17 ตุลาคม 2551
ประเด็นปัญหาที่ยังต่เนื่องกับเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม 2551 นอกไปจากความพยายามที่จะกล่าวหาตำรวจแล้ว ก็ยุงมีเรื่องของแกสน้ำตา ที่ฝ่ายพันธมิตรฯ อ้างว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้คนแขน-ขาขาด
นายณัฐวุฒิ ได้ตั้งคำถามถึงเรื่องดังกล่าวว่าคำเมื่อรัฐบาลได้แสดงความรับผิดชอบเบื้องต้นโดยการตั้งกรรมการอิสระ 2 ชุดนี้ขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว วันนี้ในสังคมเราต้องคุยกันด้วยไหมว่า สำหรับแกนนำกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกปลุกกระแสความวุ่นวายให้เกิดขึ้น จนทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตาย และการใช้อาวุธปืน มีด หรือแม้กระทั้งขับรถยนต์ไล่ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจในขณะปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งมีหลักฐานเด่นชัด แล้วแกนนำจะต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วยหรือไม่ อย่างไร
พันธมิตรฯ เคยออกมาแสดงความรับผิดชอบอย่างไรบ้าง หรือว่าการดาวกระจายเพื่อไปปิดล้อมสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือการแสดงความรับผิดชอบอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นแบบนี้คิดว่าสถานการณ์บ้านเมืองมันไม่จบแน่ เพราะว่ามันมีการพูดข้อมูลเพียงด้านเดียว เหมือนกับคนบางพวกพยายามทำลืมว่าเรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นนั้น เป็นฝีมือของแกนนำพันธมิตรฯ
นายวีระ เสริมว่ายอมไม่ได้เด็ดขาดที่มีจะความพยายามทำเป็นลืม แล้วมานำตัดสิน ยอมให้เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเหตุการณ์มันต่อเนื่องมาตลอด
นายจตุพร มองว่าพันธมิตรฯต้องตอบคำถามด้วยอีกว่า รถที่บรรทุกระเบิดมานั้น เอามาทำไม มีเป้าหมายอย่างไร จึงต้องเป็นความจริงให้มันกระจ่าง
นายวีระ ยังย้ำว่าที่ลืมไม่ได้เด็ดขาดคือ อย่ามั่วเหตุการณ์แล้วมาสรุป อย่ามาพูดเอาง่าย ๆ ว่าตำรวจ เป็นผู้สั่งฆ่าประชาชน หรือว่ารัฐบาลสั่งฆ่าประชาชน ต้องย้อนกลับดูด้วยว่าผู้ที่เสียชีวิตนั้น เสียชีวิตมาจากที่ไหนและเมื่อไร อย่าลืมว่าการสลายม็อบเกิดขึ้นตอนเวลา 6-7 โมงเช้า
แต่ว่าน้องโบว์ ที่เสียชีวิตนั้นอยู่ในเหตุการณ์ที่หน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาล ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากการสลายม็อบหน้ารัฐสภา ดังนั้น 2 ชีวิตที่สูญเสียอย่ามั่วมาพูดว่าเป็นกลุ่มผู้ชุมนุมที่ไปปิดล้อมรัฐสภา แล้วโดนตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ และเสียชีวิต โปรดอย่ามั่วแบบนั้น
มันเกิดขึ้นคนละที่ และต้องไปหาสาเหตุที่แท้จริงทางนิติวิทยาศาสตร์ โปรดเข้าใจให้ตรงเสียก่อน
อยากขอฝากแสดงความคิดเห็นตรงส่วนนี้ด้วย
อย่าลืม!พวกล้อมสภาก็คือกบฎ
