WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, December 7, 2008

อัดยับ! พธม.อารยะขัดขืนจอมปลอม ไม่เชื่อ “ปฏิวัติรัฐประหาร” สำเร็จ ( คอลัมน์ : เวทีวิชาการ : อ.วราภรณ์ แช่มสนิท )

ที่มา ประชาทรรศน์

วราภรณ์ แช่มสนิท อาจารย์สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สัมภาษณ์ประชาทรรศน์ รายสัปดาห์ ในสถานการณ์พันธมิตรฯ ยึดสนามบิน ระบุไม่ใช่ “อารยะขัดขืน” ที่แท้จริง ไม่เชื่อทหารจะทำการปฏิวัติรัฐประหารได้สำเร็จ จะมีคนจำนวนมากออกมาต่อต้านแน่นอน
***การที่พันธมิตรฯ ปิดล้อมสนามบินสุวรรณภูมิแล้วอ้างว่าความเสียหายที่ประเทศไทยได้รับนั้นมันน้อยกว่าถ้าหากปล่อยให้รัฐบาลนี้บริหารงานต่อไป สิ่งนี้มันคือการอารยะขัดขืนหรือเปล่า

จริงๆ การอารยะขัดขืนคือการจงใจที่จะกระทำผิดกฎหมาย เพื่อที่การกระทำผิดกฎหมายนั้นจะเป็นสะพานให้มีโอกาสที่จะต่อรอง หรือเรียกร้องในสิ่งที่ตัวเองกำลังเรียกร้องอยู่ แต่ถ้าหากฝ่ายรัฐมีการบังคับใช้กฎหมาย เช่น มีการจับกุมผู้กระทำผิดในนามอารยะขัดขืน ผู้กระทำผิดต้องยินยอมให้จับกุมไป แล้วเข้าสู่กระบวนการทางศาล โดยที่กระบวนการเรียกร้องในการชุมนุมนั้นเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่จะดึงรัฐให้เข้ามาสู่การเจรจาในข้อเรียกร้องของแต่ละกลุ่มนั้น
แต่ในกรณีของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้นเราเห็นกันมานานแล้วว่ามันไม่ใช่การอารยะขัดขืน มันเป็นเพียงแค่ศัพท์ที่เอามาใช้เรียกกันเพื่อที่จะให้กลุ่มของตัวเองดูดี มีความชอบธรรม เพราะว่าพันธมิตรฯ ไม่เคยยินยอมที่จะปฏิบัติตามหลักของกฎหมาย เช่น ในเมื่อคุณกระทำการละเมิดกฎหมายแล้ว พอถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแล้วพันธมิตรฯ ไม่เคยยินยอม
กรณีที่ 2 เป้าหมายของพันธมิตรฯ ไม่ได้อยู่ที่ใช้การกระทำอารยะขัดขืนไปในประเด็นของการเจรจาทางนโยบาย หรือว่าประเด็นความเดือดร้อนเฉพาะของกลุ่ม แต่เป็นการสร้างข้อเรียกร้องสุดขั้วเพื่อที่จะล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งโดยระบอบประชาธิปไตย แล้วสถาปนาระบอบใหม่ขึ้นมา ซึ่งเราไม่รู้ว่าจะเรียกระบอบอะไร แต่ว่าเป็นระบอบที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตย นั่นคือประเด็นที่ 2 ที่ทำให้วิธีการของพันธมิตรฯ ไม่น่าจะเป็นการใช้อารยะขัดขืน
ประการที่ 3 ที่มันชัดกว่านั้นคือ พันธมิตรฯ มีการจัดตั้งกองกำลังของตัวเอง แล้วมีการติดอาวุธ ซึ่งในภาวะปกติอาจจะอ้างได้ว่านั่นไม่ใช่อาวุธ เช่น ไม้กอล์ฟ ไม้เบสบอล อะไรต่างๆ แต่ว่าปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งเหล่านี้ถูกสะสมไว้เพื่อเป็นอาวุธของพันธมิตรฯ นอกจากนี้เราก็ได้ทราบจากข่าวว่าพันธมิตรฯ ยังมีอาวุธจริงที่มีอานุภาพทำลายล้างชีวิตได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นข้อที่ชัดเจนที่สุดว่าการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ได้เข้าข่ายอารยะขัดขืน

***แกนนำพันธมิตรฯ พยายามเสนอแนวทางการเมืองใหม่ และประกาศโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากประชาธิปไตย มาจากการเลือกตั้ง ตรงนี้คิดว่าเป้าหมายที่แท้จริงของพันธมิตรฯ คืออะไร

เขาประกาศชัดเจนว่าต้องการล้มล้างรัฐบาล และการล้มล้างรัฐบาลไม่ใช่แค่ล้มล้างรัฐบาลนี้ แต่รวมไปถึงนักการเมืองที่กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่ชอบใจจะต้องไปให้พ้นจากพื้นที่ทางการเมืองด้วย ไม่ให้มาเล่นการเมืองอีก ซึ่งข้อนี้ต้องถามกลับไปว่าคุณใช้กฎหมาย คุณใช้กฎเกณฑ์อะไรที่จะไม่ให้คนอื่นเข้ามาเล่นการเมือง ตราบใดที่เรายังอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย คุณไม่มีสิทธิที่จะมาบอกห้ามไม่ให้ใครเข้ามาเล่นการเมือง ถ้าเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย และเน้นว่ากฎหมายนั้นต้องเป็นธรรมด้วย เพราะฉะนั้นเป้าหมายของกลุ่มพันธมิตรฯ เชื่อว่าคนในสังคมน่าจะรู้อยู่แล้วว่าเขาต้องการนำระบอบการปกครองแบบอื่นเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นระบอบประชาภิวัตน์ หรืออะไรก็ตาม
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมันคือระบอบที่คนกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นจำนวนน้อยและมีอิทธิพล มีอำนาจอยู่ในสังคม สามารถคุมทิศทางการปกครองของบ้านเมืองนี้ได้ แล้วก็ลิดรอนเสียง พลังที่เป็นของประชาชน ที่เคยมีปากเสียงในการแสดงเจตนารมณ์ของตัวเองได้ในการเลือกตั้ง

***ดูวิธีการล่าสุดของแกนนำที่มีความพยายามจะยั่วยุทหารให้ออกมาทำการปฏิวัติรัฐประหาร ตรงนี้มองอย่างไร

เขาคงมองไว้คือ พยายามที่จะดึงทหารออกมาปฏิวัติคงเป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งเป็นแนวทางที่พันธมิตรฯ ทำมาตลอดอยู่แล้ว แต่ทหารยังไม่ปฏิวัติ แต่ว่าสิ่งที่พันธมิตรฯ ทำในการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงโดยให้ประชาชนต่อประชาชนมากระทำต่อกัน หรือว่ายั่วยุให้รัฐบาลออกมาสลายการชุมนุม เพื่อสร้างภาพให้กลุ่มของตนเองมีความชอบธรรมว่ารัฐบาลได้ใช้ความรุนแรง

***มองบทบาทของ ผบ.ทบ. ในการออกมาเรียกร้องให้นายกฯ ลาออก หรือล่าสุดให้ยุบสภา คิดว่าบทบาทของผู้นำกองทัพเป็นการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

คือ มีอำนาจอื่นที่เข้าไปแทรกแซงกองทัพ ให้ออกมาบีบรัฐบาลหรือไม่นั้น ตรงนี้เราไม่สามารถตอบได้ แต่ถามว่ามันเป็นสิ่งที่กองทัพคือเจ้าหน้าที่รัฐควรจะกระทำ และไม่ได้กระทำนั้น เป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่ มีเสียงวิจารณ์มากขึ้นในการละเลยที่จะกระทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะว่าขณะนี้เรื่องปากท้อง เศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ช่องทางการทำมาหากินของคนจำนวนมากกำลังถูกยึดไปเป็นตัวประกันของพันธมิตรฯ แล้วก็บอกว่าเราจะกระทำย่ำยีต่อการดำรงชีวิตของคุณ ถ้ารัฐบาลไม่ยอมลาออกเราก็จะย่ำยีต่อไปอย่างนี้เรื่อยๆ ตรงนี้เป็นการคุกคามประชาชนจำนวนมากแล้ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตรงนี้เป็นหน้าที่รัฐจะต้องเข้ามายุติตรงนี้

***ปัจจุบันมีข่าวลือหนาหูมากว่ามีนายทหารหลายคนที่ยังคิดจะทำการรัฐประหารอยู่

เรื่องนี้ตอบแทนทหารไม่ได้ แต่ต้องบอกว่ายุคนี้ไม่ใช่ยุคที่จะมีการรัฐประหารแล้ว และเราได้เห็นตัวอย่างเมื่อ 19 กันยายน 2549 แล้วว่ารัฐประหารทำได้ไม่ยาก แต่ว่าพอรัฐประหารเสร็จแล้วการที่จะบริหารประเทศต่อไปนั้น ถามว่ากองทัพมีความสามารถในการจัดการตรงนั้นไหม และการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 เราได้เห็นว่ามีความพยายามที่จะรักษาอำนาจไว้ มีความพยายามที่จะกีดกันอำนาจที่เรียกว่าอำนาจเก่าไม่ให้กลับมา มันจะมีการวางหมากไว้ในระบบหรือในสถาบันหลายๆ จุด ซึ่งวิธีการทำแบบนั้นในที่สุดแล้วมันมาค่อยๆ ทำลายการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ ซึ่งมันเป็นผลเสียในระยะยาวต่อประเทศไทย

***ดูจากสถานการณ์หากมีการปฏิวัติอีกครั้ง ประชาชนจะยอมรับได้ไหม และคนต้านจะเพิ่มมากขึ้นและรุนแรงขึ้นกว่าครั้งที่แล้วหรือไม่

