WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 10, 2008

ศาลกับแนวคิดกฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์

คอลัมน์: ฤๅจะเป็นเมืองนอกกฎหมาย

ผู้เขียนเคยชี้ให้เห็นว่าความคิดที่ถือว่า “กฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์” นั้น เป็นเพียงการรับอิทธิพลจากทฤษฎีกฎหมายสำนักกฎหมายบ้านเมือง ซึ่งเป็นเพียงทฤษฎีกฎหมายสำนักหนึ่งในสมัยใหม่เท่านั้น ซึ่งทฤษฎีนี้ได้ชักนำให้โลกก้าวหน้าไปสู่ความรุนแรงการประหัตประหารอย่างโหดเหี้ยมภายใต้การนำของลัทธิเผด็จการในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง

ในวิชานิติ...นั้นยังชี้ให้เห็นว่ายังมีทฤษฎีกฎหมายสำนักอื่นๆ ที่สำคัญและควรเรียนรู้เข้าใจให้แจ่มแจ้งไม่ว่าสำนักธรรมนิยม และสำนักประวัติศาสตร์

พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงเคยมีพระบรมราชโองการเป็นปฐมในคราวที่ทรงรับราชาภิเษกว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และตลอดระยะเวลาที่ครองราชย์ แนวกระแสพระราชดำรัสและพระบรมราชโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันที่ทรงพระราชทานแก่นักกฎหมายและความยุติธรรมเป็นอย่างยิ่งพระบรมราชโชวาทหลายครั้ง แสดงแนวพระราชดำริทางปรัชญากฎหมายไปในทางเดียวกับสำนักธรรมนิยม และสำนักประวัติศาสตร์ ดังเช่นที่ทรงกล่าวถึงกฎหมาย อำนาจ ความยุติธรรม และความจริงในสังคม

สำหรับความคิดทางกฎหมายของไทยนั้น กล่าวได้ว่าแม้ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองมาแล้ว แต่กว่าที่ประเทศไทยจะถือได้ว่าเป็นประชาธิปไตยเต็มใบก็ถูกครอบงำโดยเผด็จการเป็นเวลานาน จนอาจกล่าวได้ว่า สังคมไทย มีความคุ้นเคยกับแนวคิดที่ถือว่ากฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์ แต่ในระยะหลังมานี้ได้เกิดกระแสความคิดอย่างใหม่ในสังคมไทย มีการเรียกร้องให้ถือธรรมะ ถือเหตุผลเป็นใหญ่ เน้นหลักรัฐมีอำนาจจำกัด เน้นให้นักกฎหมายใช้กฎหมายให้สอดคล้องกับหลักความเป็นธรรม สำนึกผิดชอบชั่วดีของคนในสังคม ไม่ใช่ใช้กฎหมายตามตัวอักษรจนเกิดความอยุติธรรม หรือมุ่งแต่จะคล้อยตามความพอใจของผู้มีอำนาจ

ในแง่ของตุลาการเอง แม้จะไม่ถึงกับได้รับการขานรับจากผู้มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมอย่างเต็มภาคภูมิเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวแต่ก็ยังปรากฎว่าคำพิพากษาของศาลในบางคดีกลับได้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของผู้พิพากษาในเรื่องนี้ ดังคำพิพากษาศาลฎีกา เช่น

คำพิพากษาฎีกาที่ 423/2512 ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งบุคคลที่ต้องหาว่าเป็นอันธพาลไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพ ตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2503) ซึ่งจะมีคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่พิจารณาและมีคำสั่งทุกๆ 3 เดือน ว่า บุคคลที่ถูกควบคุมนั้น ควรควบคุมไว้หรือปล่อยตัวไปปรากฏว่า คณะกรรมการฯ ไม่ได้พิจารณาและมีคำสั่งประการใด ศาลวินิจฉัยว่าการควบคุมบุคคลไว้เกิน 3 เดือน เป็นการควบคุมโดยไม่ชอบตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้ และสั่งให้ปล่อยตัวผู้ถูกควบคุม

คำพิพากษาฎีกา ที่ 2131/2521 ในคดีนี้ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจับตัวผู้ต้องหาว่าเป็นภัยต่อสังคมมาควบคุมไว้ แต่คำสั่งของปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (พ.ศ.2519) ซึ่งพนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัวไว้ทำการอบรมได้ไม่เกิน 30 วัน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจส่งตัวบุคคลนั้นไปยังสถานอบรมและฝึกอาชีพได้โดยไม่มีกำหนดเวลาขั้นสูงโดยไม่ต้องผ่านการพิจารณาของศาล ปรากฏว่าผู้ต้องหาร้องขอให้ศาลพิจารณา ศาลก็รับพิจารณาและฟังพยานหลักฐานได้ความว่า การควบคุมบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐานพอฟังได้ว่า ผู้ต้องหามีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคม ดังนั้นศาลจึงสั่งให้ปล่อยผู้ต้องหาจาการควบคุม

คำพิพากษาฎีกา ที่ 344/2522 ศาลวินิจฉัยว่า อำนาจในการวินิจฉัยว่า บุคคลใดมีพฤติการณ์เป็นภัยต่อสังคมตามคำสั่งคณะปฏิรูป ฯ ฉบับที่ 22 หรือไม่ มิใช่เป็นอำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร หากแต่ศาลมีอำนาจวินิจฉัยว่าผู้ควบคุมมีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อสังคมจริงหรือไม่

คำพิพากษฎีกาที่ 913/2536 คดีนี้ศาลฎีกา ตัดสินว่า ประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26 ซึ่งสั่งให้ยึดทรัพย์สินของนักการเมืองที่ถูกยึดอำนาจนั้นใช้บังคับไม่ได้เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 ยิ่งไปกว่านั้นศาลฎีกายังได้วินิจฉัยต่อไปว่า พ.ศ. 2534 ยิ่งไปกว่านั้นศาลฎีกายังได้วินิจฉัยต่อไปว่า แม้มาตรา 22 แห่งธรรมนูญการปกครองฯ ฉบับดังกล่าวจะบัญญัติรับรองให้ถือว่า ประกาศหรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยฯ มีผลบังคับใช้เช่น กฎหมาย แต่การรับรองเช่นนั้นย่อมไม่มีผลหากเนื้อหาหรือคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2534 เสียเอง

นอกจากนี้แม้มาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2534 จะได้รับรองให้ประกาศและคำสั่งของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย มีผลบังคับใช้ได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่างไปก็ตาม ประกาศของคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ฉบับที่ 26 ซึ่งใช้บังคับไม่ได้ ไปแล้วก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ดังนั้นประกาศดังกล่าวย่อมไม่อาจฟื้นขึ้นมามีผลบังคับได้อีก

จากคำพิพกาษาฎีกา ดังกล่าวข้างต้น โดยเฉพาะคำพิพากษาฎีกาที่ 913/2536 ได้ยืนยันคุณธรรมและคุณค่าของกฎหมายที่อยู่เหนืออำนาจตามอำเภอใจของผู้ปกครอง

ผู้เขียนจึงยกมาบอกกล่าว เพื่อให้ใครบางคนที่เข้าใจเอาว่า “กฎหมายคือคำสั่งของรัฐาธิปัตย์” จะไม่หลงทางไปตามกระแสของสมุนเผด็จการ

ศุภชัย ใจสมุทร