WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 8, 2008

อนาถ!ตุลาเทียมขายตัวเผด็จการ (รายปักษ์) (ฉ.2)

เช้าวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่บริเวณอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516 ถนนราชดำเนินกลาง มีประชาชนและนักศึกษา ตลอดจนนักสู้เพื่อประชาธิปไตยจากเหตุการณ์ชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ต่างเดินทางมาร่วมงานรำลึกถึงการจากไปของผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ในครั้งนั้นจำนวนมาก

แห่ร่วมรำลึกวีรชน 14 ตุลาคับคั่ง
โดยตั้งแต่เวลา 07.00 น. ได้มีพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ จำนวน 35 รูป รวมถึงการวางพวงมาลาของตัวแทนองค์กรประชาธิปไตย และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

หลังจากนั้นในเวลาประมาณ 09.00 น. ได้มีพิธีกล่าวสดุดีวีรชน จากตัวแทนฝ่ายต่างๆ เช่น นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ ส.ส. สัดส่วนและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. นายสามารถ แก้วมีชัย ตัวแทนประธานสภา นายนิคม ไวรัชพานิช ตัวแทนประธานวุฒิสภา และตัวแทนญาติวีรชน ตัวแทนนิสิตนักศึกษา ร่วมกล่าวสดุดี

ขณะเดียวกันก็ได้มีการแสดงความคิดความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และการมองในเชิงเปรียบเทียบกับเหตุการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย เมื่อ 35 ปีที่ผ่านมา

อยากให้แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี
นพ.วิชัย โชควิวัฒน ประธานมูลนิธิ 14 ตุลา กล่าวว่า เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 คล้ายสถานการณ์การเมืองในปัจจุบันตรงที่ประชาชนตื่นตัวเรื่องประชาธิปไตย แต่ 14 ตุลา มีความชัดเจนว่า ประชาชนต่อสู้กับระบอบเผด็จการทหารที่มีการสืบทอดอำนาจมาหลังเปลี่ยนการปกครอง ขณะที่ปัจจุบันเป็นการต่อสู้เชิงความคิดและนามธรรม ซึ่งทางออกที่จะทำให้สังคมไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อเหมือน 14 ตุลา คือ ทุกฝ่ายต้องยึดแนวทางสันติวิธี

เช่นเดียวกับญาติผู้เสียชีวิต และวีรชน 14 ตุลา ที่อยากให้คนไทยมีสติ ใช้สันติวิธีแก้ปัญหา จะได้ไม่เกิดความสูญเสียเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม

การต่อสู้กับเผด็จการเปลี่ยนไป
นายปทุม เกิดศรี วีรชนประชาธิปไตยที่ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลา และได้รับบาดเจ็บเป็นอัมพาตช่วงล่าง เปรียบเทียบการชุมนุมทางการเมืองเมื่อเดือนตุลาคม 2516 กับการชุมนุมทางการเมืองขณะนี้ ว่ามีความแตกต่างกัน จุดมุ่งหมายของประชาชนเดือนตุลา นั้น เป็นการต่อสู้กับระบอบเผด็จการ แต่ปัจจุบันมีความแตกต่างทางความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับวิถีทางประชาธิปไตย

เช่นเดียวกับ นางสมสุข กรมศรีประเทศ ที่สูญเสียลูกชายในเหตุการณ์ 14 ตุลา และนางกิมเตีย ฤทธิวานิช ที่สูญเสียสามีในเหตุการณ์เดียวกัน โดยทั้งสองระบุว่า เป้าหมายในการเรียกร้องทางการเมืองของวีรชนประชาธิปไตย กับปัจจุบันนั้นไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม อยากให้ทุกฝ่ายยึดผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก

คว้ารองเท้าปรี่ตบหล่อเล็ก-หล่อใหญ่
ด้านนายสุขุมพงศ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังอยู่ในความทรงจำของคนไทย และส่งผลต่อการเมืองการปกครองไทยที่มีการปรับรูปแบบไปสู่ประชาธิปไตย แต่ปัจจุบันเกิดความแตกต่างทางความคิด ขอให้ทุกฝ่าย ยึดความสามัคคีและรู้จักการให้อภัยตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุการณ์ 14 ตุลา ผ่านมาแล้ว 35 ปี แต่สังคมไทยยังมีความอยุติธรรมอยู่ในระบบการเมือง ดังนั้นเจตนารมณ์วีรชน 14 ตุลา จะต้องได้รับการสานต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงเวลาประมาณ 9.30 น. ขณะที่พิธีกรดำเนินรายการ ได้มีหญิงวัยกลางคนซึ่งเป็นญาติวีรชน และมาร่วมงานเป็นประจำทุกปี เกิดโทสะได้ถอดรองเท้าและเดินปรี่เข้าไปหานายอภิรักษ์ และนายอภิสิทธิ์ ที่นั่งอยู่ใกล้กัน พร้อมกับชี้หน้านายอภิรักษ์ ว่าไม่ยอมอำนวยความสะดวกในการใช้รถสุขาให้กับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แต่กลับช่วยกลุ่มพันธมิตรฯ มากกว่า แต่สุดท้ายหญิงคนดังกล่าวได้ถูก รปภ.กันตัวออกไป โดยมีนางสุนีย์ ไชยรส มาคอยกันไว้