คิดว่าแรงต้านคงจะมีมากกว่าแน่ อย่างน้อยๆ ก็มีกลุ่มเสื้อแดงที่ประกาศออกมาชัดเจนแล้วว่าจะออกมาต่อต้าน แต่สิ่งที่อยากจะพูดก็คือว่าในสังคมนี้ยังมีประชาชนในภาคส่วนต่างๆ ที่เขาไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร คนพวกนี้ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นคนเสื้อแดง แต่เขาก็เห็นว่าการรัฐประหารมีผลเสีย เพราะฉะนั้นจะมีคนกลุ่มนี้อีกกลุ่มหนึ่งที่ออกมาต่อต้าน

***ประเทศไทยควรจะมีการต้านรัฐประหารขึ้นมาไหม เพื่อเป็นสิ่งเตือนสติ และให้ความรู้กับเยาวชนรุ่นหลังว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติบ้านเมืองอย่างร้ายแรง

ประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์โลกปัจจุบัน เราอยู่ในภาวะที่ตื่นเช้าขึ้นมาก็ต้องออกมาลุ้นว่าวันนี้จะรัฐประหารหรือเปล่า คือเราอยู่ในภาวะแบบนี้มานาน อันนี้มันบอกถึงเสถียรภาพทางการเมือง บอกถึงความไร้เสถียรภาพทางการเมืองในสังคมไทย เสถียรภาพทางการเมืองคืออะไร คือ ระบอบประชาธิปไตยที่มันเดินไปได้ บริหารงานไปได้ มีการเลือกตั้งที่มีการตรวจสอบควบคุมได้ เลือกตั้งมาแล้วรัฐสภาทำงานได้ รัฐบาลทำงานได้ การเมืองภาคประชาชนก็ต้องมีพื้นที่อยู่ แต่ว่าทั้งหมดนี้ก็ต้องอยู่ในกรอบของหลักการทางประชาธิปไตย คือ ให้คนได้มีสิทธิเลือกผู้แทนของตนเองเข้ามาทำงานบริหารประเทศ แล้วถ้าไม่พอใจมันก็ต้องมีกลไกในการตรวจสอบรัฐบาลในการที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไข หรือแม้กระทั่งการถอดถอน แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องเป็นไปตามกลไกที่ตกลงไว้ และทุกคนยอมรับร่วมกัน ไม่ใช่เรามีกฎกติกาตรงนี้อยู่ แล้วมีกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งออกมาบอกว่าไม่เอากฎเกณฑ์นี้ ไม่เอากติกานี้ ไม่สนใจคนที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกเข้ามา ตรงนั้นคือว่าเป็นจุดสำคัญที่น่าจะให้การศึกษากับเยาวชนมากกว่า หลักการของประชาธิปไตยมันคืออย่างนี้อย่างนั้นนะ แล้วต้องรักษาหลักการประชาธิปไตยนี้ไว้อย่างมั่นคง

***มีคนออกมาบอกว่าม็อบพันธมิตรฯ ที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่นั้นเป็นม็อบเซ็น ในขณะที่สังคมก็ตั้งคำถามมากมายถึงเบื้องลึกเบื้องหลัง

อันนี้มันเป็นคำถามที่เราพอที่จะเข้าใจได้ว่าทำไมสังคมถึงตั้งคำถามแบบนี้ขึ้นมา เพราะเห็นจากปรากฏการณ์พันธมิตรฯ มันก็มีคำถามว่าเขาอยู่ได้อย่างไร ทั้งที่เป็นคนจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับคนส่วนใหญ่ในสังคม แล้วก็มีปฏิบัติการหลายอย่างที่ละเมิดกฎหมาย แต่ไม่ถูกจัดการอย่างจริงจัง ฉะนั้นคำถามที่ถามว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังม็อบพันธมิตรฯ หรือเปล่ามันก็เป็นคำถามที่น่าจะเป็นไปได้ที่จะมีคนสงสัยแบบนี้ ส่วนคำตอบว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่นั้น ส่วนตัวก็ยังไม่มีคำตอบแน่ชัด เป็นเพียงแต่การคาดเดา แต่ว่าอยากจะย้อนกลับไปที่หลักการมากกว่า ว่าหลักการประชาธิปไตยนั้น 1 คน 1 เสียง ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร ชนชั้นไหน มีการศึกษาระดับไหน เป็นดอกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ เป็นคนเก็บขยะ เป็นแม่ค้าขายของริมถนน แต่ประชาธิปไตยให้หลักการกับเราอย่างหนึ่งว่า ไม่ว่าคุณจะเป็นใคร คุณมี 1 เสียงในการที่จะเลือกผู้แทนเข้าไปทำงานบริหารบ้านเมือง นี่คือความสวยงามของหลักการประชาธิปไตย เพราะฉะนั้นเราจะต้องรักษาหลักการนี้เอาไว้
///////////////////////////////////