องเดียวกันว่าการสัมมนา ไม่ได้เป็นการรวบรวมรายชื่อข้าราชการตำรวจเพื่อยื่นประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอน ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน

"ผมไม่ทำอย่างนั้นแน่นอน เพราะจริงๆแล้วทุกคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง แต่ถ้าถามว่าจะจัดกระบวนการถอดถอนด้วยเรื่องอะไร ใครเป็นคนทำนั้น ผมไม่ได้ปฏิเสธ แต่ว่าผมไม่รู้เรื่องดังกล่าว เพราะถ้าถามว่า จะถอดถอนอย่างเดียวจะเป็นไปอย่างไร ทางคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็คงสู้ไปตามกติกา เพราะว่าล้วนแต่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองทั้งนั้น ท่านก็มีกติกาของท่าน ไม่น่าจะมีความไม่เป็นธรรม ส่วนเราถูกกล่าวหาอย่างไรก็ว่ากันไป เมื่อถูกกล่าวหาก็ต้องมีการดำเนินสอบพยานหลักฐานต่างๆ เราก็ว่าไปตามนั้น”

โฆษกชี้ตำรวจก็มีสิทธิตามรธน.

ด้านพล.ต.ท.วัชรพล ประสารราชกิจ ผู้ช่วย ผบ.ตร.ในฐานะโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.)กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การสัมมนาครั้งนี้ได้มีการทำหนังสือเชิญให้ตำรวจทุกหน่วยที่สนใจเข้าร่วมงาน ซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของสมาคมตำรวจอยู่แล้วในการจัดสัมมนาเพื่อพัฒนาองค์กร

ส่วนเรื่องที่สื่อออกมาระบุว่า การจัดสัมมนาดังกล่าวจะมีการรวบรวมรายชื่อในการถอดถอนป.ป.ช.เท่าที่ตนสอบถามดูไม่น่าจะเป็นอย่างที่ปรากฏเป็นข่าว เนื่องจากมีการระบุวัตถุประสงค์การจัดงานอย่างชัดเจน ซึ่งพิจารณาดูแล้ว เป็นความตั้งใจดีของทางสมาคม

ส่วนกรณีที่ ป.ป.ช.ออกมาชี้มูลความผิดตำรวจนั้น ถือว่าเป็นกระบวนการตามขั้นตอน มีการตรวจสอบการทำงานเป็นเรื่องดี แต่ยังมีขั้นตอนที่สามารถชี้แจงได้ ส่วนการที่ตำรวจจะออกมาเรียกร้องสิทธิของตนเองก็สามารถทำได้ เพราะตำรวจก็เป็นประชาชนทั่วไปมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หากจะเรียกร้องสิทธิ แต่ก็มีเรื่องวินัยตำรวจที่ควบคุมอยู่ จะทำได้หรือไม่นั้น ต้องตรวจสอบอีกครั้ง

เผยบิ๊กตำรวจชงเรื่องปลดป.ป.ช.

ทางด้านพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. ได้กล่าวในประเด็นดังกล่าว ว่าตนไม่รู้เรื่อง ที่จะมีการจัดงานสัมมนาขึ้นมาเพื่อเป็นการรวบรวมรายชื่อตำรวจ นำไปยื่นต่อประธานวุฒิสภา ให้มีการพิจารณาถอดถอนคณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คน

“เรื่องนี้ทำไมมาถามผม ผมไม่รู้เรื่อง คงต้องไปถามคนที่ให้ข่าวแล้ว ว่าหมายความว่าอย่างไร ผมไม่รู้เรื่องทั้งเรื่องการจัดงานและการล่ารายชื่อตำรวจ”พล.ต.ต.อำนวยกล่าว

อย่างไรก็ดีแหล่งข่าวระดับสูงในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ มีนายตำรวจในราชการคนหนึ่ง ได้ทำหนังสือไม่ระบุวันที่ เดือนมกราคม 2552 ถึง นายกสมาคมตำรวจพล.ต.อ.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์ เรื่องขอให้กรรมการ ป.ป.ช.พ้นจากตำแหน่ง

