WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, June 14, 2010

ลาว-เขมร สุขกว่าไทย!

ที่มา บางกอกทูเดย์



“หนักใจ”...กำลังจะกลายเป็นคำยอดฮิตของสังคมไทย ตราบเท่าที่ท่าทีการไล่ล่าทางการเมืองยังไม่หมดไปเสียที!!! จะใช้แผนปรองดองสักกี่ขั้นก็ตาม หากยังมีสังคมส่วนหนึ่งที่เห็นต่าง และรู้สึกว่ายังไม่ได้รับความเป็นธรรม ปัญหาก็ยากจะยุติ ความปรองดองที่แท้จริง ก็คงยากที่จะเกิด และความหนักใจก็จะยังคง

ปกคลุมสังคมต่อไปอย่างช่วยไม่ได้ ดังนั้นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ควรที่จะฉวยจังหวะสูญญากาศของสังคม ที่คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับเรื่องฟุตบอลโลก และเว้นวรรคความสนใจทางการเมืองลงไปอย่างมากมาย ถือเป็นจังหวะปลอดที่จะลดดีกรีของความขัดแย้งลงได้ง่ายขึ้นกว่าที่ผ่านมา

อาจจะไม่ต้องรอแผนปรองดองให้เป็นตัวเป็นตนด้วยซ้ำ เพียงแค่ทำ 2 ประการง่ายๆ คือ 1. สั่งให้บรรดาคนรอบข้างหัดสงบปากสงบคำ หยุดสร้างความแตกแยกด้วยวาจาลงเสียทีเพราะว่าบรรดานายกองร้องด่าประเภทผีเจาะปากมาพูดนั้น นอกจากจะไม่ทำอะไรให้ดีขึ้นมาได้แล้ว ยังทำให้ทุกอย่างแย่ลงไปอีก ซึ่งเชื่อมั่นว่า

บทเรียนจากการกระทำที่เกิดขึ้นที่ช่องหอยม่วง คงทำให้นายอภิสิทธิ์รู้ซึ้งถึงความผิดพลาดล้มเหลวเป็นอย่างดี จึงได้ฉวยโอกาสในการปรับคณะรัฐมนตรี เปลี่ยนตัวนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ออกจากตำแหน่ง ดังนั้นวันนี้ทางที่ดี นายอภิสิทธิ์ควรจะต้องทบทวนเรื่องคนรอบข้าง และเรื่องโฆษกทั้งหลายด้วย

ส่วนประการที่ 2 ก็คือ ปรามนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แอนด์ เดอะ แก๊ง ให้เพลาๆ พฤติกรรมการไล่ล่าจนน่าเกลียดลงมาบ้าง เพราะอะไรที่มากเกินไปนั้น ย่อมทำให้เกิดคำถามว่า “ทำไมต้องทำขนาดนั้น ซึ่งเมื่อเกิดคำถามแล้วย่อมไม่เป็นผลดี เพราะเมื่อประเทศต่างๆ ไม่ได้คำตอบที่

มีความน่าเชื่อถือหรือมีเหตุผลที่รับฟังได้มากเพียงพอจริงๆ ก็จะเหมาเอาว่า เป็นเรื่องทางการเมือง ฉะนั้นหากเป็นการลี้ภัยทางการมือง ย่อมไม่มีประเทศไหนให้ความใส่ใจกับคำขอของกระทรวงการต่างประเทศของไทย กลายเป็นเรื่องอิหลักอิเหลื่อ และขายหน้าของประเทศไทยไปโดยปริยาย เชื่อเถอะว่าหากวันนี้

นายกษิต แอนด์ เดอะ แก๊ง ลดท่าทีอาละวาดฟาดงวงฟาดงาลง จะทำให้ประเทศอื่นๆ มองรัฐบาลไทยชุดนี้ดีขึ้นได้บ้าง นี่คือการบ้าน 2 ข้อ ที่อยากให้นายอภิสิทธิ์เอากลับไปคิดไปตรองให้จงหนัก เพราะรับรองว่าถ้าทำได้ สถานการณ์จะดีขึ้นแน่ เพราะที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาล หรือนายอภิสิทธิ์ จะทำอะไร ก็ไม่ได้ช่วยให้

