WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 18, 2009

รู้เขา รู้เรา รบร้อยมิรู้พ่าย !

ที่มา บางกอกทูเดย์

เมื่อพุทธศักราช 2475 เกิดการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครอง คณะผู้ยึดอำนาจได้นำอำนาจไปให้แก่ชนส่วนน้อย ซึ่งใช้ปกครองประเทศมาจนถึงปัจจุบันโดยอ้างว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยเมื่อ 77 ปีที่แล้ว สมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงวิจารณ์การปกครองของชนส่วนน้อยในขณะนั้นว่า “การปกครองที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้

เป็นลัทธิเผด็จการทางอ้อมๆ ไม่ใช่ Democracy จริงๆ เลย”กาลเวลาล่วงเลยมากว่าครึ่งศตวรรษ การปกครองลัทธิเผด็จการทางอ้อมๆ ได้กลายเป็นการปกครองแบบเผด็จการโดยตรงแล้ว ในรูปของระบอบเผด็จการรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเพราะอำนาจอธิปไตยอยู่ในมือชนส่วนน้อยฝ่ายเดียว ชนส่วนใหญ่ซึ่งส่วนมากเป็นคนจนเช่น ชาวนา เกษตรกร กรรมกร ข้าราชการระดับล่าง ไม่มีส่วนแห่งอำนาจอธิปไตย เป็นการผิดพระราชประสงค์ของสมเด็จพระปก

เกล้าฯ โดยสิ้นเชิงพระบรมราโชบายเปลี่ยนแปลงการปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น สืบทอดพระบรมราโชบายของสมเด็จพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นนโยบายประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามบันทึกทางประวัติศาสตร์ ตามพระราชปณิธานว่า “...ข้าพเจ้า มีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิม ให้แก่ราษฎรทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใด โดยเฉพาะเพื่อใช้

อำนาจโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร์...”การสถาปนาการปกครองแบบประชาธิปไตยที่ถูกต้องตามหลักวิชา และเหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระบรมราโชบายอันถูกต้องนี้จวนจะเสร็จอยู่แล้วแต่เกิดการยึดอำนาจเลิกล้มพระราชกรณียกิจนั้นเสียก่อนซึ่งทรงวิจารณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ไว้ว่า เป็นการยึดอำนาจกันเฉยๆ เป็นการเปลี่ยนตัวเปลี่ยนคณะกันเท่านั้น มิได้ทำให้มี

เสรีภาพในการเมืองมากขึ้นเสรีภาพกลับจะน้อยลงไปเสียอีก ผลร้ายของการปกครองแบบ Absolute มิได้เสื่อมคลาย เป็นการเสียเวลาและเสี่ยงภัยให้แก่ประเทศโดยใช่ที่ ในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในความคับขันและยากจนสถานการณ์ปัจจุบันได้พิสูจน์ความถูกต้องของพระราชวิจารณ์ทั้งสิ้นดังที่เห็นกันอยู่แล้วว่า ประเทศชาติทรุดโทรม ตกต่ำและเหลวแหลกถึงที่สุดอย่างไร ทั้งทางการเมืองทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ในสังคมประชาชนยากจน ทุกข์ยากแสนเข็ญ และ

คนไทยต่ำต้อยต่อหน้าคนชาติอื่นอย่างถึงที่สุด เหล่านี้เกินกว่าที่จะนำมาบรรยายให้ถี่ถ้วนได้ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้ต่อไป บ้านเมืองก็จะล่มจมสิ้นชาติสิ้นแผ่นดิน ประชาชนวินาศหายนะในกองเพลิงแห่งมิคสัญญีกลียุคเหตุที่เป็นเช่นนี้ เพราะเกิดจากการปกครองที่ไม่เป็นธรรมเพราะผู้ปกครองไม่ดำเนินการรับสนอง พระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวการปกครองไม่เป็นธรรม คือ การปกครองที่ไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตยเพราะประชาธิปไตยในการ

ปกครอง คือ ธรรมาธิปไตยอธิปไตยของปวงชน คือ ธรรมาธิปไตยอธิปไตยของชนส่วนน้อย คือ อัตตาธิปไตยเพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน คณะตน พวกพ้องตนฉะนั้น ธรรมาธิปไตยในการปกครองคือการปกครองแบบประชาธิปไตยส่วนอัตตาธิปไตยในการปกครองคือการปกครองแบบเผด็จการการปกครองไม่เป็นธรรมในปัจจุบัน คือ การปกครองแบบเผด็จการรัฐสภานั่นคือ เหตุแห่งสถานการณ์อันเลวร้ายทั้งปวงเพื่อทำให้การปกครองเป็นธรรม ต้องให้มีการปกครอง

แบบประชาธิปไตย เพื่อให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยโดยยึดมั่นในหลักการอย่างแน่วแน่ และต้องดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรม บนพื้นฐานแห่งสัจธรรม คุณธรรมและสันติธรรมและจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พร้อมทั้งจะต้องเคารพในสิทธิและข้อคิดเห็นของประชาชนทุกหมู่เหล่า และร่วมทุกข์ร่วมสุขเพื่อสร้างการปกครองที่เป็นธรรมให้เกิดขึ้นการสร้างความสามัคคีแห่งชาติ และสันติภาพระหว่างประเทศ

โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านซึ่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ แห่งพรรคประชาธิปัตย์มีทัศนคติที่เป็นอันตรายเพราะหน้าที่รัฐบาล คือ การแสวงหามิตรประเทศมิใช่แสวงหาศัตรูประกอบกับความไม่เข้าใจกับนโยบายของประเทศสังคมนิยม เช่น ประเทศกัมพูชาเพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มีความลำเอียงหรืออคติ 4 หรืออย่างไรอคติ 4 คือ อะไร
1. ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก)
2. โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง)
3. โมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา)
4. ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว)

ด้วยเหตุที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ มีความลำเอียงหรืออคติ 4 หรืออย่างไร ไม่ทราบได้จึงดำเนินนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเสี่ยงต่อการเกิดสงครามประชาชาติได้ แล้วยังจะส่งผลให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจหรืออีกนัยยะหนึ่ง คือ ตกเป็นแนวร่วมอย่างไม่รู้ตัวจึงอยากเตือนรัฐบาลชุดนี้ว่า อย่าเอาประเทศและประชาชนชาวไทย ไปเป็นตัวประกันเพื่อยืดอายุของรัฐบาลโดยไม่ลืมหูลืมตาและอยากฝากถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ได้ศึกษาหลักวิชาความ

สัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะ นโยบายของประเทศสังคมนิยมกับประเทศเสรีนิยมให้ถ่องแท้เสียก่อนพร้อมทั้งทำความเข้าใจต่อปัญหาและอุปสรรค ที่เป็นปัญหาชาติ โดยปราศจาก อคติ 4 เพื่อเป็นการรับสนองพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”รู้เขา รู้เรา รบร้อยมิรู้พ่าย 