ชี้ที่มา9ป.ป.ช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยในเนื้อหาของหนังสือ ระบุว่า เนื่องด้วยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งได้รับแต่งตั้งตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คุณสมบัติและสถานภาพไม่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย ตลอดจนการปฏิบัติหน้าที่ขาดความเที่ยงธรรมมีการกระทำอันเป็นการจงใจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และการกระทำที่เป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของการดำรงตำแหน่งอย่างร้ายแรง อันเข้าข่ายที่จักได้มีการดำเนินการเพื่อมีมติให้พ้นจากตำแหน่ง ตามนัยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 248 ดังนี้
1. ประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ลงวันที่ 22 กันยายน 2549 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. มิได้กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้รับยกเว้นขั้นตอนการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์แต่อย่างใด แม้จะได้มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้ถือว่าคณะกรรมการป.ป.ช.ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 19 ได้รับการสรรหาและแต่งตั้งโดยชอบตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ก็หามีผลให้การออกประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ที่มิชอบด้วยกฎหมายไปแล้ว เป็นการแต่งตั้งชอบด้วยกฎหมาย และมีผลย้อนหลังแต่ประการใดไม่ ซึ่งได้มีการทักท้วงจากหลายฝ่ายแล้ว โดยปรากฏตามสื่อมวลชน แต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ยังคงปฏิบัติหน้าที่มาโดยตลอด อันเป็นการจูงใจฝ่าฝืนกฎหมาย และรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้อง โดยมิได้คำนึงถึงความเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่

มีพฤติกรรมเลือกปฏิบัติชัดเจน
2.การได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น เมื่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังมิได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง จึงย่อมไม่มีสิทธิได้รับผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ จากการปฏิบัติหน้าที่
3. การเลือกปฏิบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. โดยเร่งรีบพิจารณาในบางเรื่องโดยเฉพาะในเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจมีส่วนเกี่ยวข้อง เช่นการชุมนุมและเกิดการปะทะกันของผู้ชุมนุม 2 ฝ่าย ที่ จ.อุดรธานี โดยชี้มูลกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ชี้มูลกรณี พงส.สภ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เสนอขอหมายจับนายสุนัย มโนมัยอุดม ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ การชี้มูลดำเนินการทางวินัยเจ้าหน้าที่ตำรวจกรณีการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่บริเวณห้างเซ็นทรัลเวิลด์ หรือดำเนินการเพื่อชี้มูลกล่าวหา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ทั้ง ๆ ที่มีเรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการและคั่งค้างการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช.อยู่หลายเรื่อง เช่น กรณีกล่าวหา คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เกี่ยวกับการร่ำรวยผิดปกติ และการก่อสร้างบ้านพักมูลค่า 40 ล้านบาท คณะกรรมการ ป.ป.ช.กลับไม่เร่งรีบดำเนินการ การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะดำเนินการพิจารณาเรื่องใด ควรเป็นไปตามลำดับก่อนหลังของเรื่องที่ได้รับไว้ เพราะย่อมถือว่าทุกเรื่องมีความสำคัญเท่าเทียมกันในอันที่จะตรวจสอบ

ถล่มขาดความซื่อสัตย์สุจริต
4.การออกแถลงข่าวผ่านสื่อมวลชนในลักษณะเป็นการชี้นำแสดงความเห็น ในเรื่องที่มีการกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิด ทั้ง ๆ ที่ยังมิได้มีการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายและระเบียบก่อนดังเช่นกรณีการออกมาชี้มูลความผิดกรณีการชุมนุมบริเวณรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ได้ออกแถลงข่าวก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อมีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริง พร้อมแสดงความเห็นในทำนองชี้มูลว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกระทำความผิดตามข้อกล่าวหา
5.คุณสมบัติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต้องเป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ และต้องไม่เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ โดยต้องไม่ดำรงตำแหน่งใดในห้างหุ้นส่วน บริษัท หรือองค์กรที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไร หรือรายได้มาแบ่งปันกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใด แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. ได้รับจ้างเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุม จึงย่อมเป็นผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช.

ตั้งเป้ากองบังคับการละพันชื่อ

ข้าพเจ้ากับพวกจึงขอใช้สิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา (ผ่าน สมาคมตำรวจ) เพื่อนำเสนอเรื่องต่อวุฒิสภา พิจารณามีมติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. และ กรรมการ ป.ป.ช. พ้นจากตำแหน่งตามนัย มาตรา 248 แห่งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 และได้ลงลายมือชื่อพร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนมาด้วยแล้ว

ขณะเดียวกัน แหล่งข่าวยังระบุว่า มีการทำหนังสือเวียนไปตามหน่วยงานในสังกัดขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานสัมมนาเพื่อล่ารายชื่อถอดถอน โดยตั้งเป้าหมายไว้ที่ 1,000 รายชื่อ ต่อ 1 กองบังคับการ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถคำนวณจำนวนรายชื่อที่แน่ชัดได้

