WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, November 19, 2009

“เดอะ ไทม์” (The Times) กับกรณีกระทบสถาบันกษัตริย์ไทย

ที่มา thaifreenews

นิตยสาร เดอะ ไทม์ (The Times) กับกรณีกระทบสถาบันกษัตริย์ไทย

(กรณีศึกษาการทำงานของกองบรรณาธิการภูมิภาคเอเซียในรายงานบทสัมภาษณ์พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร)


รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร

คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี่ (Richard Lloyd Parry) เป็นบรรณาธิการประจำภูมิภาคเอเซียของนิตยสาร เดอะ ไทม์ ซึ่งได้ประสานงานติดต่อขอสัมภาษณ์พิเศษ (exclusive interview) และได้รับการตอบรับให้เข้าดำเนินการสัมภาษณ์ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไทย ที่พำนักลี้ภัยการเมืองอยู่ ณ นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การสัมภาษณ์ดังกล่าวคงจะเกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒ (หรืออาจเป็นปลายเดือนตุลาคม) ก่อนที่จะมีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลการทำงานของแพร์รี่ ในเว็บไซต์ “TIMESONLINE” ซึ่งเป็นช่องทางสื่อสารมวลชนระบบอินเตอร์เน็ตของนิตยสาร เดอะไทม์ ในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนพฤศจิกายนดังกล่าว

การสัมภาษณ์พิเศษครั้งดังกล่าวมีเนื้อหา คำถามจริง และ คำตอบจริง ยืดยาวมากมายหลายประเด็นเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน ประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศไทย ประเด็นความขัดแย้งทางการเมืองและการทูตระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย(นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา(สมเด็จฮุนเซ็น) รวมทั้งคำถามคำตอบซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์รวมทั้งบุคคลต่าง ๆ ที่แวดล้อมสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในภาวะการเมืองปัจจุบัน

นายกอภิสิทธิ์ และ นายกฮุนเซน

ภายหลังจากที่ได้รับโอกาสในการสัมภาษณ์พิเศษอย่างยืดยาวดังกล่าว ในเบื้องต้นนั้นแพร์รี่มิได้ทำ รายงานการสัมภาษณ์พิเศษ (ฉบับเต็ม) นำเสนอผ่านช่องทางการสื่อสารมวลชนระดับโลกของสำนักสื่อมวลชนที่ตนทำงานอยู่

คำว่า รายงานการสัมภาษณ์พิเศษ ดังกล่าวนี้มีความหมายเทียบเคียงได้ในวิชาชีพสื่อมวลชน คือ การถอดคำทั้งหมดที่ ปรากฏอยู่จริง ในคำถามและคำตอบที่เกิดขึ้นจากการถามของผู้สื่อข่าว รวมทั้งการถอดคำสัมภาษณ์ในรายงานบทสัมภาษณ์อย่างเป็นลำดับจริงฉบับเต็ม แม้ว่าอาจมีการตัดทอนรายละเอียดปลีกย่อยของ เสียงที่เปล่ง หรือคำพูดระหว่างกัน ซึ่งผู้สื่อข่าวอาจใช้ดุลยพินิจตัดสินใจว่าไม่เป็นสาระสำคัญของเนื้อหาคำสัมภาษณ์ เช่น เอ้อคือว่า อ้าใช่มั๊ย หือใช่มั๊ยและเสียงอื่น ๆ ที่อาจปรากฏในระหว่างการสัมภาษณ์ ไม่ว่าจะเป็นเสียงของผู้สัมภาษณ์ เสียงของผู้ถูกสัมภาษณ์ หรือเสียงแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างการสัมภาษณ์แต่ไม่เป็นเนื้อหาสาระของบทสัมภาษณ์ครั้งนั้น หรือที่ตกลงกันว่าจะไม่ให้ปรากฏในรายงานการสัมภาษณ์ครั้งนั้น เป็นต้น

