WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, November 8, 2008

พันธมิตรฯแปลงสาส์นอ้างศาลปกครองห้ามปราบม็อบ (รายปักษ์) (ฉ.2)

13 ตุลาคม 2551
เรื่องราวจากวันที่ 7 ตุลาคม 2551 ยังคงมีประเด็นต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องคำสั่งศาลปกครอง ที่กลุ่มพันธมิตรฯ พยายามนำไปตีความเพื่อให้ตัวเองได้ประโยชน์

นายวีระ กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวอีกครั้งว่าพวกเราต้องขอสดุดีตำรวจผู้เสียสละและปฏิบัติหน้าที่ทุกคน ไม่ว่าใครจะประณามตำรวจในสถานการณ์วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ว่าเป็นผู้ร้ายอย่างไรก็ตาม รายการความจริงวันนี้ ขอเป็นกำลังใจให้ตำรวจที่ทำหน้าที่ปราบปรามผู้ร้ายอย่างเข้มแข็ง เพราะหน้าที่ที่พวกท่านได้ปฏิบัติเป็นหน้าที่ที่สำคัญเป็นอย่างมาก

ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีใครคอยทำหน้าที่เช่นนี้แล้วก็จะกระทบต่อสถาบันที่สำคัญของบ้านเมือง ที่เด่นชัดที่สุดมีอยู่ 2 สถาบัน 1.คืออำนาจฝ่ายบริหาร 2.อำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ เรื่องนี้คงต้องย้อนความกลับไปสู่เหตุการณ์ วันที่ 7 ตุลาคม ที่กลายเป็นข้อพิพาทว่า ต้นเหตุที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยคือ สื่อสารมวลชนที่มีเจ้าของ หรือเลือกข้าง ดังนั้นเวลาที่มีการนำเสนอข่าวออกมา ถ้าสื่อมีการโอนเอียงแล้ว ผู้ที่คิดไม่ดี จะนำเอาประเด็นนั้นลากเข้าสู่ฝ่ายของตัวเอง และปกปิดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เอาไว้ ทำให้น้ำหนักของข่าวเอียงไป

ยกตัวอย่างกรณีที่มีผู้บาดเจ็บทางฝ่ายพันธมิตรฯ 6 ราย ที่ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง โดยผู้ที่ถูกฟ้องคือ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ ผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็นนิติบุคคล

โดยเนื้อหาของรูปคดีนี้คือ ผู้บาดเจ็บของพันธมิตรฯ ร้องขอให้มีมาตรการคุ้มครองผู้ชุมนุมหรือบรรเทาทุกข์ชั่วคราว หรือกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ ของผู้บาดเจ็บ เรื่องดังกล่าวได้ปรากฏเป็นข่าวก่อนหน้ามาแล้ว เมื่อศาลปกครองได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม สั่งให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่ารุนแรง เป็นทำนองเสมือนหนึ่งว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น รัฐบาลกับตำรวจเป็นฝ่ายผิด ประชาชนที่บุกปิดล้อมรัฐสภานั้นเป็นฝ่ายถูก

ศาลปกครองเป็นกลางแต่ถูกบิดเบือน
แต่ว่าเมื่อเอาคำสั่งของศาลปกครองมาอ่านโดยละเอียด จะพบว่า คำสั่งของศาลปกครองที่ออกมาเป็นกลาง น่าชื่นชม เพียงแต่ว่าสื่อนำเอามาบิดเบือนไปจากที่ควรจะเป็น

โดยจะขออ่านให้ฟังจากตรงนี้

“ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 ได้มีคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่ง หรือกำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ห้ามผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 และเจ้าหน้าที่ผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 3 และเจ้าหน้าที่อื่นใด ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลการใช้สิทธิเสรีภาพการชุมนุมของผู้ฟ้องคดี ทั้ง 6 และประชาชนทั่วไป ใช้อาวุธสงคราม หรือวัตถุระเบิดหรืออาวุธทั่วไป

รวมตลอดถึงการใช้ความรุนแรงใดๆ ในการสลายชุมนุมของผู้ฟ้องทั้ง 6 และประชาชนทั่วไปที่ร่วมชุมนุมกับผู้ฟ้องคดี ไว้เป็นการชั่วคราวระหว่างพิจารณาคดีนั้น มาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับ2550 บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยปราศจากอาวุธ การจำกัดเสรีภาพตามวรรค 1 กระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย

ตามข้อเท็จจริง ในคดีนี้ ผู้ฟ้องคดีหมายเลข 1 ให้ถ้อยคำว่า ขณะที่ตนเองได้ร่วมชุมนุม ได้ร่วมกับคนอื่นๆ ลุกขึ้นยื่นแสดงเจตนาไปรัฐสภา เพื่อไม่ให้มีการประชุมรัฐสภา ในวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดย การล้อมรัฐสภา ในระหว่างการปิดล้อมประตูรัฐสภาทุกด้าน เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าไปได้

มีผู้ควบคุ้มอยู่บนเวทีรถกระจายเสียง เป็นผู้แจ้งบอกให้ ผู้ร่วมชุมนุมดำเนินการ และผู้ฟ้องที่ 5 ได้ให้การว่า ในช่วงเวลา ในการชุมนุมของประชาชนที่ บริเวณรัฐสภา ได้มีการปิดล้อมประตู เพื่อไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาเข้าออกบริเวณรัฐสภา และเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าฝ่ายชุมนุมได้ใช่รั้วลวดหนาม ยางรถยนต์ขวางกั้นถนนไว้

การกระทำดังกล่าวของผู้ชุมนุม มีลักษณะทำให้ผู้อื่นกลัวว่า จะเกิดอันตราย ต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ จนไม่กล้าเข้าไปในรัฐสภาหรืออกจากรัฐสภา

อันเป็นการกระทบต่อสิทธิเสรีภาพต่อบุคคลอื่นดังนั้น การชุมนุมนั้น หรือที่บริเวณหน้ารัฐสภาดังกล่าว จึงไม่ใช่การชุมนุมโดยสงบอันจะได้รับการคุ้มครอง ตามมาตรา 63 ของรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550”

ดังนั้นวันนี้ จะเห็นชัดว่าศาลปกครองจะชี้ชัดว่า “การชุมนุมปิดล้อมรัฐสภานั้น ไม่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 63 ศาลปกครองยังได้ระบุไปอีกว่า อีกทั้ง การปิดกั้นรัฐสภาในวันดังกล่าว เป็นไปเพื่อไม่ให้คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา อันจะทำให้คณะรัฐมนตรีเข้าบริหารราชการแผ่นดินไม่ได้ ตามมาตรา 176 (1) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2551

ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อการทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน และให้บริการแก่สาธารณะเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงมีอำนาจหน้าที่ ที่จะเข้าสลายการชุมนุม เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำของผู้ชุมนุมได้” และนี้คำสั่งศาลปกครองที่บรรยายเอาไว้ และมีลักษณะยึดตัวบทกฎหมายเป็นกลางไม่ได้ลำเอียงเข้าข้างใคร

และในตอนท้ายยังระบุกอีกว่า “แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อการสลายการชุมนุมต้องกระทำเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงความเหมาะสมมีลำดับขั้นตามหลักสากลทั่วไป เจ้าหน้าตำรวจไม่อาจใช้กำลังตามอำเภอใจได้ อาศัยเหตุดังกล่าวขั้นต้น ศาลจึงมีคำสั่งมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองให้ผู้ฟ้องคดีทั้ง 6 โดยมีคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องที่ 3 หากดำเนินการใด ๆ ต่อผู้ชุมนุมต้องดำเนินการเท่าที่จำเป็น

โดยคำนึงถึงความเหมาะสม มีลำดับขั้นตอนที่ใช้ตามหลักสากล ในการสลายการชุมนุมให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งศาล และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ใช้อำนาจหน้าที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ปฏิบัติตามมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครอง”

ซึ่งเห็นชัดว่าคำสั่งศาลปกครอง เป็นกลางและยุติธรรม แต่ตลอดระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคมเป็นต้นมา ประชาชนทั้งหลายจะได้เสพสื่อว่า ศาลปกครองได้สั่งว่าไม่ให้ทำการใด ๆ กับผู้ชุมนุม

นายจตุพร เสริมว่าเพราะว่ามันเคยมีกรณี ศาลแพ่งได้สั่งคุ้มครองทำเนียบรัฐบาล ถนนราชดำเนินและถนนพิษณุโลก จนมีการกระทบกระทั่งกัน ท้ายที่สุดศาลแพ่งได้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวลงไป หรือแม้แต่กระทั่งแกนนำพันธมิตรฯ ได้ถูกหมายจับในข้อหากบฏและอีก 4 ข้อหาหนัก พันธมิตรฯ เองก็ไม่เคยได้ปฏิบัติตาม จนกระทั่งแกนนำจึงได้ไปมอบตัว

