ที่มา บางกอกทูเดย์
การรวมตัว “ร้อง เต้น เล่น กิน” บนหุบเขาท่ามกลางอากาศหนาวยะเยือกนับหมื่นคนของขุนพลคนสีแดง ในนามทางการเรียกกันว่าแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ สั้นๆแต่ไม่ค่อยได้ใช้ นปช.การรวมตัวของคนเสื้อแดง ...จุดพลุให้ผู้เขียนคิดถึงเหตุการณ์ 19 กันยายน 2549นับรวมเบ็ดเสร็จ มันยาวนานมากว่า 3 ปี..หรือประมาณ 1,154 วันเข้าไปแล้ว19 กันยายน 2549 ดอกกุหลาบสีแดงเข้มบนรถถังและปืนปลายกุหลาบ กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความสันติ เป็นเครื่องหมายยุติการเดินขบวน“ขับไล่รัฐบาล” ของกลุ่มคนเสื้อเหลือง ชื่อเต็ม “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” เรียกติดปากว่า พันธมิตรฯหลายคนมอง
ว่า รถถัง กุหลาบแดง และการเดินขบวนของ พธม.เป็นเพียงความขัดแย้งทางการเมืองธรรมดา..แต่เมื่อมันล่วงเลยมากว่า 1,154 วัน..หลายคนเหล่านั้นคงร้องอ๋อ! แล้วว่า “มันไม่ธรรมดา”ความขัดแย้งทางการเมืองยังไม่สงบ..ตัวละครตัวเดิม เนื้อเรื่องคงเดิม..ลุกลามบานปลายกลายเป็น วิกฤติความมั่นคงทางการเมืองของประเทศที่สถาบันในการตรวจสอบและถ่วงดุลตามหลักประชาธิปไตยถูกทำลายโดยสิ้นเชิง และกำลังลุกลามไปสู่สถาบันสูงสุดของประเทศด้วยกว่า 3 ปี
กับการวิ่งผลัดบนความวิกฤติ เมื่อการเมืองเตะขากันเอง ...ระบบเศรษฐกิจและสังคมก็ถูกม้วนรวมให้ “ล้มลุกคลุกคลาน” ไปด้วยกว่า 3 ปีบนความ “วิกฤติที่สุด”เหตุการณ์ 19 กันยายน 2549 คนทั่วไปมองไม่ลึกและมองไม่ออก คิดว่าเป็นการขัดแย้งทางการเมืองธรรมดา แต่จริงๆ มันแอบแฝงระบบทวงคืนต้องการเป็นผู้ชนะโดยมี “ชาติ” เป็นข้ออ้าง กระทั่งกระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติอย่างมาก..การปฏิวัติ 19 กันยายน เป็นการปฏิวัติรูปแบบใหม่.. ต่างกับใน
อดีต คือ อุปสรรคสำคัญที่ทำให้ประชาธิปไตยไทยสะดุด คือ ทหารปฏิวัติ เมื่อวันเวลาผ่านไปทำให้ทหารมีวุฒิภาวะเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ไม่เป็นตัวถ่วงประชาธิปไตยแต่ไม่มีใครคาดคิดว่าวันหนึ่งจะมีการปฏิวัติจากฝีมือทหารเกิดขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางยุคโลกาภิวัตน์แต่การปฏิวัติครั้งนี้ ทหารมี “กึ๋น” มากขึ้นส่งผลให้เกิดการปฏิวัติในรูปแบบใหม่ที่มีเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องเรียกว่า ธุรกิจการเมือง…ธุรกิจการเมือง มีสินค้าชื่อ ส.ว. องค์กรอิสระ ข้าราชการ สื่อมวลชน แม้แต่
กลุ่ม “ซ้าย” ก็ยังรับใช้นายทุน ซึ่งกลายเป็นโจทย์ตัวใหม่ที่มาทำลายประชาธิปไตย (บางคน บางกลุ่ม)หลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จนถึงปัจจุบันมองผิวเผินเหมือนกับเป็นการขัดแย้งทางการเมืองธรรมดา แต่ลึกลงไปมันมีความต้องการของคนหลายคนที่ “แก่งแย่งชิงได้” กลายเป็นบ่อนทำลายชาติในรูปแบบต่างๆ ทั้งเปิดเผยและทางลับ ทางตรงและทางอ้อม ในและนอกประเทศกระทั่งก่อตัวเป็นสงครามระหว่าง “มหาประชาชน” กับ “มหาอำมาตย์” มุ่งทำลายระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขประเทศไม่มีชีวิต สิ่งที่ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้คือ คนถ้าคนอ่อนแอ ประเทศก็อ่อนแอ ความเชื่อของประชาชนในสังคมเป็นเรื่องสำคัญ ค่านิยมของคนบางส่วนที่ถูกย้อมหัวและย้อมใจจนเชื่อในสิ่งผิดๆ เป็นค่านิยมที่เป็นอันตราย และเป็นปัญหาของชาติในอนาคตคิดใหม่ ทำใหม่ ได้แล้วครับคนไทย..