ในปฏิบัติการจริงภายหลังการสัมภาษณ์ (ที่มีการบันทึกเสียงคำพูดของทั้งสองฝ่ายในขณะดำเนินการสัมภาษณ์) แทนที่ ริชาร์ด แอล. แพร์รี่จะนำเสนอรายงานการสัมภาษณ์พิเศษฉบับจริงที่เป็นฉบับ เต็มจำนวนคำ และ ตรงตามลำดับคำตามที่ตนเองบันทึกเสียงมาจากการสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว ริชาร์ด แพร์รี่ กลับนำเสนอ บทความขนาดสั้นของตนเอง โดยใช้ประโยชน์จาก คำพูดบางส่วนของผู้ให้สัมภาษณ์ (พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร) มาประกอบกับ คำเขียน ของแพร์รี่เอง และตัดเอา คำพูด ในลำดับเวลาต่าง ๆเฉพาะบางส่วนของผู้ให้สัมภาษณ์มาเชื่อมโยงเข้ากับ คำเขียน ของผู้สื่อข่าวที่สัมภาษณ์เอง เสมือนหนึ่งว่าผู้ให้สัมภาษณ์เป็นผู้กล่าว ถ้อยคำที่เชื่อมโยงต่อเนื่อง เช่นนั้นด้วยตัวเอง (ทั้ง ๆ ที่ ผู้นำถ้อยคำของผู้อื่นมาตัดต่อแล้วเชื่อมโยงสร้าง ความหมายใหม่ ให้ผิดเพี้ยนไปจากคำสัมภาษณ์เดิมนั้นเป็นตัวนักสื่อสารมวลชนผู้ดำเนินการสัมภาษณ์เอง)

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายจะวิเคราะห์การทำงานของ ริชาร์ด ลอยด์ แพร์รี่ และสำนักข่าว เดอะ ไทม์ ในกรณีการสัมภาษณ์พิเศษดังกล่าว เพื่อเป็นกรณีศึกษาบทเรียน ทั้งสำหรับนักสื่อสารมวลชน ประชาชน และผู้ถูกสัมภาษณ์จากสื่อมวลชน ประโยชน์ที่ทุกฝ่ายอาจได้รับจึงไม่จำกัดเฉพาะกรณีการสัมภาษณ์ที่วิเคราะห์นี้เท่านั้น แต่จะเป็นอุทธาหรณ์สำหรับกรณีอื่น ๆ ทั้งในอดีต (หากจะนำแง่คิดในบทความนี้กลับไปตรวจสอบทบทวนกรณีคล้ายคลึงกันอีกมากมายที่เคยเกิดขึ้น) และกรณีอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจากข้อบกพร่องของผู้มีวิชาชีพสื่อมวลชน

บทความของแพร์รี่

ดังที่กล่าวตอนต้นว่า ในเบื้องต้น (ก่อนวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๒) ริชาร์ด แพร์รี่ ไม่ได้นำเสนอ รายงานการสัมภาษณ์พิเศษ (ฉบับจริง ฉบับเต็ม ฉบับที่รายงานถ้อยคำของผู้ถูกสัมภาษณ์ตรงตามลำดับคำถามและคำตอบที่บันทึกเสียงไว้) แต่นำเสนอ บทความของตนเอง เผยแพร่ผ่าน “TIMEONLINEW ซึ่งเป็นเว็บไซต์ในสังกัดสำนักข่าว เดอะไทม์

บทความของแพร์รี่ มีชื่อเรื่องว่า Ousted Thai leader Thaksin Shinawatra calls for ‘shining’ new age after King’ s death

หากแปลชื่อเรื่องภาษาอังกฤษของบทความฉบับดังกล่าวเป็นภาษาไทย อาจแปลได้ว่า ผู้นำไทยที่ถูกขับออกจากตำแหน่ง ทักษิณ ชินวัตร เรียกหายุคใหม่ที่ เรืองรองหลังการสวรรคตของกษัตริย์

ข้อความที่เป็นชื่อเรื่องภาษาอังกฤษดังกล่าวเป็นผลงานเชิงนวตกรรมภาษาเขียนในการทำงานสื่อสารมวลชนของ ริชาร์ด แพร์รี่ ข้อความอันเป็นผลงานเชิงภาษาเขียนดังกล่าวของแพร์รี่ใช้ประโยชน์จาก วัตถุดิบข่าวสารข้อมูล อะไรบ้าง ?