ผ่านมา 35 ปี กลับถูกฉุดให้ถอยกลัง
ด้าน นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ซึ่งไม่ได้ไปร่วมงานระบุว่าผู้จัดงานในปีนี้ เป็นผู้ที่ไม่ได้เชื่อถือหรือยึดมั่นในเจตนารมณ์ของ 14 ตุลา อยู่แล้ว การไปร่วมงานกับผู้ที่มีความเห็นตรงกันข้ามกับเจตนารมณ์ของ 14 ตุลา นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์แล้ว ยังจะเป็นการสร้างความสับสนให้กับสังคม ทั้งนี้เหตุการณ์นี้ผ่านมาถึง 35 ปีแล้ว แต่พบว่าเจตนารมณ์ยังไม่ปรากฏขึ้นจริง เพราะบ้านเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย และมีแนวโน้มที่จะถูกผลักดันให้ล้าหลังไปอีกมาก จนย้อนกลับไปก่อนปี พ.ศ.2475 เสียอีก

นายจาตุรนต์ กล่าวว่า เมื่อเกิดการต่อสู้ในวันที่ 14 ต.ค.2516 คือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย เคลื่อนไหวให้เศรษฐกิจพัฒนามากขึ้น แต่ขณะนี้การเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เผด็จการ มีแนวคิดตรงข้ามการเคลื่อนไหว 14 ต.ค.ชัดเจน เพราะมีแนวทางแบบอนาธิปไตยและคณาธิปไตย คือไม่มีความเคารพในกติกาทำให้บ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป ทำให้รัฐบาลใดๆไม่สามารถบริหารประเทศได้ คนไม่กี่คนสามารถกำหนดความเป็นไปของบ้านเมือง ชี้นำให้คนในสังคมต้องทำตาม และมีการใช้กำลังและมีอาวุธเข้าล้มล้างรัฐบาล ขัดขวางการทำงานของรัฐบาล และรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง มีการสร้างเงื่อนไข ที่จะทำให้เกิดความรุนแรง และใช้สถานการณ์เป็นข้ออ้างในการทำรัฐประหาร ล้มล้างรัฐธรรมนูญ

“จาตุรนต์”ปลุกต่านรัฐประหาร
นอกจากนี้การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯมีข้อเสนอการเมืองใหม่ ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย เป็นแนวทางที่ล้าหลังอย่างยิ่ง ไม่เคารพเชื่อถือในระบอบประชาธิปไตย ไม่เคารพ ดูถูกประชาชน โดยเรื่องการเมืองใหม่ ไม่มีทางปรากฏขึ้นได้ ยกเว้นจะเกิดการรัฐประหารขึ้นก่อน เพราะฉะนั้นพันธมิตรฯจึงสร้างเงื่อนไข ที่จะให้เกิดความรุนแรง เพื่อนำไปสู่การรัฐประหาร แต่มีคนอ้างว่าเป็นกลาง แสดงความเห็นว่าถ้านองเลือด ต้องมีนายกฯคนกลาง ซึ่งหมายถึงรัฐบาลนี้ต้องออกไป และฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นการเคลื่อนไหวอย่างล้าหลัง และคนในสังคมวิตกว่า วิกฤติที่เกิดจากการยึดทำเนียบฯ การบุกปิดรัฐสภา การจะไปล้มสถานที่ราชการ ล้วนเป็นเงื่อนไขที่ทำให้เกิดความรุนแรง และเป็นวิกฤติที่ให้กลไกตามระบอบประชาธิปไตยทไงานไม่ได้

นายจาตุรนต์ ยังเรียกร้องให้ทุกฝ่ายออกมาต่อต้านการรัฐประหาร ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เพราะจะทำให้ประเทศอ่อนแอ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ารัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ต้องแก้ไข เพราะฉะนั้นการตั้งส.ส.ร.3 ควนเดินหน้าต่อไป นอกจากนี้ต้องสร้างรัฐบาลและสภาให้เข้มแข็ง แต่ตตรวจสอบได้ และอำนาจตุลากร ควรเชื่อมโยงกับประชาชนให้มากขึ้น และตรวจสอบได้โดยประชาชน ลดบทบาทการของอำนาจตุลาการ เพราะตุลาการเข้ามาจัดการกับการเมืองมาก ทั้งที่ไม่ได้มาจากประชาชน แต่เข้ามาตัดสินฝ่ายบริหาร