ภาพลักษณ์ดีขึ้นได้มากมายอย่างที่หวัง ไม่เชื่อก็ลองพิจารณาผลสำรวจของสวนดุสิตโพล ดูก็ได้ ที่ประชาชนร้อยละ 38.28 เห็นว่า การปรับคณะรัฐบาลอภิสิทธิ์ 5 นั้น ก็เป็นเพียงการรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลเป็นหลัก ที่สำคัญ บรรดารัฐมนตรีใหม่ทั้ง 8 ที่มีการปรับ ครม. นั้น ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 61.64 เห็นว่า...

ภาพลักษณ์และผลงานของรัฐบาลยังคงเหมือนเดิม ไม่น่าจะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นกว่าเดิมได้ แถมร้อยละ 62.73 เห็นว่า หลังการปรับ ครม. ใหม่แล้ว สถานการณ์บ้านเมืองจะยังคงเหมือนเดิม เพราะนักการเมืองส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มเดิม แต่ที่นายอภิสิทธิ์ ควรเก็บไปไตร่ตรองให้หนักที่สุดก็คือ ประชาชน

ร้อยละ 44.60 เห็นว่ารัฐบาลควรยกเลิก ศอฉ. และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์และความมั่นใจของชาวต่างชาติ เฉียดครึ่งของประชาชนทั้งหมดไม่เห็นด้วยกับการที่จะคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และ ศอฉ. เอาไว้การบ้านเหล่านี้ เป็นสิ่งที่นายอภิสิทธิ์ จะต้องเร่งคิดเร่งคลี่คลายมากกว่า แผนปรองดองที่ประกาศ

ออกมาด้วยซ้ำ หากว่าต้องการยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้จบลงโดยเร็ว เพราะสถานการณ์อึมครึมตลอดมา จนวันนี้ อย่าว่าแต่ประชาชนทุกคนจะหนักใจเลยว่าจะจบอย่างไร แม้แต่ นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ในฐานะประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

ก็ยังยอมรับเลยว่า หนักใจ และถือเป็นงานยากที่สุดในชีวิต เพราะต้องดำเนินการท่ามกลางความขัดแย้งและความเห็นต่างอย่างชัดเจนของคนในสังคม อีกทั้งยังมีความสลับซับซ้อนของข้อมูลและตัวบุคคล ซึ่งไม่ว่าผลดำเนินการจะออกมาอย่างไร ย่อมมีฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จนอาจส่งผลกระทบต่อ

ประเทศชาติในอนาคตได้ทั้งสิ้น ยังดีที่นายคณิตยืนยันว่าสิ่งสำคัญที่สุดของคณะกรรมการฯ ชุดนี้คือ ต้องมีความเป็นอิสระ ประกอบด้วยตัวแทนทุกภาคส่วน และจะพยายามเชิญทุกฝ่าย ทุกสีที่เป็นคู่ขัดแย้งมาร่วมเป็นกรรมการฯ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากสังคม ถ้าทำได้จริงๆ ก็จะเป็นการดีที่สุดกับประเทศชาติ

หากทุกฝ่ายยอมรับความจริงจะต้องยอมรับว่า ประเทศไทยเสียหายและเสียโอกาสไปมากแล้ว ขายหน้าไปทั่วโลกมากแล้ว... จึงน่าจะถึงเวลาที่ต้องหยุดความแตกแยก โดยรัฐบาล และนายอภิสิทธิ์ ต้องกล้าที่จะเป็นฝ่ายเสียสละก่อน เป็นฝ่ายเริ่มก่อน เพราะวันนี้คงเห็นแล้วว่า ในการจัดอันดับประเทศที่มีความสุขที่สุด