หากนำข้อความที่เป็น ชื่อบทความของริชาร์ด แพร์รี่ (หรือที่มีผู้ใช้คำเรียก ชื่อบทความดังกล่าวว่า พาดหัวข่าว) มาวิเคราะห์ แยกแยะ แจกแจง อย่างละเอียด จะพบว่าเนื้อหาภายในชื่อบทความ (หรือ พาดหัวข่าว) ข้างต้นเป็นประโยคเชิงซ้อน ๑ ประโยค ที่มีข้อความย่อย ๒ ข้อความประกอบเชื่อมโยงเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ (๑) (ทักษิณ ชินวัตร เป็น) ผู้นำไทยที่ถูกขับออกจากตำแหน่ และ (๒) ทักษิณ ชินวัตร เรียกหายุคใหม่ที่ เรืองรองหลังการสวรรคตของกษัตริย์

เมื่อแยกแยะเห็นข้อความย่อยที่นำมาประกอบเชื่อมโยงเป็นประโยคเชิงซ้อน ๑ ประโยคที่แพร์รี่ใช้เป็น พาดหัวข่าว หรือ ชื่อบทความ ขนาดสั้นของตน (เป็นบทความขนาดสั้น เพราะมีการตัดต่อและตัดทิ้งคำสัมภาษณ์จริงของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ออกไปเป็นจำนวนมาก แล้วแต่งเติมถ้อยคำของผู้สื่อข่าว คือ ถ้อยคำของริชาร์ด แพร์รี่เองเข้าไปในบทความที่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้ายกับว่าเป็นคำพูดของพ.ต.ท. ทักษิณทั้งหมด) เราสามารถจะเห็น ความผิดปกติ ในการทำงานของสื่อสารมวลชนกรณีนี้ได้ชัดเจนขึ้นเล็กน้อย ดังนี้ ;

(๑) ข้อความว่า ทักษิณ ชินวัตร (เป็น) ผู้นำไทยที่ถูกขับออกจากตำแหน่ง คือข้อความที่ตรงตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นความจริงที่รับรู้กันโดยทั่วไปมาตั้งแต่ก่อนการสัมภาษณ์พิเศษครั้งดังกล่าวแล้ว แพร์รี่ใช้ข้อความที่เป็นจริงนี้ในชื่อบทความของตนได้ โดยไม่ขัดแย้งกับความเป็นจริง และโดยไม่ขัดหลักจริยธรรมหรือขัดจรรยาบรรณนักสื่อสารมวลชนแต่อย่างใด (นอกจากนั้นนักสื่อสารมวลชน หรือแม้แต่สาธารณชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ใครก็อาจใช้ข้อความเดียวกันนี้ได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเนื้อหาถ้อยคำใด ๆ เป็นวัตถุดิบเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อีกแต่ประการใด)

(๒) ข้อความว่า ทักษิณ ชินวัตร เรียกหายุคใหม่ที่ เรืองรองหลังการสวรรคตของกษัตริย์ ไม่มีปรากฏอยู่ในบันเสียงเสียงคำสัมภาษณ์ส่วนใดเลยว่า พ.ต.ท. ทักษิณ พูดในการให้สัมภาษณ์ครั้งดังกล่าวว่า ตนเองเรียกหายุคใหม่หลังการสวรรคตของพระมหากษัตริย์

