ที่มา Thai E-News
ที่มา Yahoo/AFP
12 มิถุนายน 2553
วันนี้ (12 มิ.ย.) องค์กรนิรโทษสากลได้เรียกให้นายกฯของไทยยกเลิกพระราชกำหนดฉุกเฉินในทันทีพร้อมกับให้จัดตั้งคณะกรรมสอบสวนที่เป็นอิสระและยุติธรรมเพื่อสืบสวนเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
นายอภิสิทธิ์ได้เริ่มต้นตั้งคณะกรรมการสอบสวนนำทีมโดยอดีตอัยการคนหนึ่ง เพื่อหาเหตุของการเสียชีวิตของกว่า 90 ชีวิตในเหตุการณ์การปะทะช่วงที่ผ่านมาระหว่างกองกำลังทหารและกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเสื้อแดง
"ความเป็นอิสระเป็นปัจจัยสำคัญอันยิ่งยวดต่อความน่าเชื่อถือของการสอบสวน" เลขาธิการองค์กรนิรโทษสากล นายคลอดิโอ คอโดเน กล่าว พร้อมกับแสดงความเห็นว่า การสืบสวนควรที่จะเป็นอิสระไม่เกี่ยวข้องกับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย
"การสอบสวนจะต้องไม่มีอคติ ซึ่งจะต้องรวมข้อกล่าวหาเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากทั้งสองฝ่าย"
การประท้วงของคนเสืื้อแดงจบลงเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เมื่อกองทัพได้สลายการชุมนุมใจกลางกรุงเทพฯ การดำเนินการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความรุนแรงที่ทำให้ประชาชนกว่า 1900 ต้องบาดเจ็บ
นายคณิต ณ นคร หัวหน้าทีมสอบสวน ได้กล่าวว่า ความตั้งใจของเขาคือการระบุข้อเท็จจริงแทนที่จะเป็นการหาความรับผิดชอบ
แต่ในจดหมายขององค์กรนิรโทษกรรมสากล ได้ร้องขอให้การสอบสวนต้องถูกดำเนินไปในทิศทางเพื่อการ "ดำเนินการทางกฏหมายต่อเหตุการณ์ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า" ที่ซึ่งถูกระบุไว้ชัดเจนว่าเกิดขึ้นทั้งจากฝ่ายกองกำลังของรัฐและจากผู้ประท้วง
รัฐบาลได้ปกป้องตัวเองในเรื่องของการใช้อาวุธ โดยกล่าวว่าพวกเขาอนุญาตให้ใช้กระสุนจริงเพื่อเตือน, การปกป้องตนเอง และต่อต้าน "กลุ่มก่อการร้าย" ผู้ซึ่งถูกกล่าวหาก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้น
นายอภิสิทธิ์ได้ประกาศถึงแผนการที่จะให้มีผู้ที่อยู่ข้างคนเสื้อแดงในคณะกรรมการสืบสวนเพื่อที่จะให้มีความเชื่อมั่นต่อความเป็นกลาง อย่างไรก็ดีพรรคฝ่ายค้านได้เตือนว่า การกระทำทั้งหมดดังกล่าวจะเป็นเพียงการ "ล้างตัว" เท่านั้น โดยกล่าวว่านายคณิตนั้นใกล้ชิดกับรัฐบาลอย่างมาก
พรก.ฉุกเฉินที่มีผลบังคับใช้มากว่าสองเดือน ครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามของประเทศ ยังก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของความเชื่อมั่น เพราะได้ไปปกป้องเจ้าหน้าที่ที่สามารถใช้อำนาจกระทำการพิเศษบางอย่างได้องค์กรนิรโทษกรรมกล่าว
พรก.ดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่อย่างกว้างและเกินกว่าเหตุต่อการเซ็นเซอร์ข่าวสาร "ซึ่งทำให้การแสดงออกและการแสดงความเห็นเป็นไปได้ยาก" จม.ระบุไว้
เจ้าหน้าที่ทางการไทยได้ปิดเว็บไซต์กว่า 1500 แห่ง ภายใต้พรก.ฉุกเฉินอันรวมไปถึงวิทยุ โทรทัศน์ และสิ่งพิมพ์ของกลุ่มต่อต้านรัฐบาล
จมหมายต้นฉบับจาก Amnesty International ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2010