ประจำปี 2010 นั้น ประเทศไทยในสายตาสังคมโลกเป็นอย่างไร สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ ได้จัดทำดัชนีความสงบสุขโลก หรือ Global Peace Index : GPI โดยการจัดทำผลสำรวจทั้งหมด 149 ประเทศ ปรากฏว่า ประเทศที่มีความสุขที่สุดได้แก่ นิวซีแลนด์ ซึ่งรั้งตำแหน่งนี้เป็นปีที่สองติดต่อกัน ตามมาด้วย

ไอซ์แลนด์ และญี่ปุ่นซึ่งรั้งอันดับสองและสามตามลำดับ ตามมาด้วย ออสเตรีย (4), นอร์เวย์ (5) ไอร์แลนด์ (6) เดนมาร์ค และ ลักเซมเบิร์ก (7) ฟินแลนด์ (9) และ สวีเดน (10) ในขณะประเทศที่มีดัชนีชี้วัดความสุขน้อยที่สุดคือ อิรัก ตามมาด้วย โซมาเลีย (148), อัฟกานิสถาน (147), ซูดาน (146), และปากีสถาน (145)

ตามลำดับ ซึ่งประเทศไทยในปีนี้ รายงานระบุว่าอยู่ใน อันดับ 124 และอยู่ในอันดับ 18 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค หมายความว่าเมื่อเปรียบเทียบเฉพาะแค่ภายในภูมิภาคอาเซียนด้วยกันเอง ไทยยังอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่า มาเลเซีย (22) สิงคโปร์ (30) ลาว (34) เวียดนาม (38) อินโดนีเซีย (67) และกัมพูชา (111) ที่จะดี

กว่าหน่อยก็แค่ 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ (130) และเมียนมาร์ (132) เท่านั้น แถมไทยยังตกมาจากอันดับ 118 จากการสำรวจเมื่อปีที่แล้วด้วย โดยที่ไทยได้คะแนนค่อนข้างแย่ทั้งในเรื่องของความสามารถ และการจัดการทางการทหาร จำนวนผู้เสียชีวิตจากความขัดแย้งขององค์กรภายใน ความสัมพันธ์กับประเทศ

เพื่อนบ้าน ความมั่นคงทางการเมือง : 3.25 คะแนน การเคารพสิทธิมนุษยชน และศักยภาพของผู้ก่อการร้าย เป็นต้น นี่ถือภาพลักษณ์ติดลบที่ประเทศไทยถูกต่างชาติมอง ซึ่งปัจจัยเหล่านั้นไม่เพียงส่งผลกระทบต่อดัชนีความสุขของประเทศเท่านั้น แต่ยังสะท้อนความสามารถในการจัดการปัญหาต่างๆ ภายในประเทศ

ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไมว่าจะเป็นการเมือง สังคม ล้วนยังมีข้อบกพร่องและมีช่องโหว่หลายจุดที่ต้องรีบเร่งแก้ไขทั้งสิ้น ตรงนี้จึงเป็นการบ้านที่น่าหนักใจอย่างยิ่งอีกข้อหนึ่งของนายอภิสิทธิ์ แม้จะล้างบางคนรอบข้าง หรือรัฐมนตรีแย่ๆ ไม่ได้ เพราะต้องต่ออายุลมหายใจรัฐบาล จึงต้องยอมให้คนนั้น

กลุ่มโน้นขี่คอ แต่อย่างน้อยด้วยศักดิ์ศรีของนายกรัฐมนตรีก็น่าจะปรามๆ ได้บ้างหรอกน่า... เพราะต่อให้ยืดไปเลือกตั้งต้นปีหน้าได้จริงๆ แต่ก็ยังต้องถือว่าอายุสั้นลงทุกทีอยู่ดี... อนาคตบนถนนการเมืองอยู่ที่การตัดสินใจแล้วตอนนี้!