สำนักข่าวเดอะไทม์ ถูกเรียกร้องให้เปิดเผยข้อความเต็ม ตามลำดับคำพูดจริง จากรายงานการถอดคำสัมภาษณ์ ฉบับสมบูรณ์ ครั้งดังกล่าวหลังจากที่แพร์รี่ได้นำเสนอ บทความขนาดสั้น ที่เป็นปัญหาฉบับดังกล่าวของตนออกสู่การรับรู้ของสาธารณชนแล้วไม่กี่วัน ซึ่งเว็บไซต์ TIMEONLINE ได้นำเสนอรายงานบทสัมภาษณ์ที่เดอะไทม์ระบุว่าเป็น Full Transcript(ฉบับเต็ม) แม้ว่าสำนักข่าวเดอะไทม์จะยืนยันว่าพ.ต.ท. ทักษิณ พูดเองทุกถ้อยคำที่ปรากฏในรายงานบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มดังกล่าว (พ.ต.ท. ทักษิณ มิได้โต้แย้งเรื่องนี้ซึ่งอาจเป็นเพราะทุกถ้อยคำที่พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าวถึง สถาบันกษัตริย์และราชวงศ์ มีแต่ถ้อยคำแสดงความจงรักภักดี เชิดชู ยกย่อง) แต่สำนักข่าวเดอะไทม์ไม่กล้าใช้ พาดหัวข่าว จากบทความฉบับสั้นของแพร์รี่มารายงานซ้ำว่าพ.ต.ท. ทักษิณพูดถึง การสวรรคตของกษัตริย์ หรือมายืนยันว่า ทักษิณ ชินวัตรเรียกหายุคใหม่ที่เรืองรองหลังการสวรรคตของกษัตริย์ ตามที่เคยใช้เป็น พาดหัวข่าว ในบทความชิ้นแรกของแพร์รี่อีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อความดังกล่าวในการตั้งชื่อ พาดหัวข่าว รายงานการสัมภาษณ์ฉบับเต็ม หรือในเนื้อหาคำสัมภาษณ์ ฉบับเต็ม ดังกล่าว

เนื้อหาที่เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดในรายงานบทสัมภาษณ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ฉบับเต็ม ไม่ปรากฏว่ามีคำพูดใดของ พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าวว่า “after King’s death” (หลังการสวรรคตของกษัตริย์) เลยแม้แต่ครั้งเดียว

การผูกโยงแต่งเติมของแพร์รี่

(๑) คำว่า เรืองรอง (shining)

ริชาร์ด แพร์รี่ นำเอาคำว่า “shining” (เรืองรอง) มาจากคำพูดที่พ.ต.ท. ทักษิณ ตอบคำถามที่แพร์รี่ตั้งขึ้นถามพาดพิงถึงสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารฯ ว่า พระองค์ท่านมีพระราชประสงค์อะไร ?” (What does he want to achieve ?) ซึ่ง พ.ต.ท. ทักษิณ ตอบว่า ;

พระองค์ท่านยังไม่เป็นกษัตริย์ พระองค์ท่านจึงอาจยังไม่เรืองรองขณะนี้ แต่ภายหลังพระองค์เป็นกษัตริย์ ผมมั่นใจว่าพระองค์ท่านสามารถเรืองรองในการเป็นพระมหากษัตริย์ เพราะพระองค์ท่านได้สังเกตในหลวงฯ พระราชบิดาของพระองค์ท่าน มาเป็นเวลาอันยาวนานหลายปี พระองค์ท่านเรียนรู้เป็นอันมากจากในหลวงฯ ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาของพระองค์ท่าน แต่เมื่อเวลามาถึง ผมคิดว่าพระองค์ท่านจะทรงสามารถปฏิบัติ <!--[if !supportFootnotes]-->[2]<!--[endif]-->

(๒) คำว่า ยุคใหม่ (new age)

ริชาร์ด แพร์รี่ นำคำว่า “new age” (ยุคใหม่) มาจากถ้อยคำสัมภาษณ์ส่วนใด ?