อีกอย่างที่ลืมไม่ได้โดยเด็ดขาดก็คือว่า ทั้ง 2 กรณี ซึ่งต่อเนื่องกันห้ามแยกจากกัน นั้นคือการยึดทำเนียบฯ มีพฤติการณ์ชัดเจนว่าเป็นกบฏ เพราะการยึดทำเนียบฯ ถือเป็นการขัดขวางการบริหารประเทศ โดยใช้กำลังหวังประทุษร้าย และประกาศชัดเจนว่าในวันที่ 6 ตุลาคม จะเดินทางไปปิดล้อมรัฐสภา ซึ่งก็เข้าข่ายข้อกฎหมายว่า ขัดขวางไม่รัฐบาลแถลงนโยบายก็ถือว่าเป็นการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ได้ด้วยเหมือนกัน เพราฉะนั้นผู้ที่ไปชุมนุมหนีไม่พ้นข้อเป็นกบฏด้วยเช่นกัน
นี่เป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกในประเทศไทยที่ ผบ.เหล่าทัพทั้งหลายออกมานั่งเรียงแถวให้สัมภาษณ์กันในเรื่องดังกล่าวกับสื่อมวลชน ทำให้ต้องมีการติดตามสถานการณ์กันต่อไป
เมื่อคณะรัฐมนตรีก็มีจุดยื่น
นายจตุพร กล่าวว่าตลอดระยะเวลาหลายวันที่ผ่านมา ร่วมกระทั้งมีความชัดเจนขึ้น มีพี่น้องประชาชนหลายคนได้สอบถามมาว่าจะมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้นอีกหรือไม่
อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มผู้ที่พสกนิกรชาวไทยและเป็นผู้ที่รักในประชาธิปไตย ก็มีจุดยื่นร่วมกันว่าไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างแน่นอน ซึ่งถ้ามีการยึดอำนาจเกิดขึ้นแล้วละก็ ขอเรียนไปยังพล.อ.อนุพงษ์ว่า หากยึดอำนาจทันทีจะจับพวกเราไปที่ไหนก็แล้วแต่ จะมีพี่น้องประชาชนใส่เสื้อแดง ได้นัดร่วมใจกันไว้แล้วว่าจะไปที่ท้องสนามหลวง และคำพูดที่ท่านได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “เรื่องเด่นเย็นนี้” ว่า ถ้าท่านได้อยู่ตำแหน่งที่เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติ และมีประชาชนออกมาขัดขวางการยึดอำนาจ ท่านก็จะเจอคำตอบเดียวกันที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีเจออยู่ในขณะนี้
นายณัฐวุฒิ กล่าวว่าผมมีประเด็นที่เป็นข้อมูลอยู่บ้างว่า น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของผู้เข้าร่วมชุมนุม ในส่วนของเจ้าหน้าที่ตำรวจบาดเจ็บหรือเสียชีวิตอย่างไรมีภาพเป็นหลักฐานชัดเจนเพียงแต่ว่าไม่มีใครพูดถึงเท่านั้นเอง
แต่ว่ากรณีของผู้ชุมนุมมีประเด็นเรื่องแก๊สน้ำตา ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลมาว่าแก๊สน้ำตาที่ใช้อยู่นั้น มีบางชุดที่ซื้อมาจากประเทศจีน ซึ่งจากข้อมูลที่ปรากฏอยู่ตามสื่อว่า มีการเบิกมาจากคลังสรรพาวุธของกรมตำรวจ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2538 ซึ่งมีการสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชนิดที่สามารถทำให้เกิดการระเบิดแขนขาขาด หรือเสียชีวิตได้ แต่ว่าข้อเท็จจริงนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
ซึ่งอุปกรณ์ที่กำลังเป็นประเด็นกันอยู่ก็คือลูกกระสุนแก๊สน้ำตาขนาด 38 มม. เป็นลูกกระสุนแก๊สน้ำตา ที่สั่งซื้อมาพร้อมกับสรรพาวุธอื่น ๆ รวม 7 รายการ โดยสั่งซื้อมากับรัฐบาลจีน ซึ่งสั่งซื้อมา 40,800 นัด ใช้งบประมาณเป็นเงิน 1.2 ล้าน ดอลล่าสหรัฐฯ หรือประมาณ 30 ล้านบาท อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1 ดอลล่า ต่อ 25 บาท
