WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 15, 2008

ศาลไม่รับพิจารณาหวยบนดิน คตส.ที่มาไม่ชัด-ส่อขัดรธน.50

ศาลฎีกากังขาอำนาจ คตส. ไม่รับพิจารณาคดีหวยบนดิน ชี้สถานะยังไม่ชัดเจน ส่งศาล รธน. วินิจฉัย 2 ประเด็นขัด รธน.50 หรือไม่ ขณะที่ 3 รมต. “นพ.สุรพงษ์ – อนุรักษ์ – อุไรวรรณ” โล่งใจทำงานต่อได้ ด้าน นักกฎหมาย จี้ คตส. ยุติบทบาท ระบุเป็นองค์กรในยุคเผด็จการ ไม่มีอำนาจใช้ ก.ม.โจรกบฏ แล้ว ขณะที่ คตส. ประสานเสียงไม่สนความเห็นศาล ยังเดินหน้าใช้อำนาจมิชอบทำงานต่อไป

ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีการออกสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว หรือหวยบนดิน ตามที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทั้งคณะ ประธานคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ปลัดกระทรวงการคลัง กรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล และ ผอ.สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในขณะนั้น กับพวกรวม 47 คน เป็นจำเลย โดยร่วมกันมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2546 ให้ดำเนินโครงการออกสลากพิเศษ ตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2546 ถึง 26 พฤศจิกายน 2549 พร้อมเรียกค่าเสียหายกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่ง คตส.ได้ยื่นฟ้องไปเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ ศาลฎีกา ไม่รับพิจารณาคดีนี้ โดยให้เหตุผลว่า การแต่งตั้งคณะกรรมการ คตส. ตามประกาศคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) คปค.ไม่มีความชัดเจน ว่ามีอำนาจในการส่งเรื่องฟ้องศาลฎีกาหรือไม่ ดังนั้น จึงมีคำสั่งส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใน 2 ประเด็น คือ 1.ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐที่แต่งตั้ง คตส. ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 หรือไม่ และ 2. พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ซึ่งออกโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาจติ (สนช.) เพื่อต่ออายุ คตส.ไปอีก 90 วันจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ปี 2550 หรือไม่

หากภายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว ศาลฎีกาฯ จะมีคำสั่งต่อไปว่าจะประทับรับฟ้องคดีนี้ไว้เพื่อมีคำพิพากษาหรือไม่ อย่างไรก็ดี คดีนี้ถือเป็นคดีแรกที่ คตส. ยื่นฟ้องศาล และศาลยังไม่รับพิจารณา (รายละเอียด หน้า 2)

สำหรับการไม่ประทับรับฟ้องในครั้งนี้ ส่งผลให้รัฐมนตรี 3 คนในรัฐบาลชุดนี้คือ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง นายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน ที่โดนฟ้องในคดีดังกล่าว ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้

ในส่วนของนักวิชาการทางด้านกฎหมายได้แสดงความเห็นในเรื่องนี้อย่างน่าสนใจ โดย นายคณิน บุญสุวรรณ อดีต สสร.และนักกฎหมาย ให้สัมภาษณ์โดยตั้งข้อสังเกตว่า การตั้ง คตส. เป็นการตั้งทีมเฉพาะกิจเพื่อเช็กบิลรัฐบาลเก่า คตส. เกิดขึ้นจากคณะปฏิวัติที่ตั้งขึ้นมาเพื่อตรวจสอบความเสียหายในรัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี

โดยมอบอำนาจให้ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ให้อาศัยอำนาจของ ป.ป.ช. (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ) เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ 19 กันยายน 2549 ถึงกันยายน 2550 ซึ่งทาง คตส. ได้ตรวจสอบในทุกเรื่อง แต่เมื่อถึงจุดสิ้นสุดอำนาจครบกำหนดเวลาแล้ว กลับยังไม่มีเรื่องใดที่สำเร็จลุล่วง ดังนั้น คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) จึงแก้ไขโดยการออกกฎหมายต่ออายุให้ คตส. มีอำนาจยาวมาจนถึง 30 มิถุนายน 2551 อีกทั้งยังมี มาตรา 309 ในบทเฉพาะกาลให้ความคุ้มครองเป็นยันต์กันภัยอีก

อดีต สสร. ผู้นี้ กล่าวต่อว่า ถ้ามองในแง่ของหลักนิติธรรม ศาลต้องพิจารณาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว ซึ่งกรณีดังกล่าวได้ข้อสรุปที่แสดงให้เห็นว่า คตส. หมดวาระหน้าที่ไปตั้งนานแล้ว แต่ยังยึดติดกับคำสั่งที่ต้องปฏิบัติตาม หลังจากเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญให้มีผลบังคับใช้เสร็จสิ้นแล้ว ต้องถือว่าสูงสุดและใหญ่กว่าประกาศของ คมช.