ในรายงานบทสัมภาษณ์ฉบับเต็มไม่ปรากฏคำพูดว่า “new age” ที่เป็นคำพูดของพ.ต.ท. ทักษิณเลยแม้แต่ครั้งเดียว ดังนั้นในการให้สัมภาษณ์จริงของพ.ต.ท. ทักษิณเองจึงไม่ปรากฏว่ามีหรือไม่สามารถจะมีคำพูดว่า new ageเชื่อมโยงกับคำว่า หลังการสวรรคตของกษัตริย์ (ซึ่งก็ไม่มีอยู่ในคำพูดของพ.ต.ท. ทักษิณเช่นกัน) ตามที่แพร์รี่เอามาเขียนใน พาดหัวข่าว ของตนได้เลย

ริชาร์ด แพร์รี่ ปรุงแต่งคำว่า “new age” ขึ้นใช้ใน พาดหัวข่าว ของตนโดยการผสมคำว่า “new” ซึ่งปรากฏเป็นคำพูดของ พ.ต.ท. ทักษิณ จริงหลายครั้ง ผูกโยงผสมเข้ากับคำว่า “age” ซึ่งไม่มีในบทสัมภาษณ์ แต่แพร์รี่เขียนเพิ่มเติมเข้ามาเอง กลายเป็นคำว่า new age แทรกอยู่ภายในข้อความรวมของ พาดหัวข่าวที่มีผลทางจิตวิทยาการเมืองทำให้ผู้อ่านบทความของแพร์รี่เกิดความคิด ความเห็น ความรู้สึกไปในทางอัปมงคลต่อ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ตัวอย่างการพูดว่า new(ไม่ใช่new age) โดย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ในข้อความที่ตอบคำถามเกี่ยวข้องกับราชวงศ์ไทยเป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฏราชกุมารฯ เช่น ;

ริชาร์ด แพร์รี่ ถาม : วันหนึ่งมกุฏราชกุมารจะเป็นกษัตริย์ สไตล์ของพระองค์ท่านจะแตกต่างจากกษัตริย์องค์ปัจจุบันอย่างไร ?

พ.ต.ท. ทักษิณ ตอบ : อาจจะแตกต่าง แต่ผมคิดว่าจะราบรื่นเพราะพระองค์จะทรงเป็นพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญ ข้าราชบริพารแวดล้อมมกุฏราชกุมารจะใหม่ และแวดวงข้าราชบริพารจะไม่ใหญ่โตขนาดนั้นเพราะพระองค์จะทรงใหม่ (It may be different, but I think it will go smoothly because he’s a constitutional monarch. The people around the Crown Prince will be new, and the palace circle will not be that big because he will be new)

หรืออีกตัวอย่างหนึ่งในคำถาม/คำตอบถัดมาว่า ;

ริชาร์ด แพร์รี่ ถาม : คุณจะบรรยายบุคคลิกของมกุฏราชกุมารอย่างไร

พ.ต.ท. ทักษิณ ตอบ : พระองค์ท่านเป็นคนรุ่นใหม่ขึ้น ทันสมัย (He’s the newer generation, modern)

(๓) คำว่า หลังการสวรรคตของกษัตริย์ (after King’s death)

ผู้วิเคราะห์ได้นำเสนอคำอธิบายข้างต้นโดยแจกแจงให้เห็นว่า ริชาร์ด แพร์รี่ นำเอาคำว่า shiningและคำว่า new ageมาจากคำสัมภาษณ์ส่วนไหน และแต่งเติมคำของตนเพิ่มเข้าไปอย่างไร ประเด็นข้อความสำคัญส่วนสุดท้ายใน พาดหัวข่าว ดังกล่าว คือ ริชาร์ด แพร์รี่ นำเอาคำว่า after King’ s deathมาจากคำสัมภาษณ์ส่วนใดของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ?

คำตอบ คือ ริชาร์ด แพร์รี่ นำคำว่า “after King’s death” มาจากจินตนาการของตนเอง และไม่มีคำนี้ปรากฏอยู่ในคำพูดที่พ.ต.ท. ทักษิณ กล่าวให้สัมภาษณ์แต่ประการใด

ดังนั้น ข้อความใน พาดหัวข่าว ของ ริชาร์ด แพร์รี่ ส่วนที่เขียนว่า “Thaksin Shinawatra calls for ‘shining’ new age after King’s death” จึงมีสภาวะทางข่าวสารมวลชนเป็น (๑) ข้อความที่แพร์รี่ผูกโยง แต่งเติม ขึ้นเอง และ (๒) เป็น ข้อความเท็จ ที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง ทันที ต่อตัวพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และยังอาจส่งผลเป็นความเสียหายร้ายแรง ในอนาคต ต่อสวัสดิภาพชีวิตและร่างกายของประชาชนชาวไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ต่อต้านความไม่เป็นธรรมทุกรูปแบบจากการใช้อำนาจของ ระบอบคณาธิปไตย ในการเมืองไทยปัจจุบัน รวมทั้งเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามโดยสุจริตและโดยสันติวิธีของปวงชนชาวไทยในการฟื้นฟูบูรณะ การเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้คืนสู่สังคมไทยภายหลังการทำลายครั้งใหญ่โดยการรัฐประหารวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙

บทความของแพร์รี่ดังกล่าวใช้ชื่อเรื่องเป็นภาษาอังกฤษตามที่ปรากฏใน TIMEONLINE ว่า Ousted Thai leader Thaksin Shinawatra calls for ‘shining’ new age after King’ s death เป็นบทความขนาดสั้นที่ก่อให้เกิดประเด็นปัญหากระทบสถาบันกษัตริย์ของไทย

การพูดคำว่า เรืองรอง (shining) ของพ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความเชื่อมโยงใด ๆ กับคำว่า “after King’s death” ตามที่ปรากฏอยู่ในชื่อ บทความขนาดสั้น ฉบับดังกล่าวของแพร์รี่เลย

หลังจากมีการเผยแพร่บทความของแพร์รี่ ปรากฏว่ามีผู้ไปแจ้งความดำเนินคดีกล่าวหา พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ว่าให้สัมภาษณ์เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยอ้างใช้ข้อความ บางส่วน ในรายงานบทสัมภาษณ์ของสำนักข่าว เดอะไทม์ เป็นประโยชน์ในการตั้งข้อกล่าวหา ผู้เดินทางไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน (ตำรวจ) ดังกล่าวเป็นคนไทย เป็นกลุ่มบุคคลนอกสถาบันกษัตริย์ และเป็นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ขณะนี้ผู้เขียนกำลังรวบรวมข้อมูล ศึกษา และพิจารณาการอ้างใช้ข้อความจากบทสัมภาษณ์ดังกล่าวว่ามีการบิดเบือนหรือแต่งเติมเพื่อกล่าวหาผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรมหรือไม่ การดำเนินการของผู้เขียนเป็นอิสระ เพื่อประโยชน์ทั้งทางวิชาการและประโยชน์ในการแสวงหาความเป็นธรรมทางสังคมสำหรับทุกฝ่ายเท่าที่ความรู้สามารถของผู้เขียน(อันมีอยู่อย่างจำกัด)จะกระทำเป็นการ ตอบแทนแผ่นดิน ได้ ทั้งนี้หากประชาสังคมไทยเห็นภยันตรายของการบิดเบือนกล่าวหาผู้อื่นว่า ไม่จงรักภักดี (ทั้ง ๆ ที่ไม่มีการกระทำผิดเช่นนั้นเกิดขึ้นจริง) อาจช่วยกันติดตามตรวจสอบ ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือดำเนิน การสื่อสารมวลชนเชิงสร้างสรรค์ (แทนที่จะมุ่งใช้ สื่อสารมวลชนแนวทางทำลาย) รวมทั้งการให้ บทเรียนภาคปฏิบัติ แก่กลุ่มบุคคลผู้มุ่งทำร้ายผู้อื่นด้วยการใส่ความข้อหา ไม่จงรักภักดี ก็น่าจะเป็นแนวทางสันติวิธีอีกรูปแบบหนึ่งในการฟื้นฟูภาวะนิติรัฐนิติธรรมในสังคมไทยต่อไป