WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 13, 2008

จุดยืนและลักษณะพรรคประชาธิปัตย์

หลังจากเคยแสดงความคิดเห็นต่อพรรคประชาธิปัตย์ในคอลัมน์นี้มาบ้าง วันนี้ขอพูดถึงจุดยืนและลักษณะพรรคการเมืองเก่าแก่นี้ ซึ่งมีปัญหาค่อนข้างมากในปัจจุบัน ซึ่งจะชี้ให้เห็นดังต่อไปนี้

ก่อนอื่นผมใคร่เสนอความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของพรรคการเมืองว่า เป็นอย่างไร ในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์ พรรคการเมืองไม่ว่าจะมีอุดมการณ์ใด อนุรักษนิยม เสรีนิยม ก้าวหน้า สังคมประชาธิปไตย ชาตินิยม ศาสนานิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ฯลฯ ย่อมมีลักษณะพรรคไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง เป็นพรรคของผู้นำ พรรคของผู้ปฏิบัติงาน หรือพรรคของมวลชน (สมาชิก) เป็นพรรครัฐบาล หรือพรรคฝ่ายค้าน เป็นพรรคระดับชาติ หรือท้องถิ่น ลักษณะพรรคดังกล่าว เป็นตัวกำหนดให้พรรคแสดงจุดยืน ทรรศนะ ท่าที และการดำเนินงานการเมืองแตกต่างกัน พรรคประชาธิปัตย์ปัจจุบันมีลักษณะพรรคสำคัญ เป็นพรรคฝ่ายค้าน (แล้วก็เกือบเป็นพรรคท้องถิ่น)

พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในปัจจุบัน เคยมีประวัติเป็นพรรคฝ่ายค้านที่แข็งแกร่งในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ.2491-2500) และสมัย จอมพลถนอม กิตติขจร (2512-2514) เป็นพรรคต่อต้านเผด็จการ มีลักษณะพรรคฝ่ายค้านที่ดี จนชาวใต้ส่วนใหญ่หลงรักมาถึงทุกวันนี้

แต่เมื่อได้เป็นรัฐบาลหลังกรณี 14 ตุลาคม 2516 และก่อน 6 ตุลาคม 2519 และต่อมา ร่วมเป็นรัฐบาลสมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หลายปี ทำให้พรรคนี้สูญเสียลักษณะพรรคฝ่ายค้านไปหลายประการ ยิ่งได้เป็นรัฐบาลอีก 2 ครั้งภายหลังกรณีพฤษภาคม 2535 พอมาเป็นฝ่ายค้านสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร พรรคประชาธิปัตย์กลายเป็นฝ่ายค้านที่ไม่มีหลักการ ไปพูด ทำ อย่างไรก็ได้ เพื่อลดความน่าเชื่อถือของนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร และทำลายพรรคไทยรักไทย

เริ่มเห็นชัดที่สุด ในช่วงที่เกิดขบวนการ สนธิ ลิ้มทองกุล ต่อมาพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมเดินขบวนขับไล่นายกรัฐมนตรีทักษิณ พรรคประชาธิปัตย์ นอกจากจะแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเหมือนกับพันธมิตรฯ สมาชิกทุกระดับตั้งแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคนเข้าร่วมการชุมนุม ต่อมาพรรคนี้มีมติเรียกร้องมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญ 2540 เพื่อขอพระราชทานนายกรัฐมนตรี จนมีคนเติมชื่อเล่นหัวหน้าพรรค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ว่า มาร์ค ม.7 เมื่อมีการยุบสภาในปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2549 พรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับพรรคฝ่ายค้านอีก 2 พรรค ชาติไทย และมหาชน บอยคอตการเลือกตั้ง 2 เมษายน ไม่ส่งสมาชิกลงสมัครรับเลือกตั้ง