“ในช่วงนั้น คตส. เปรียบเสมือนเจ้าไม่มีศาล ไม่ถือว่าเป็นองค์กรและไม่มีใครรับรอง สมควรต้องไปได้แล้ว ต้องหยุด มัวแต่ยึดติดกับคำสั่งจนทำให้มองข้ามข้อกฎหมาย คตส. ก็มีนักกฎหมายอยู่ตั้งหลายคนน่าจะรู้ในข้อนี้ดีอยู่แล้ว ผมอยากแนะนำ คตส.ว่าควรส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ อีกทั้งยังป้องกันมิให้เกิดข้อครหากับทางศาลฎีกาว่าเป็นการเข้าข้างฝ่ายใด” อดีต สสร. กล่าว

ด้าน นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เห็นเช่นเดียวกันว่า คตส. เกิดขึ้นจากอำนาจโจรกบฏ เรื่องนี้ถ้าจะให้จบเห็นควรที่จะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ โดยเฉพาะกฎหมายที่ คตส. อ้างในอำนาจมาใช้ในการตรวจสอบนั้นเป็น โจรกบฏ หรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่า ศาลฎีกามีความเห็นออกมาเช่นนี้ถูกต้องแล้ว เพราะถ้าหากรับพิจารณาเรื่องนี้แล้ว จะให้อาศัยอำนาจตัวบทกฎหมายใด

“เรื่องนี้ถูกปล่อยมานานแล้ว จึงควรจะทำให้ชัดเจน โดยเฉพาะอำนาจของ คตส. ที่เกิดจากเผด็จการ เป็นโจรกบฏ เมื่อเป็นโจรแล้วจะมีอำนาจไปตรวจสอบใครได้อย่างไร และถ้าหากถ้ามีการอ้างถึง รธน.50 ก็ต้องบอกว่ามาจากหัวหน้าคณะปฏิวัติ หรือหากศาลรับเรื่องนี้ก็เท่ากับรับในอำนาจเผด็จการ ซึ่งเท่ากับบกพร่องต่ออำนาจหน้าที่ และถือว่ามีความผิดเช่นกัน” อดีตหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ให้ความเห็น

ส่วน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง กล่าวในเรื่องนี้ว่า ถือว่าศาลได้ให้ความเป็นธรรมอย่างมากและเป็นเรื่องที่ชอบแล้ว ทำให้ตนมีเวลาทำงานได้มากขึ้น และไม่ได้มีผลกดดันกับการทำงานในช่วงต่อจากนี้ ส่วนโครงการสลากพิเศษเลขท้าย 2 ตัว และ 3 ตัวนั้น จะขอหารือกับสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อน เพราะหลังจากที่รัฐบาลยกเลิกการออกหวยบนดินได้ทำให้มีเม็ดเงินกลับลงไปที่หวยใต้ดิน ซึ่งเห็นว่าควรจะดึงเม็ดเงินในส่วนนี้กลับมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ

ในขณะเดียวกัน นายแก้วสรร อติโพธิ เลขานุการ คตส. กล่าวในเรื่องเดียวกันว่า ไม่เคยเห็นกฎหมายแบบนี้ คดียังไม่เข้าประตูศาล และศาลเองยังไม่ได้รับว่าจะรับฟัองหรือไม่ แล้วจะยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อย่างไร อย่างไรก็ดี คตส.จะไม่ทำอะไรและคงไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของ คตส. พร้อมระบุถึงขั้นตอนของ รธน.50 มาตรา 211 ที่บัญญัติว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด

ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นนั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ในระหว่างนั้นให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้ แต่ให้รอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

“ศาลฎีกามีอำนาจในการวินิจฉัย เมื่อวินิจฉัยอะไรก็เป็นไปตามนั้น ผมเคารพการวินิจฉัยของศาลฎีกา เพียงแต่ คตส.ไม่คาดคิดว่าจะออกมาอย่างนี้ เพราะนึกว่าจะยื่นเรื่องว่าขัด รธน.ได้เมื่อทั้งหมดตกเป็นจำเลยแล้ว คตส.ก็คงไม่ต่อสู้อะไร เพราะยังไม่มีใครบอกว่า คตส. ใช้อำนาจไม่ถูก แต่บอกว่ากฎหมายไม่ถูก แต่ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่รับก็จะยุ่งกันไปใหญ่” นายแก้วสรร กล่าว

ด้าน นายสัก กอแสงเรือง โฆษก คตส. คตส. เห็นว่าเป็นอำนาจโดยอิสระของศาล ซึ่ง คตส. ต้องเคารพความเห็นของศาล และต้องรอฟังคำวินิจฉัย ในส่วนของการทำหน้าที่คงต้องดำเนินต่อไป เพราะไม่สามารถรอได้ และยืนยันไม่หวั่นไหวใดๆ ทั้งสิ้น

ขณะที่ นายนาม ยิ้มแย้ม ประธาน คตส. กล่าวเช่นกันว่า ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล แต่ไม่มั่นใจว่า อีกหลายคดีที่ คตส.จะสั่งฟ้องต่อศาลจะมีลักษณะเดียวกันนี้อีกหรือไม่