WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, May 2, 2010

"โอบามาร์ค" ชักไม่สง่างาม

ที่มา ข่าวสด



หลังเกิดการปะทะเมื่อวันที่ 10 เมษายน

ระหว่างกองกำลังทหาร

และกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 20 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 800 ราย

รวมถึงการที่มีผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ชาวญี่ปุ่นถูกกระสุนปืนลูกหลงจนเสียชีวิต

ทำให้บรรดาสื่อต่างชาติหันมาให้ความสนใจ
และมีท่าทีต่อปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของไทยมากยิ่งขึ้น

ภายหลังปฏิบัติการที่ผิดพลาดจนนำมาสู่การสูญเสียเลือดเนื้อครั้งใหญ่

รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ
ได้พยายามปัดความรับผิดชอบด้วยการเปิดประเด็น "ผู้ก่อการร้าย" โยนให้กลุ่มคนเสื้อแดงรับไป

อย่างไรก็ตาม
การที่รัฐบาลโหมขยายผลตัวละครผู้ก่อการร้ายนี้แม้จะช่วยให้รัฐบาลประคองเอาตัวรอดมาได้

แต่ก็สร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชนคนไทยด้วยกันเอง รวมถึงคนต่างชาติที่อยู่ในไทย และผู้ที่กำลังคิดจะเดินทางมาอีกเป็นจำนวนมาก

เห็นได้จากกรณีหลายประเทศประกาศเตือนคนตัวเอง ให้พยายามหลบเลี่ยงการเดินทางมาไทยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจหรือด้านการท่องเที่ยว

ซึ่งนั่นหมายถึงเม็ดเงินรายได้จำนวนมากที่ไทยต้องขาดหายไป

แต่ก็ยังไม่สำคัญเท่ากับภาพลักษณ์ของประเทศที่เสียหายอย่างหนัก

ยิ่งไปกว่านั้นตัวเลขคนตายและบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 22 และ 28 เมษายน

รวมถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ ปฏิเสธการเจรจากับแกนนำกลุ่มผู้ประท้วง
เพื่อร่วมกันหาทางยุติความขัดแย้งด้วยสันติวิธี

คือสัญญาณชี้ชัดว่ารัฐบาลไม่ได้เป็นฝ่ายต้องการหลีกเลี่ยงความรุนแรงทั้งที่มีช่องทางให้ทำได้

การออกข่าวข่มขู่รายวัน การเสริมกำลังทหาร-ตำรวจเข้าโอบล้อมเวทีการชุมนุมของกลุ่มนปช. เพื่อรอฤกษ์ยามสั่งการใช้กำลังเข้าสลาย

ยิ่งทำให้รัฐบาล"โอบามาร์ค" ดูย่ำแย่มากขึ้นในสายตาชาวโลก



การแก้ปัญหาของรัฐบาลที่ใช้การทหารเป็นตัวนำหน้า

การปิดประตูโอกาสในการเจรจากับแกนนำฝ่ายต่อต้าน

ขณะที่กลไกรัฐสภากลายเป็นอัมพาต
แบ่งฝักแบ่งฝ่ายทะเลาะกันเองในหมู่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จนไม่สามารถใช้เป็นเวทีระดมความคิดอ่านหาทางออกให้กับวิกฤตประเทศชาติ

จากปัญหาความขัดแย้งภายในไทยซึ่งยังไม่มีวี่แววจะจบลงในระยะเวลาอันสั้น

ทำให้สื่อมวลชนของต่างประเทศที่เป็นต้นตำรับประชาธิปไตยอย่าง
ซีเอ็นเอ็น ของสหรัฐ หนังสือพิมพ์เดอะ ไทมส์ และบีบีซี ของอังกฤษ

เริ่มตั้งคำถามแรงๆ กับนายอภิสิทธิ์ ถึงความชอบธรรมเรื่อง"ที่มา"ของรัฐบาล และความรับผิดชอบภายหลังเกิดเหตุการณ์นองเลือดตลอดช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ถึงแม้นักประชาธิปไตยระดับโลกอย่าง นางอองซาน ซูจี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านในพม่า จะระบุถึงปัญหาความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลไทย ว่ามีต้นเหตุจากรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นโดยกองทัพ