ลูก-เมียตำรวจร่วมลงชื่อถอดถอน

ส่วนพื้นที่ในต่างจังหวัดได้รับการเปิดเผยว่าเริ่มมีการเคลื่อนไหวในการเตรียมการรวบรวมรายชื่อ ล่าสุดที่ จ.กาญจนบุรี มีนายตำรวจที่เกษียณอายุและตำรวจนอกราชการจากส่วนกลางได้ลงพื้นที่ประสานงานกับตำรวจแต่ละท้องที่เป็นการส่วนตัว

โดยมีการแจกจ่ายสำเนาหนังสือขอให้ถอดถอนกรรมการ ป.ป.ช.ออกจากตำแหน่ง โดยขอความร่วมมือให้ทำการกระจายข่าวออกหารายชื่อผู้ที่เห็นด้วยและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ เพื่อขอความร่วมมือลงลายมือชื่อในเอกสารประกอบคำร้องขอให้มีการพิจารณาถอดถอน ป.ป.ช.

ในพื้นที่ดังกล่าวประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการลงรายชื่อถอดถอนกรรมการ ป.ป.ช.ออกจากตำแหน่ง ส่วนใหญ่เป็นลูกเมียและเครือญาติของตำรวจที่มีความไม่พอใจเกี่ยวกับผลการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ชต่อเหตุการณ์ในช่วงวันที่ 7 ตุลาคม 2551

นายกฯรับป.ป.ช.ต้องตรวจสอบได้

ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงกรณีที่ทางตำรวจจะมีการจัดสัมมนาและเตรียมรวบรวมรายชื่อเพื่อยื่นถอดถอน ป.ป.ช. ว่า ถ้าเขามีเหตุผลและอยากใช้สิทธิถอดถอน ป.ป.ช.ก็สามารถทำได้ แต่อยากย้ำว่าทุกคนต้องยอมรับการตรวจสอบ ถ้าหากว่าคำร้องมีเหตุผลก็ทำได้ แต่ถ้าไม่มีเหตุผลก็ไม่น่าจะมีอะไร ตนยืนยันว่า ป.ป.ช.ก็ต้องสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้งตำรวจด้วย

ส่วนประเด็นดังกล่าวจะเป็นการสะท้อนว่าตำรวจกำลังใช้อำนาจเพื่อตัวเองหรือไม่นั้น ตนมองว่าเรื่องดังกล่าว คงไม่สามารถใช้อำนาจอะไรที่จะไปกระทบการทำงานของ ป.ป.ช.ได้ เพราะสถานะของ ป.ป.ช.เป็นองค์กรอิสระซึ่งได้รับการคุ้มครองในรัฐธรรมนูญ

วิชาอ้างทำเร็วเพราะคนสนใจ

ด้านนายนายวิชา มหาคุณ หนึ่งในคณะกรรมการ ป.ป.ช. กล่าวในประเด็นเดียวกันว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้ง 9 คนไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไร เพราะคิดว่าเขาคงต้องการใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 271 คือการรวบรวมรายชื่อประชาชน 20,000 คนเพื่อยื่นถอดถอนต่อประธานวุฒิสภา ซึ่งเรื่องดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ตนขอยืนยันว่า ป.ป.ช.ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย การแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ก็ไม่ได้ทำอย่างรีบเร่งผิดปกติ แต่เป็นเพราะเหตุการณ์ดังกล่าวอยู่ในความสนใจของประชาชน และมีคนมามอบหลักฐานเอกสารเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญยังมีการถ่ายทอดสดรวมถึงการบันทึกภาพเหตุการณ์ลงแผ่นวีซีดีอย่างชัดแจ้ง ซึ่งเพียงพอต่อการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ แตกต่างจากคดีลอบฆ่าที่ทำกันลับๆ ล่อๆ ซึ่งจะต้องไปหาพยานหลักฐานอีก การทำงานของ ป.ป.ช.จะแตกต่างกันในแต่ละเหตุการณ์

ส่วนที่มีการออกมาระบุว่าทาง ป.ป.ช. มีการเลือกปฏิบัติ เร่งเฉพาะคดีที่มีตำรวจเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่กับคดีอื่นที่คั่งค้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการตรวจสอบบ้านราคา 40 ล้านบาท ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กลับล่าช้า นายวิชากล่าวว่า จะเอามาเปรียบเทียบอย่างนั้นไม่ได้ เพราะการตรวจสอบคดีต่างๆ จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน ไม่ใช่ยื่นก่อนหรือหลัง โดยคดีของคุณหญิงจารุวรรณขณะนี้ก็อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงโดยเจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช.