พปช.ออกโรงปกป้อง ‘เฉลิม อยู่บำรุง' รมว.มหาดไทยสั่งผู้ว่าฯห้ามเคเบิลทีวีถ่ายทอดเอเอสทีวี ชี้ทำตามหน้าที่ (14มิ.ย.) นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน ในฐานะคณะทำงานศูนย์ติดตามและวิเคราะห์การชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รมว.มหาดไทย สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 85 จัดการกับผู้ประกอบการเคเบิลทีวีที่รับสัญญาณของเอเอสทีวี ว่า ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 85 ระบุว่าผู้ใดโฆษณา หรือประกาศให้บุคคลกระทำความผิด ความผิดนั้นมีโทษไม่เกิน 6 เดือน ผู้นั้นต้องระวางโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่กำหนด โดยขอให้ผู้ว่าฯไปตรวจสอบข้อมูล และดำเนินการ 2 มาตรการ คือ มาตรการทางด้านการปกครอง เรียกผู้ประกอบการมาคุยเพื่อแจ้งกฎหมายนี้ให้ฟัง ส่วนที่ไม่รับฟังก็ให้กล่าวโทษกับพนักงานสอบสวนตามมาตรา 85 ท้ายที่สุดกลายเป็นเงื่อนไขให้กลุ่มพันธมิตรฯ ได้หยิบยกขึ้นมาออกมาชุมนุม และออกมาตรการร้องศาลปกครอง และยื่น ส.ว.ให้ถอดถอน ร.ต.อ.เฉลิมจากตำแหน่ง นายจตุพร กล่าวว่า ในความเห็นวอร์รูม เราต้องการให้เอเอสทีวี ออกอากาศ เพราะการออกอากาศเท่ากับเป็นการประจานพฤติกรรมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่ไม่มีข้อสิ้นสุด และพันธมิตรฯกำลังจะถึงจุดจบอยู่แล้ว ถ้าประกาศอารยะขัดขืน โดยเฉพาะการประกาศปิดน้ำ ปิดไฟ หากนำมาใช้เมื่อไหร่บ้านเมือง ก็จะจัดการกับกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ทว่าถ้าการเป็นรัฐบาล โดยเฉพาะการเป็น รมว.มหาดไทย เมื่อมีกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ ถ้าไม่ปฏิบัติตาม คำถามก็คือว่าถ้าเป็นรัฐบาล หรือ รมว.มหาดไทย ถ้าพูดจาภาษาชาวบ้านก็จะออกว่าแล้วเป็นหาพระแสงอะไร รัฐมนตรีต้องใช้อำนาจตามที่ประชาชนมอบหมายมา " วันนี้เป็นการใช้ช่องทางกฎหมายของทั้ง 2 ฝ่าย ผมเองเห็นว่ารัฐมนตรีมหาดไทย มีสิทธิ์ใช้มาตรา 85 ตามประมวลกฎหมาย เอเอสทีวีก็มีสิทธิ์ร้องศาลปกครอง แต่ละฝ่ายก็ใช้ช่องทางที่มีสิทธิ์กันอยู่ ซึ่งวันนี้มีคดีค้างคากันอยู่ โดยพวกผมขณะที่ทำพีทีวี ก็เคยแจ้งความดำเนินคดีนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ ที่ช่อง 11 เอารายการยามเฝ้าแผ่นดิน มาออกอกาศทางช่อง 11 เพราะกรมประชาสัมพันธ์ เป็นคนร้องศาลปกครองเองว่า เอเอสทีวีผิดกฎหมาย " นายจตุพรกล่าว นายจตุพรกล่าวว่า แต่วันนี้สิ่งที่ต้องเรียกร้องก็คือ สมาคมประกอบวิชาชีพสื่อ จะต้องพูดมาตรฐานของการทำหน้าที่สื่อ เพราะสื่อที่มีพฤติกรรมแบบเอเอสทีวี สื่ออื่นๆต้องปฏิบัติตามนั้นหรือไม่ ถ้าเป็นสื่อพวกเดียวกันแล้ว ไม่ออกมาดำเนินการแต่อย่างใด มาตรฐานเรื่องสื่อจะมีปัญหาเหมือน ถ้ามีหน้าที่ตรวจสอบพฤติกรรมของคนอื่น สื่อก็ต้องดูพฤติการณ์ของพวกตัวเองเหมือนกัน มีคำถามคือว่า เงินบริจาคจะมาจ่ายเป็นเงินเดือนได้หรือไม่ หมายความว่าถ้าสื่ออื่นๆ มีพฤติการณ์ด้วยการระดมเงิน ด้วยการจัดการชุมนุมไล่รัฐบาล แล้วตั้งกล่องบริจาคมาจ่ายเงินเดือน ที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินบริจาค สื่ออื่นๆที่ไม่ใช่เอเอสทีวี สามารถดำเนินการได้หรือไม่ ฉะนั้นคนจะมีความเชื่อที่ว่า พันธมิตรจัดชุมนุมเอเอสทีวีเคลื่อนไหว ก็เมื่อเงินเดือนไม่มีเงินจ่าย จึงเคลื่อนไหวระดมเงินบริจาค นายจตุพร กล่าวว่า ไม่สงสัยเลยว่า เงิน 400 ล้านบาท ที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรฯ บอกว่าเป็นเงินส่วนตัว หมดไปกับการขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นำไปจ่ายอะไรบ้าง เงินบริจาคที่เปิดเผยก็ไม่ได้นับเงินจำนวนนี้ เพราฉะนั้นวันนี้สมาคมผู้ประกอบวิชาชีพสื่อ ควรตรวจสอบมาตรฐานพวกเดียวกันด้วย ผู้รับบริโภคสื่อ คือ ผู้ดูเคเบิ้ลทีวี เป็นพวกที่รัฐบาลต้องให้ความเข้าใจเขามากที่สุด ถ้ามีการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ปัญหาก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่ปฏิบัติตามก็ต่อสู้กันทางคดีความ ทุกอย่างว่าตามประมวลกฎหมาย "ผมจึงบอกว่า เรื่องนี้เป็นพฤติการณ์ถ้าไม่มีการแก้ไข เพราะมีหลายเรื่องสื่อปกติไม่สามารถที่จะเผยแพร่ได้หลายถ้อยคำที่ปราศรัย ที่ถ่ายทอดโดยที่ไม่มีการเซ็นเซอร์ตรวจตรา จะกระทบเรื่องถ้อยคำ ความเหมาะสมเนื้อหาข้อเท็จจริง ความจริงแล้ว รมว.มหาดไทย ควรใช้มาตรา 85 ตั้งแต่ประกาศชุมนุม และบอกว่ารัฐบาลนี้จะเปลี่ยนประเทศไปสู่สาธารณรัฐแล้ว เพราะนั่นเท่ากับเป็นการทำลายความมั่นคงของชาติอย่างรุนแรง หรือการยกสถาบันมากล่าวร้ายคนอื่น สร้างความแตกแยกของคนในชาติ อย่างที่บอกไปแล้วว่าเมื่อเป็นรัฐบาลแล้ว ถ้าไม่ทำหน้าที่แล้วก็ไม่ควรจะอยู่ " นายจตุพรกล่าว นายจตุพร กล่าวว่า การที่ร.ต.อ.เฉลิม ทำหน้าที่เป็นเรื่องที่ถูกต้อง เมื่อคิดว่าตัวเองทำถูกกฎหมายก็ไม่ต้องกลัวอะไร พันธมิตรฯก็ใช้สิทธิ์ของตัวเองไปร้องศาลปกครองไปบอกกับ ส.ว.สรรหา ทำหน้าที่ถอดถอน เหมือนพรรค คมช. ที่พร้อมทำตามพันธมิตรฯอยู่แล้ว ก็ไปใช้กระบวนถอดถอนของ ส.ว.ตามที่ประกาศ กฎหมายอาญารัฐบาลใช้ ศาลปกครองพันธมิตรฯไปร้อง ส.ว.ถอดถอน ให้3 กระบวนการทำหน้าที่ของตัวเองไป นายจตุพร กล่าวว่า วันจันทร์ที่ 16 มิ.ย.นี้ ที่กลุ่มพันธมิตรฯ จะไป กกต. เป็นการแบล๊กเมล์ข่มขู่คุกคาม บอกว่า 3 คน เราให้กำลังใจ อีกคน 1 เราจะขับไล่ อีก 1 คนไม่รู้จักก็ดุด่าว่ากล่าว ฉะนั้นเหมือนยุทธการตีเมืองขึ้นว่า ถ้าคุณไม่ยอมฝ่ายเราก็เจอแบบคุณสมชัย พฤติการณ์ถ้ายึดกำลังใจของพันธมิตรฯเป็นตัวตั้ง วันหน้าถ้า 3 คนนี้ไม่สนองความต้องการของพันธมิตรฯ เขาจะออกมาขับไล่เช่นเดียวกัน ฉะนั้น กกต.จะอยู่ได้ก็คือยุติธรรมเท่านั้น ความเป็นกลางก็คือความรู้สึกของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าเข้าข้างฝ่ายใด ฝ่ายนั้นก็บอกว่าเป็นกลาง บ้านเมืองมันจะอยู่ไม่ ตนเชื่อว่ากลุ่มพันธมิตรฯจะทำอย่างนี้กับหน่วยงานอื่นเช่นกัน คงเห็นพันธมิตรฯทำแถลงการณ์อย่างกับเป็นคณะรัฐประหาร สั่งการข้าราชการตั้งแต่ปลัดกระทรวง ผู้ว่าฯ ถ้าไม่ปฏิบัติตามจะได้รับผลสนองอย่างสาสม ตนถามว่าพันธมิตรฯเอาอำนาจอะไร ดังนั้นจึงบอกว่าเมื่อรมว.มหาดไทยเดินหน้าก็เดินให้สุดตัว เมื่อตัดสินใจแล้วอย่าถอย เพราะถ้าถอยอีกประชาชนจะขาดความเชื่อมั่นทันที คิดว่ารัฐบาลเหละแหละ ถ้าไม่ทำอย่าตัดสินใจทำ เมื่อลงมือทำแล้วถอยไม่ได้ อย่างน้อยที่สุดประชาชนเลือกคนมาบริหารและทำอย่างรับผิดชอบ ผู้สื่อข่าวถามว่า ส.ว.สรรหาระบุว่ากรณีดังกล่าว เป็นใช้อำนาจการแทรกแซงสื่อ นายจตุพร กล่าวว่า ต้องดูคำสั่งของ รมว.มหาไทย ไม่ได้สั่งระงับสัญญาณของเอเอสทีวี สามารถออกอากาศได้ตามปกติ ตามที่ศาลปกครองคุ้มครองอยู่ แต่เคเบิลทีวีที่รับช่วงถ่ายทอดจากเอเอสทีวีไป มาตรา 85 ผู้โฆษณาต้องได้รับโทษเหมือนตัวการ แต่ถ้าผู้ประกอบการบอกว่าจะพร้อมร่วมรับโทษ ก็ออกอากาศได้ไม่มีปัญหา เคเบิลท้องถิ่นยังต้องใช้สายพาดเกี่ยวกับเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้า ที่เกี่ยวกับรัฐ และอยู่ในช่องว่างของกฎหมาย ฉะนั้นต้องว่าตามจริงของกฎหมาย ถ้าผู้ประกอบการใดทั้งประเทศจะรับผิดชอบกับเอเอสทีวีและพันธมิตรฯ ก็เชิญออกอากาศดำเนินการไป และฝ่ายรัฐก็จะดำเนินการตามยุติธรรม มีช่องทางออกของแต่ละฝ่าย เมื่อถามว่า พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน อดีตรองปลัดกระทรวงกลาโหม ไปบอกกับผู้ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯว่าอีก 1 สัปดาห์ ทุกอย่างจะจบแล้ว ขอให้อดทน ทหารจะอยู่ข้างพันธมิตรฯ นายจตุพร กล่าวว่า เชื่อว่าหน่วยงานของรัฐที่บริหารราชการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ได้เกี่ยวข้องหลังการยึดอำนาจแล้วได้เป็น สนช. และเป็นประธานคณะกรรมการคมนาคม น่าจะมีการตรวจสอบพฤติการณ์ช่วงที่ผ่านมา เพราะมีข้อสงสัย ข้อกล่าวหามากมาย ขนาด พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ยังไม่เอาด้วย ไปกระทำการอะไร หลายหน่วยงานที่ไปดำเนินการก็มีกลิ่นอะไรมากมาย หน่วยงานของกระทรวงคมนาคมต้องไปตรวจสอบ ทองแท้ไม่ต้องกลัว ทองชุบก็ลอกให้ประชาชนเห็น " พล.ร.อ.บรรณวิทย์นั้น รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ไม่เอา รัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ไม่เอา มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบทางวินัย ฉะนั้นช่วงมีอำนาจไปกระทำการอะไรบ้าง พล.ร.อ.บรรณวิทย์พร้อมให้ตรวจสอบหรือไม่ แต่หน่วยงานรัฐต้องตรวจสอบ และถ้าตรวจสอบไม่ได้ก็ไม่ควรจะนั่งอยู่ตรงนี้ เพราะมีข้อเท็จจริงที่มีเรื่องฉาวมากมาย คมช.ยังตั้งคณะกรรมการตรวจสอบวินันย ผมจึงบอกว่ารัฐที่มากจากเลือกตั้ง ก็ควรกล้าดำเนินการอย่างไดอย่างหนึ่งกับพล.ร.อ.บรรณวิทย์ เหมือนกัน"นายจตุพรกล่าว เมื่อถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ในสิ่งที่พล.ร.อ.บรรณวิทย์บอกว่าทหารอยู่ข้างพันธมิตรฯ นายจตุพร กล่าวว่า ไม่เคยได้ยินว่าทหารอยู่ข้างพันธมิตรฯ แต่กลุ่มนั้นพยายามยั่วยุให้ทหารยึดอำนาจ เพราะจะเป็นช่องทางเดียวของการเปลี่ยนแปลง ดึงพรรคร่วมรัฐบาลออกไปทั้งหมด ไปร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลได้ก็บริหารประเทศไม่ได้อยู่ดี เพราะถ้าถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ เสียงข้างมากจะกลายเป็นเสียงข้างน้อยทันที เพราะส.ส.ที่เป็นรัฐมนตรียกมือให้ตัวเองไม่ได้ และมันปริ่มเพียง 7 เสียง ต้องเอาคนนอกมาทั้งหมด ถ้าให้พรรคประชาธิปัตย์บริหาร ช่องทางเดียวเห็นได้ชัดว่า พันธมิตรฯจะบอกว่าหลับเถิด ทหารกล้าข้าจะคุ้มภัย พูดจาแดกดันทหาร เพื่อต้องการให้ทหารรู้สึกว่า ถูกกระตุ้น และออกมายึดอำนาจ คนที่มาขึ้นเวทีพันธมิตรฯก็เห็นแล้วว่าหลังยึดอำนาจไปขึ้นวางวัลที่ไหน หลายคนจึงมีตำแหน่ง สนช. สสร.บอร์ดรัฐวิสาหกิจ บ้าง ทุกคนรู้ว่าโผล่หน้าเวที ยึดอำนาจ ขึ้นวางวัลที่ไหน นักเลือกบางคนช่วงไม่มีเลือกตั้งก็ไปรับตำแหน่ง สอบตก ก็ออกมาขับไล่ ตนจึงบอกว่านี่เป็นวิธีการที่สกปรก "เวทีผู้ปราศรัยทุกวัน ส่วนใหญ่จะมีส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ มีส.ส.สอบได้คือ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ที่เหลือเป็น ส.ส.สอบตก ผมตั้งคำถามไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาของผมว่า เล่นการเมือง 2 หน้า ผมบอกว่าให้คุณอภิสิทธิ์ประกาศชัดเจนว่า เห็นด้วยกับการชุมนุมของพันธมิตรฯ จึงไม่ห้าม ส.ส.และ ส.ส.สอบตกให้กลับพรรค และให้ประกาศท้ากับประชาชนว่า ถ้าการยืนเคียงข้างพันธมิตรฯ ผิดหรือถูกให้ไปตัดสินในการเลือกผู้ว่าฯ กทม.ในเดือนสิงหาคม เพราะพรรคประชาธิปัตย์เล่นบทโค่นรัฐบาลทั้งนอก และในสภา ผมจึงบอกว่าเอาเปรียบรัฐบาลและระบอบประชาธิปไตยเกินไป ฉะนั้นให้ประกาศเดิมพันทางการเมืองไปเลยในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถ้าคนเห็นด้วยกับพันธมิตรฯ ยึดสะพานมัฆวานฯ พรรคประชาธิปัตย์ส่งสมาชิกไปร่วมชุมนุม หรืออ้างว่าไปเองตามสิทธิเสรีภาพ แต่พรรคไม่เรียกกลับ ฉะนั้นก็ให้ประชาชนตัดสิน ว่าเห็นด้วยพรรคประชาธิปัตย์ไปร่วมกับม็อบพันธมิตรฯชุมนุมปิดถนนหรือไม่ ถือเป็นการลงประชามติอีกอย่าง ขอให้นายอภิสิทธิ์ประกาศให้ชัดเจน เพราะถ้าไม่มีการวัดในการเลือกตั้ง อย่างนี้ก็ไม่รู้ว่าคนกทม.คิดอย่างไร เพราะนี้คนกรุงเทพกำลังเดือดร้อน จากพิษเศรษฐกิจ รวมทั้งการปิดถนน เขาจะได้ใช้สิทธิของเขาระบายถึงความไม่พอใจของการกระทำของกลุ่มพันธมิตร ด้วยการใช้สิทธิเลือกตั้ง"นายจตุพรกล่าว
เพื่อไทย
Sunday, June 15, 2008
พปช.ปกป้อง‘เฉลิม'ห้ามเคเบิลดึงสัญญานASTV
thai-grassroots