WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 20, 2008

หยุด!!!...ดับเบิล สแตนดาร์ด ปลดล็อกแก้รัฐธรรมนูญ 50 ย้ำ! พันธมิตรฯ ผู้ก่อการร้าย ( คอลัมน์ : Cover story )

ที่มา ประชาทรรศน์







อ.วิภา ดาวมณี อาจารย์ภาควิชานวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคนเดือนตุลา จี้ต่อมสำนึกรัฐบาลใหม่จะต้องกล้า “ปลดล็อก” ประเทศ ด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ให้สนองตอบต่อประชาชนชั้นล่าง และดำเนินคดีกับกลุ่มพันธมิตรฯ โดยใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทั้งสองฝ่าย ชี้ช่องเกษตรกร ชาวไร่ ชาวนา ปิดสนามบ้าง!!! ย้ำเข้าเงื่อนไขพันธมิตรฯ เป็นผู้ก่อการร้ายสากล ขนาดอเมริกายังโวย เพราะโดนผลกระทบไปด้วย

** มองว่าปรากฏการณ์พันธมิตรฯ จะเกิดผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยหลังจากนี้ต่อไป
การยึดสนามบินของพันธมิตรฯ ถ้าเรามองในแง่ของปรากฏการณ์ คิดว่าในช่วงนั้นเขาอาจจะคิดไม่ยาว เขาอาจจะคิดแต่เพียงว่าไปปิดสนามบิน เพราะท่านนายกฯ สมชาย อยู่ต่างประเทศ แล้วท่านกำลังจะบินกลับมา อยากจะไปแสดงการกดดันในเชิงสัญลักษณ์ โดยการไปกดดันในสนามบิน แต่ในเมืองมวลชนฝูงชนจำนวนมากขนาดนั้น เมื่อเข้าไปแล้ว และสามารถเข้าไปได้โดยง่าย ซึ่งการเข้าไปง่ายมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น ตำรวจไม่ส่งกำลังเท่าไร ทหารไม่ออกมาช่วย แล้วคนเยอะขนาดนั้นทำให้เขาเกิดการฮึกเหิม และการที่เขาไปล้อมเพื่อหวังที่จะกดดันมันเลยกลายว่าเป็นเข้าไปยึดเสียเลย ซึ่งส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นการวางแผนเข้าไปยึดตั้งแต่ต้น แต่คิดว่าเป็นปรากฏการณ์ในลักษณะต้องการเข้าไปกดดันมากกว่า
แต่เมื่อเขาเข้าไปยึดแล้ว วันนี้เขายังปฏิเสธว่าไม่ได้เข้าไปยึด เพราะว่าพอหมอเหวง (นพ.เหวง โตจิราการ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ประชาธิปไตย) ไปร้องกับตำรวจว่าเป็นการก่อการร้าย เพราะว่ามันเข้าข่าย กับข้อกฎหมายว่าเป็นความผิดอาญา แล้วเป็นการทำให้มีผลต่อการคมนาคม ซึ่งมันตรงหมดเลย แต่เขาบอกว่าไม่ใช่ เขาไม่ต้องการแบบนั้น แต่ว่าผลที่ออกมานั้นมันมีผลเสียจำนวนมาก ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของภาพลักษณ์ประเทศไทย เรื่องที่นักข่าวหรือแม้กระทั่งนักการเมืองต่างประเทศพูดกัน
ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ยังพูดว่าสถานการณ์มันกระทบไปหมดทั่วโลก สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยอาจจะมีผลกระทบต่ออเมริกาได้ แสดงว่าผลกระทบมันรุนแรงมาก ร้ายแรงมาก แล้วอย่างนี้พันธมิตรฯ จะบอกว่าตัวเองไม่ได้ยึดสนามบินนั้นเป็นไปไม่ได้ จริงๆ คือยึดนั่นเอง ปรากฏการณ์เป็นอย่างนั้น แต่เนื้อแท้แสดงว่าเขาได้ก่อให้เกิดความเสียหายแล้ว เมื่อเขาก่อให้เกิดความเสียหายแล้วเขายังไม่ยอมรับว่าตัวเขานั้นทำผิด เขายังยืนกระต่ายขาเดียวว่าเขาไม่ผิด เขาได้ใช้หลักการประชาธิปไตยในการชุมนุม
มันไม่มีหรอกค่ะไอ้หลักการชุมนุมที่ทำให้เกิดความเสียหายแล้วตีออกมาเป็นค่าเงินเยอะขนาดนี้ เพราะฉะนั้นมันถึงเวลาแล้วที่พันธมิตรฯ จะต้องยอมรับ เพราะเชื่อว่าในส่วนของคนที่เข้าข้างพันธมิตรฯ เริ่มที่จะลังเล แม้แต่สื่อมวลชนเองก็ตาม