“อดิศร”จวกคนเดือนตุลาลืมกำพืด
ด้านนายอดิศร เพียงเกษ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย และอดีตนักศึกษาในยุคเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย ช่วงปี 2516-2519 กล่าวถึงคนเดือนตุลาว่า วันนี้ทำให้ตนได้ทราบความจริงว่าคนเดือนตุลาคมบางคนเป็นอย่างไร ถือว่าเข้ากับสุภาษิตที่ระบุว่า ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ตอนนี้ชัดเจนแล้ว เพราะหลังจากเหตุการณ์ 19 กันยา ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญที่มาจากรัฐประหาร แต่กลับมีคนเดือนตุลาไปเห็นดีเห็นงามกับการปฏิวัติรัฐประหารซึ่งผิดจากอุดมการณ์เดิมที่ต่อสู้เพื่อรักษาประชาธิปไตย

นายอดิศร กล่าวว่า คนเดือนตุลาที่ไปรวมหัวกันต่อต้านรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้นถือว่าน่าเกลียด และสมเพชเวทนามาก คนเหล่านี้อยากมีอำนาจอยากมีตำแหน่ง แต่ไม่อยากเลือกตั้ง ดังนั้นจึงไปแฝงตัวอยู่ในม็อบพันธมิตรฯ เพื่อทำให้ตัวเองมีราคาและมีอำนาจโดยอาศัยรัฐธรรมนูญทหารเป็นเกาะกำบังไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งที่ตนเองต้องการ

“ผมอยากบอกพี่น้องประชาชนว่าเหตุการณ์ในอดีตที่กล่าวถึงคนเดือนตุลานั้นมีเพียงวันเดียวคือ 14 ตุลา ส่วนวันอื่นๆ ถือว่าลอกเลียนแบบหมด ไม่ใช่ของแท้ เพราะคนเดือนตุลาของแท้ต้องสู้กับเผด็จการ คนเดือนตุลาไม่ยอมก้มหัวให้อำนาจทหาร ไม่เสียศักดิ์ศรีไปก้มหัวให้ทหาร ดังนั้นพวกที่ทำตัวเท่ห์ที่ชอบอ้างว่าเป็นคนเดือนตุลาจึงไม่ใช่ตัวจริง”

ทั้งนี้ ในอดีตคนเดือนตุลาต้องสู้กับเผด็จการโดยใช้มือปล่าวสู้กับทหาร ต่อมาประชาชนได้รับชัยชนะ จึงทำให้เกิดสัญลักษณ์ที่คนรุ่นหลังจดจำได้ดีคือประชาธิปไตย ซึ่งตนรู้สึกว่ายิ่งนานวันเท่าไหร่ก็ทำให้อุดมการณ์ของคนเดือนตุลาเปลี่ยนไป ดังนั้นตนจึงอยากฝากไปถึงคนเดือนตุลาที่ลืมกำพืดตนเองว่าขอให้ไปกราบวิญญาณวีรชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 14 ตุลาด้วย

“หมอเหวง” อัดพวกทรยศวีรชน
นายแพทย์เหวง โตจิราการ อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ กล่าวว่า จิตวิญญาณที่แท้จริงของคนเดือนตุลาคือโค่นล้มเผด็จการ เชิดชูการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งคนเดือนตุลาได้ยึดถือปฏิบัติมาตลอด 35 ปี

อย่างไรก็ตาม ในช่วงระยะหลังกลับมีคนเดือนตุลาจำนวนหนึ่งทรยศหักหลังทำลายเจตจำนงค์เดิมของวีรชนคนกล้าที่ยอมตายเพื่อปกปักษ์รักษาประชาธิปไตย พวกเขาเหล่านี้ยอมตายเพื่อประเทศชาติ แต่อีก 35 ปีต่อมาปรากฏว่าคนเดือนตุลาทรยศหักหลังพวกเขาถือเป็นความเจ็บปวดและเป็นวิกฤติครั้งร้ายแรงสำหรับกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย

นายแพทย์เหวง กล่าวด้วยว่า ตอนนี้มีพวกที่ชอบโฆษณาโอ้อวดตัวเองว่าเป็นคนเดือนตุลา โดยสร้างภาพตนเองว่าเป็นนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย แต่กลับไปยืนอยู่ในม็อบพันธมิตรฯ ที่ประกาศล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยด้วยการสร้างการเมืองใหม่ที่ สส.มาจากการแต่งตั้ง ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่น่าประณามและเหยียดหยามอย่างยิ่ง เพราะเท่ากับเป็นการทำลายอุดมการณ์ดั้งเดิมและบิดเบือนเจตนารมย์ของวีรชนอย่างน่าละอาย