ทำผิดกฎหมายยังไงก็จับได้
ทุกสิ่งทุกอย่างมันแวดล้อมจนทำให้ประชาชนไม่ได้อ่านรายละเอียดในคำวินิจฉัยของศาลปกครอง เพราะว่าฝ่ายพันธมิตรฯ เองก็ได้ไปตีปีกว่า ศาลปกครองได้มีคำสั่งคุ้มครองไม่ให้ตำรวจทำอะไรกับฝ่ายพันธมิตรฯ ซึ่งถ้าตราบใดที่พันธมิตรฯ ยังกระทำสิ่งใดที่เป็นการละเมิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็มีสิทธิดำเนินการกับพันธมิตรฯได้ตามกฎหมาย

เพียงแต่ว่าทุกอย่างที่เป็นกระบวนการในเวลานี้ มันถูกจูงใจจนเชื่อกันว่าพันธมิตรฯเป็นบุคคลพิเศษในบ้านในเมืองในเวลานี้ ที่กฎหมายอาญาทั้งแผ่นดินไปแตะต้องไม่ได้ และใครแตะต้องก็มีอันเป็นไป ซึ่งตอนนี้ตำรวจกลายเป็นจำเลย

ซึ่งทุกวันนี้พันธมิตรฯได้ออกหนังสือที่เป็นภาพด้านเดียวกันหมด จึงอยากที่จะเรียกร้องให้สตช.หรือผู้ที่รักความเป็นธรรม ได้แสดงให้เห็นภาพอีกด้านให้เป็นการคู่ขนานกันไป นำภาพการกระทำอันป่าเถื่อนของพันธมิตรฯ ที่บุกทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ว่าจะใช้ปืนยิง ด้ามธงแทงคอ ขับรถไล่ชน สารพัดความเลวที่กระทำกับเจ้าหน้าผู้รักษาความสงบ มาเปิดเผยต่อสาธารณะชน

การกระทำของพันธมิตรฯไม่เคยมีความบริสุทธิ์ใจเลยทั้งสิ้น ซึ่งการเอาผ้าดำไปปิดตามกล้องวงจรปิด ก็เป็นการแสดงให้เห็นการกระที่ต้องการแฝงเร้นถึงความคิดที่ไม่ประสงค์ดี

ส่วนความพยายามที่จะเปลี่ยนประเด็นว่า ทำไม่มีการย้ายไปประชุมสภาที่อื่น ซึ่งความจริงถามว่า แล้วพันธมิตรฯจะบุกมาทำไม อีกทั้งพยายามที่จะเรียกร้องให้รัฐบาลรับผิดชอบ มีการตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นป.ป.ช. สตช. กรรมการสิทธิมนุษยชน แต่ประเด็นที่สำคัญหากสาระความจริงยัง ไม่ครบถ้วนก็อย่างเพิ่งนำออกมาแถลง

ใครผิดก็ว่ากันตามกระบวนการทางกฎหมาย รัฐบาลได้แสดงความรับผิดชอบไปแล้วพันธมิตรฯก็ควรแสดงความรับผิดชอบที่นำประชาชนไปบาดเจ็บล้มตายเช่นเดียวกัน

นายวีระ กล่าวเพิ่มเติมว่าใครจะสอบใครแล้วสรุปว่าใครใช้กำลังก่อน หรือแม้แต่ระเบิดเป็นของใครก็แล้วแต่ แต่ต้องอย่าแกล้งลืมว่าใครที่เป็นต้นเหตุของปัญหาทั้งหมด

นายก่อแก้ว ยังแสดงความแปลกใจว่า ทั้งในทำเนียบและรัฐสภา พฤติกรรมชัดเจนว่าเป็นกบฏ แต่ก็มีพรรคการเมืองไปให้ท้ายทั้ง ส.ว.และ ส.ส. ต่างไปสนับสนุน ซึ่งกำลังสร้างความสับสนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก ถ้าเป็นแบบนี้ไม่ว่าใครก็สามารถเรียนแบบพันธมิตรฯ และอ้างว่าเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 63 โดยไม่มีใครขัดขวางได้