ปรัชญา-โครงสร้างการเมืองประชาธิปไตย...
ผู้เขียน “ปรัชญาและโครงสร้างของการเมืองไทยตามหลักประชาธิปไตย” มีฝ่ายอำนาจและฝ่ายคานอำนาจ กล่าวคือ ฝ่ายนิติบัญญัติออกกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ใช้กฎหมายฝ่ายบริหารมีหน้าที่ใช้กฎหมาย ไม่มีหน้าที่ตีความกฎหมาย ฝ่ายตุลาการมีหน้าที่วินิจฉัยกฎหมาย ไม่มีหน้าที่ออกกฎหมายหรือใช้กฎหมาย เป็นหลัก
การ “ตรวจสอบและถ่วงดุล” ซึ่งเป็นหัวใจของระบอบประชาธิปไตยในกระบวนการยุติธรรมตั้งแต่ขั้นต้นจนกระทั่งถึงขั้นสุดก็มีการแบ่งแยกอำนาจและคานอำนาจ ตำรวจ อัยการ ศาล มีการตรวจสอบและถ่วงดุลกัน ถ้าตำรวจทำคดีไม่ดี อัยการสั่งไม่ฟ้อง ถ้าอัยการฟ้องโดยไม่มีหลักฐานแน่น ศาลก็ยกฟ้อง จึงมีการถ่วงดุลกันอยู่ในตัวในโครงสร้างการเมืองและการปกครองของไทยนอกจากมีสถาบัน นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ซึ่งเป็นเสาหลัก 3 เสาแล้ว แค่นั้นยังไม่พอ
เรามีองค์กรอิสระเพื่อการตรวจสอบอื่นๆ ตามรัฐธรรมนูญ เช่น กกต. ปปช. ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ผู้ตรวจการรัฐสภา เป็นต้นเป็นเสาช่วยค้ำการปกครองบ้านเมืองเพิ่มเติมจาก 3 เสาหลักดังกล่าว และยังมี เสาข้าราชการเสาสื่อมวลชน เสาการเมืองภาคประชาชน ด้วยแต่ละเสาต่างมีอำนาจหน้าที่ของตนเองซึ่ง ตรวจสอบกันตลอดเวลา เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน หากเสาเหล่านี้ได้ทำหน้าที่ของตนอย่างที่ควรจะเป็น ก็จะเป็นเสาที่แข็งแกร่งค้ำจุน
ความมั่นคงด้านการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขทั้งหมด คือ ปรัชญาและโครงสร้างทางการเมืองของประเทศ ที่จะทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงทางการเมืองความมั่นคงทางการเมืองมิได้หมายถึงแค่เสถียรภาพของรัฐบาลเท่านั้น แต่หมายถึงเสถียรภาพของระบอบการเมืองทุกภาคส่วนของประเทศที่ทำหน้าที่ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการแบ่งแยกอำนาจคานอำนาจ ตรวจสอบและถ่วงดุลซึ่งกันและกัน