“จิ๋ว”อนุมัติซื้อในรัฐบาล “ชวน”
ผู้อนุมัติสั่งซื้อในคราวนั้นคือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งได้กำกับดูแลกรมตำรวจอยู่ในขณะนั้น และทำการอนุมัติในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2536 ซึ่งรัฐบาลที่บริหารงานในขณะนั้นคือ รัฐบาลของนายชวน หลีกภัย
ที่สำคัญอำนาจอธิบดีกรมตำรวจอนุมัติได้ไม่เกิน 25 ล้าน แต่การสั่งซื้อครั้งนั้น อยู่งบประมาณ 30 ล้านบาท ผู้จัดซื้อคือ พล.ต.ต.จำนรร จันทร์ประทีป ผู้บังคับการสรรพาวุธลงนามเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ.2536 ผู้เสนอคือพล.ต.ท.มีชัย นุกุลกิจ ผู้บัญชาส่งกำลังบำรุง เป็นผู้เสนอขออนุมัติ และอธิบดีกรมตำรวจขณะนั้นคือ พล.ต.อ.สวัสดิ์ อมรวิวัฒน์ ให้จัดซื้อด้วยวิธีพิเศษ โดยวันรับของคือ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2536
ประเด็นก็คือหลังจากมีการจัดซื้อยังไม่ปรากฏหลักฐานว่า กรมตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติในปัจจุบันจัดซื้อเครื่องมือชนิดนี้เข้ามาอีก
ส่วนประเด็นที่ 2 คือตั้งแต่ปีพ.ศ.2538 มีการแจกจ่ายกระสุนดังกล่าวไปยังหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเอาไว้ใช้ในราชการซึ่งข้อมูลระบุว่าส่วนใหญ่จำหน่ายในการฝึกซ้อม ยังไม่เคยมีการใช้ปฏิบัติจริง เพราะฉะนั้นในรัฐบาลชุดนั้น ที่นายชวน หลีกภัย เป็นนายกฯและพล.อ.ชวลิต เป็นรมว.มหาดไทยที่จัดซื้ออุปกรณ์ชนิดนี้มา
คำถามก็คือว่ามีการทดสอบตรวจสอบการใช้งานหรือไม่อย่างไร ประเด็นที่ 2 ตนได้รับข้อมูลว่ามีเว็บไซต์บริษัทในประเทศจีน ที่ผลิตอุปกรณ์นี้ได้ออกมาชี้แจงว่า อุปกรณ์ของบริษัทไม่มีผลร้ายแรงถึงขั้นแขนขาขาดหรือเสียชีวิตได้แต่อย่างใด
ยังมีอีกข้อสงสัยเป็นข้อสะดุดใจที่ว่า พล.อ.อนุพงษ์ แสดงความเห็นในเรื่องที่ว่าหากเป็น นายกฯเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจะลาออกทันที ตรงนี้ไม่ได้ติดใจเอาความอะไรมากเพราะเป็นสิทธิที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ส่วนที่ออกมากล่าวยืนยันว่าจะปฏิวัติรัฐประหาร และจะยืนอยู่ข้างประชาชน ตรงนี้ก็เป็นเรื่องน่าชื่นชมด้วย ปกติแล้วเป็นคำพูดที่ฟังดูดี
เพียงแต่ว่า วันนี้ต้องตั้งคำถามว่าขณะนี้ที่สังคมประชาชนมีการแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ผบ.ทบ.จะเลือกยืนอยู่ข้างประชาชนอย่างไร และข้างไหนระหว่างประชาชนฝั่งที่ทำผิดกฎหมาย หรือประชาชนที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
ตนจึงอยากที่เสนอความคิดว่า เมื่อประชาชนแบ่งแยกชัดเจน การที่ออกมากล่าวว่าจะยืนเคียงข้างประชาชนนั้นยังไม่พอ แต่ยืนอยู่ข้างหลักการ และกฎหมายด้วย ซึ่งกฎหมายจะต้องบังคับใช้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน บ้านเมืองถึงจะไปได้ แต่ถ้าหลักการมีปัญหา ท่านต้องเลือกที่มาอยู่ข้างประชาชน