แม้ว่าการบอยคอตการเลือกตั้งจะเป็นยุทธวิธีอย่างหนึ่งของพรรคการเมือง ซึ่งเคยเกิดขึ้นในหลายประเทศ แต่ในประเทศอื่น พรรคการเมืองที่บอยคอตการเลือกตั้ง นอกจากไม่ส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้งแล้ว ยังต้องเรียกร้องประชาชนมิให้ไปออกเสียงเลือกตั้ง พรรคฝ่ายค้านไทยบอยคอตเพียงครึ่งเดียว เพราะยังระดมคนให้ไปออกเสียง “ไม่เลือก” หรือ vote no เพื่อไม่ให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคไทยรักไทยในแต่ละเขตได้คะแนนเสียงเกิน 20 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะพรรคฝ่ายค้านของประชาธิปัตย์เปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพราะไปเห็นด้วยกับรัฐประหาร และสนับสนุนระบอบเผด็จการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เราจะได้ยินได้ฟัง ได้เห็นการแสดงความคิดเห็น ท่าทีทางการเมืองของพรรคนี้ตั้งแต่ประธานที่ปรึกษา หัวหน้าพรรค เลขาธิการ โฆษก และกรรมการพรรคคนอื่นเรียงหน้าออกมาประสานเสียงหรือสนับสนุน คมช. และรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลายครั้ง พวกเขาเรียกร้องให้ คมช. และรัฐบาลปราบปรามประชาชนผู้รักประชาธิปไตยที่ออกมาต่อต้านรัฐประหารและระบอบเผด็จการ สมาชิกระดับนำคนหนึ่งไปเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จุดยืนและท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์คราวนี้ ช่างเหมือนกับหลังรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 แตกต่างกันแต่คราวนั้นเป้าโจมตีอยู่ที่ ท่านปรีดี พนมยงค์ และกลุ่มการเมืองรอบข้าง มิใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพรรคไทยรักไทย

ครั้นมาเป็นฝ่ายค้านจริงๆ เพราะแพ้การเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม 2550 อย่างยับเยิน ทั้งๆ ที่ คมช. รัฐบาล พันธมิตรฯ และสื่อมวลชนทำคะแนนให้ทุกวิถีทาง พรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้เป็นพรรคฝ่ายค้าน พยายามแข่งตั้งรัฐบาลอย่างหน้าด้าน สุดท้ายก็ต้องเป็นพรรคฝ่ายค้าน แล้วก็เป็นพรรคเดียว 3 เดือนที่ผ่านมา พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำหน้าที่พรรคฝ่ายค้านที่มีหลักการตามระบบรัฐสภา เพราะยังร้องเพลงเดียว เล่นลูก รับลูกของพันธมิตรฯ และกลุ่มการเมืองนอกสภา โดยเฉพาะกับพันธมิตรฯ สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส. ของพรรคยังเป็นแกนนำของพันธมิตรฯ ขึ้นเวทีทุกครั้งเรียกร้องให้คนออกมาขับไล่รัฐบาลกันอีก และที่สำคัญ พรรคนี้กำลังใช้ยุทธวิธีเก่าแก่ที่ตนถนัด คือ การหาว่าคู่แข่งทางการเมืองไม่จงรักภักดีสถาบันพระมหากษัตริย์

ความจริง การเป็นฝ่ายค้านในสภาไม่ว่าพรรคนั้นๆ จะมีอุดมการณ์ใด มีบทบาททางการเมืองที่สำคัญ เพราะคอยคัดค้าน โต้แย้ง ท้วงติง และตรวจสอบการบริหารประเทศของพรรครัฐบาล กล่าวสำหรับในประเทศไทย หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านใหญ่ในสภาผู้แทนราษฎร จะเป็นผู้นำฝ่ายค้าน ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ พรรคประชาธิปัตย์น่าจะพอใจในฐานะของตน ทำหน้าที่ฝ่ายค้านได้ดีมากเท่าไร เข้มแข็งมากเท่าใด ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ต่อประเทศชาติ และต่อการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยให้มั่นคงมากเท่านั้น

จรัล ดิษฐาอภิชัย