“ผมขอเตือนคนเดือนตุลาบางคนว่าอย่าเหยียบซากศพวีรชนเพื่อไปสนองตัณหาตัวเอง เพียงเพราะอยากมีชื่อเสียง หรือเพียงเพื่ออยากมีอำนาจอยากมีราคาจึงไปร่วมเวทีพันธมิตรฯ วันนี้พวกคุณกลับเนื้อกลับตัวมายืนอยู่ฝ่ายประชาธิปไตยยังทัน ประชาชนคงจะให้อภัย”

อย่าเอา7ตุลาเทียบประวัติศาสตร์
ด้านนายสันติสุข โสภณศิริ กรรมการจัดงานฝ่ายพิธีกรรมและผู้ร่วมเหตุการณ์ 14 ตุลาคม กล่าวภายหลังพิธีรำลึก 14 ตุลาว่า บรรยากาศเป็นเหมือนเช่นทุกปีที่ผ่านมา เท่าที่ทราบหรือได้รับจดหมายเชิญงาน 14 ตุลาคือชัยชนะร่วมกันของผู้ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ปกติจะเชิญนายกรัฐมนตรี ผู้นำฝ่ายรัฐบาลที่มาจาการการเลือกตั้ง ผู้นำฝ่ายค้าน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ญาติของเหล่าวีรชน และประชาชนทั่วไป

แม้ครั้งนี้นายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีจะไม่ได้เดินทางมาร่วมพิธี แต่มีตัวแทนมา รองประธานสภาคนที่ 1 ผู้นำฝ่ายค้าน และส.ส.อีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งก็ถือว่าบรรลุเป้าหมาย ผู้คนมากันครบถ้วนและหนาแน่นพอสมควร

นายสันติสุขกล่าวต่อไปว่า นับมาถึงวันนี้ 35 ปีแล้วจากเหตุการณ์ 14 ตุลา บ้านเมืองยังเป็นอยู่ในแง่บรรยากาศที่ไม่แย่ไปจากเดิมก่อนช่วงวันที่ 14 ตุลาคม 2516 โดยตอนนั้นเหล่าประชาชนขยับอะไรไม่ได้เลย ทหารที่เข้ามาดูแลบ้านเมืองช่วงนั้นต้องบอกว่าเป็นทรราช เพราะถ้าไม่ใช่ทรราช ประชาชนก็คงไม่ลุกฮือขึ้นมาเช่นนี้

หากเทียบกับเหตุการณ์ของบ้านเมืองตอนนี้ ในแง่ของปริมาณการเคลื่อนตัวบนท้องถนนถือว่ายิ่งใหญ่สุดๆ เนื่องจากต้องการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ และขณะนั้นก็ยังไม่มีรัฐธรรมนูญด้วย เทียบไม่ได้กับเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมาเลย

คนตุลาต้องอยู่ข้างปชต.-ไม่ขายตัว

กรณีสังคมเริ่มวิพากษ์วิจารณ์คนเดือนตุลาว่าเป็นตุลาเทียม มีบางคนที่เคยต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย กลับเปลี่ยนไปยืนอยู่ข้างเผด็จการในวันนี้นั้น นายสันติสุข กล่าวว่าตนเคารพทุกฝ่าย เมื่อก่อนทุกคนต่อต้านเผด็จการทหารซึ่งเป็นทรราช แต่ยุคปัจจุบันคนเดือนตุลาแยกออกเป็น 2 พวก คือคนที่เป็นเดือนตุลาแท้ๆ และยังยึดมั่นยืนยันรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ไม่ว่าอย่างไรก็จะเลือกยืนอยู่ข้างรัฐบาลที่มาด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่พบว่ามีคนเดือนตุลากลุ่มหนึ่งปกป้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เมื่อครั้งปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าอาจจะมีการได้รับตำแหน่งหรือของกำนัลอะไรก็แล้วแต่เป็นการตอบแทน แต่ตนเองยังคงเป็นคนเดือนตุลาที่ไม่ขายตัว และไม่ถูกซื้อโดยคมช.

ต้องการฝากไปถึงยังคนเดืนอตุลาว่า ไม่ควรให้ทหารเข้ามามีอำนาจอีก แต่สนับสนุนโครงสร้างของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน และได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง 100% แม้ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญของความเป็นประชาธิปไตย แต่ก็ไม่มีประเทศไหนที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้วไม่มีการเลือกตั้งรัฐบาล 100%