แต่ในขณะเดียวกันอีกหลายชาติเริ่มมองว่าความ"แข็งกร้าว"และ"ดื้อดึง" ของผู้นำรัฐบาลไทย คือส่วนผสมหลักของความขัดแย้งภายในประเทศ

เพื่อนบ้านในอาเซียนทั้งประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง กัมพูชา มาเลเซีย และที่ไม่มีพรมแดนติดกับไทยอย่าง สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เริ่มวิตกกังวลว่าวิกฤตการณ์การเมืองในไทย

อาจนำไปสู่วิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจของอาเซียน

3 ประเทศหลังถึงขนาดเสนอตัวเป็น"คนกลาง" เรียกร้องให้มีการเจรจาระหว่างคู่ขัดแย้งในไทย
เพื่อหาทางออก

โดยทางออกที่ว่าอาจหมายถึงการ"ยุบสภา"เลือกตั้งใหม่ตามเงื่อนไขเวลาที่ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ ระหว่างนั้นควรจัดให้มี"รัฐบาลเฉพาะกิจ"
ที่มีทั้งพรรครัฐบาลและฝ่ายค้านร่วมกันบริหารประเทศเป็นการชั่วคราว

ขณะที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียน ออกแถลงการณ์ในนามอาเซียน เรียกร้องให้ไทยแก้ปัญหาด้วยการเจรจาอย่างสันติ

นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ(ยูเอ็น) แสดงความเป็นห่วง
และเรียกร้องให้ 2 ฝ่ายหลีกเลี่ยงความรุนแรง

และร่วมมือกันแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติด้วยวิธีตั้งโต๊ะเจรจา



ล่าสุดกรณีองค์การนิรโทษกรรมสากลของสหรัฐ

ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ส่งคณะทูตพิเศษมายังไทย เพื่อปลดชนวนการเผชิญหน้าระหว่างทหารกับกลุ่มผู้ชุมนุม

ทั้งยังเรียกร้องให้ประธานธิบดีโอบามา สร้างหลักประกันว่ากองทัพไทยจะไม่ใช้อาวุธที่ซื้อจากสหรัฐ ในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมโดยสันติ

และขอให้ผู้ชุมนุมประท้วงหลีกเลี่ยงความรุนแรงด้วยเช่นกัน

คำถามและข้อแนะนำเหล่านี้คือ
สิ่งสะท้อนได้ดีว่าต่างประเทศเริ่มมองรัฐบาลไทยด้วยสายตาที่เปลี่ยนไปอย่างไร

อย่างไรก็ตามท่ามกลางเสียงตักเตือนจากโลกภายนอกต่อรัฐบาลไทย ไม่ให้ใช้ความรุนแรง และข้อแนะนำให้แก้ปัญหาด้วยการเจรจาอย่างสันติวิธี

แต่ก็ดูเหมือนรัฐบาลไทยนอกจากจะทำหูทวนลมแล้ว
ยังหาโอกาสตอบโต้บรรดาประเทศเหล่านั้นเป็นระยะ

สิ่งที่เป็นหลักฐานยืนยันว่ารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ยังยึดแนวทางความรุนแรงอยู่

แม้จะเพิ่งผ่านความสูญเสียครั้งใหญ่วันที่ 10 เมษายน มาไม่นาน

คือเหตุการณ์วันที่ 28 เมษายน ด้วยการส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธปืนและกระสุนจริง เข้าลุยปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมฝ่ายต่อต้านรัฐบาล
จนทำให้มีทหารเสียชีวิตและประชาชนได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง

เป็นความ"เด็ดขาด"ของรัฐบาลที่ตามมาด้วยคำถามน่าสนใจ

ทำไมบรรดาชาติประชาธิปไตยเหล่านั้นถึงได้เป็นห่วงชีวิตคนไทย

ยิ่งกว่ารัฐบาลไทยเป็นห่วงชีวิตพลเมืองของตัวเอง