WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, May 17, 2008

“หมอเลี้ยบ”ขึ้นค่าครองชีพรัฐวิสาหกิจ หอการค้าชี้แค่มาตรการพยุงระยะสั้น

ขุนคลังเล็งขึ้นค่าครองชีพลูกจ้างชั่วคราว พนักงานรัฐวิสาหกิจ 6% เท่ากับข้าราชการ ด้าน ม.หอการค้าไทย คาดราคาน้ำมันโลก

เฉลี่ยปีนี้ 110-120 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่งผลให้ขายปลีกในประเทศคาดอยู่ที่ 38-43 บาท/ลิตร ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับ

เศรษฐกิจไทยประจำเดือนเมษายน 2551 โดยรวมอยู่ที่ 73.0 ลดลงจาก 73.8 ในเดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ

สูงขึ้น ชี้การขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการแค่มาตรการพยุงระยะสั้น แนะรัฐควบคุมราคาสินค้าไม่ให้แพงมากไปกว่านี้

นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจากที่รัฐบาลได้เพิ่มค่าครองชีพให้

กับข้าราชการระดับล่างไปแล้ว 6% ในเดือนนี้ ขณะนี้ได้เตรียมปรับค่าครองชีพให้กับพนักงานหน่วยงานรัฐวิสาหกิจในอัตราเดียว

กับข้าราชการ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งลูกจ้างชั่วคราวที่ใช้เงินนอกงบประมาณก็จะได้รับประโยชน์

จากการปรับค่าครองชีพในครั้งนี้ด้วย
ทั้งนี้ภาคเอกชนก็น่าจะใช้แนวทางเดียวกัน แต่ในส่วนเอกชนรัฐบาลคงไปกำหนดไม่ได้ และหากมีการปรับเพิ่มค่าครองชีพ คน

มีรายได้เพิ่มขึ้นก็จะช่วยให้ยอดหนี้ครัวเรือนลดลงได้
นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) และเลขานุการ ครส. กล่าวว่า จนถึงขณะนี้

ยังไม่มีรัฐวิสาหกิจใดเสนอปรับบัญชีเงินเดือนพนักงาน แต่สิ่งที่เป็นห่วงขณะนี้คือ ลูกจ้างบริษัท หรือสถานประกอบการเอกชน

ซึ่งมีอยู่ราว 7 ล้านคน และไม่ใช่แรงงานที่กินค่าจ้างขั้นต่ำ ควรได้รับการปรับค่าตอบแทนให้เหมาะสม
“เพราะขณะนี้ค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีผลต่อลูกจ้างมาก ดังนั้นเจ้าของสถานประกอบการควรดูแลในส่วนนี้ด้วย รวมถึงเรื่อง

สวัสดิการต่างๆ นอกจากค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่พัก ค่าอาหาร”
ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอ

การค้าไทย เปิดเผยว่า คาดว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 110-120 ดอลลาร์/บาร์เรล แม้ว่าในช่วงนี้ราคาน้ำมันจะมีการ

ปรับเพิ่มขึ้นสูงกว่าระดับ 120 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว แต่ในช่วงตั้งแต่ปลายไตรมาส 2 ถึงไตรมาส 3 เป็นช่วงที่มีความต้องการใช้

น้ำมันไม่มาก ก็จะส่งผลให้ราคาน้ำมันมีการปรับลดลงมาบ้าง
คาดว่าในช่วงไตรมาส 3 ราคาน้ำมันน่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 120 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนไตรมาส 4 คาดว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ

ประมาณ 110-120 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งจะส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเฉลี่ยปีนี้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 38-43 บาท/ลิตร

อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันในตลาดโลกเองอาจมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นไปถึงระดับ 150 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้ในช่วงปลายปี

ซึ่งเป็นผลมาจากซัพพลายในเรื่องการขุดเจาะน้ำมันยังมีไม่สูง แต่มีความต้องการใช้ค่อนข้างมากจากเศรษฐกิจของสหรัฐที่คาดว่า

จะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้ แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐนั้นก็น่าจะทำให้มีการเข้ามาลงทุนมากขึ้นในตลาดหุ้นสหรัฐ ส่งผล

ให้การเข้ามาเก็งกำไรในตลาดน้ำมันน้อยลง
ดังนั้น การปรับขึ้นลงของราคาน้ำมันจึงค่อนข้างที่จะคาดเดาได้ แต่ก็เชื่อว่าไตรมาส 4/2551 จะสามารถเห็นทิศทางของราคา

น้ำมันที่ชัดเจนได้
อย่างไรก็ตาม เห็นว่ารัฐบาลควรจะดูแลราคาพลังงานและราคาสินค้าไม่ให้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังต้องทำการเมือง

ให้นิ่ง เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นด้วย ส่วนการขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำและการเพิ่มเงินในหน่วยราชการ ถือเป็นการพยุงเศรษฐกิจได้ใน

ระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่รัฐบาลก็ควรจะเร่งดูแลเศรษฐกิจโดยรวม ด้วยการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ
ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน

เมษายน โดยดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวมเท่ากับ 73.0 ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ที่ 73.8 ดัชนีความเชื่อมั่นโอกาส

ในการหางานทำเท่ากับ 72.7 ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ที่ 73.5
และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตเท่ากับ 94.0 ลดลงจากเดือนมีนาคม ซึ่งอยู่ที่ 94.6 ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นทุกรายการ

ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคยังขาดความเชื่อมั่น จากผลกระทบด้านจิตวิทยาและผลกระทบทางตรง

จากราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ดัชนีความเชื่อมั่นที่อยู่ระดับต่ำกว่า 100 ชี้ให้เห็นว่าผู้บริโภคไม่มั่นใจกับระบบเศรษฐกิจ และมีความกังวลเรื่องเสถียรภาพ

ทางการเมือง ปัญหาซับไพรม์ในสหรัฐ และค่าเงินที่ไม่มีเสถียรภาพ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกกับความเชื่อมั่น ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ การคงอัตราดอกเบี้ยน