***มติของบอร์ดการบินไทยที่ให้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากพันธมิตรฯ 3.5 หมื่นล้านบาท มองว่าอย่างไร
ในส่วนนี้ต้องดำเนินการกันไปค่ะ แต่ไม่แน่ใจนะคะว่าในขณะนี้กระบวนการยุติธรรมของไทยนั้นท่านจะตัดสินอย่างไร ซึ่งถ้าท่านมีความยุติธรรมหรือว่าท่านเล็งการณ์ไกล คือ ใช้หลักรัฐศาสตร์เข้ามาด้วย ท่านจะเอียงข้างไม่ได้ เพราะว่าในเชิงหลักรัฐศาสตร์นั้น ถ้าท่านเอียงข้างหมายถึงท่านยังคงอุ้มกลุ่มสีเหลืองอยู่ หรือว่าท่านจะรับคำสั่งจากใครมาไม่ทราบนะคะ แล้วบอกว่าไม่ผิดนั้น ท่านต้องคิดถึงอนาคตว่าต่อไปจะมีคนทำอย่างนี้ แล้วถ้าใช้เป็นมาตรฐานว่าไม่ผิด ถือว่าเป็นการชุมนุมตามหลักประชาธิปไตย แม้ผลที่ออกมาจะมีความเสียหายอย่างรุนแรง ถ้าเราเห็นจากภาพในทีวีที่มีทั้งความรุนแรง มีการปิดกั้นเสรีภาพของคนอื่น เช่น การเข้าสู่สนามบินไม่ได้ คือ ฝ่ายพันธมิตรฯ เขาอ้างว่าทางสนามบินเขาสั่งปิดเอง ทางกลุ่มเขาไม่เกี่ยว เขาไปชุมนุมเฉยๆ แต่ในทางปฏิบัตินั้นจะเห็นว่าเขาปิดและมีการตั้งด่าน 3 ชั้น แล้วประชาชนธรรมดาที่ไม่ใช่พวกเขานั้นเข้าได้ไหม แม้กระทั่งตัวผู้สื่อข่าวเอง
ทั้งหมดนี้มันเป็นการปิดกั้นเสรีภาพทั้งสิ้นเลย เพราะฉะนั้นเขาจะบอกว่าเขาไม่ได้ยึดมันไม่ได้ แล้วถ้าศาลตัดสินว่าเป็นการชุมนุมที่เป็นประชาธิปไตย เราจะใช้บรรทัดฐานอันนี้ในโอกาสต่อไป ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า (ถ้ามองแบบเห็นแก่ตัวนะคะ) ต่อไปถ้ามีกลุ่มไหนไม่พอใจรัฐบาล หรือไม่พอใจอะไรขึ้นมา จะใช้วิธีการปิดสนามบินเพื่อเรียกร้องอะไรต่างๆ ได้ แต่เชื่อไหมคะ ถ้าไม่ใช่ม็อบกลุ่มนี้ หรือที่เขาเรียกกันว่าม็อบที่มีเส้น เข้าไปยึดนั้นจะเกิดอะไรขึ้น
ดูอย่างตอนที่คนเสื้อแดงไปปิดล้อมศาลสิ มีทั้งทหารพร้อมอาวุธครบมือเข้าไป แต่ตอนที่พวกพันธมิตรฯ เข้าไปยึดสุวรรณภูมิไม่มีเลยนะคะ คือเราจะเห็นดับเบิลสแตนดาร์ดตลอดค่ะ ตอนนี้เลยกลายเป็นว่าสังคมไทยไม่รู้ถูกรู้ผิด อยู่ที่ว่ากฎข้อนี้ ระเบียบข้อนี้ ใช้กับใคร หรือใครถือหางใครแค่นี้เอง ถ้าสมมติว่ามีคนไปร้องศาล แล้วศาลบอกว่าไม่ผิดเลย สังคมไทยจะไม่มีบทเรียนเลย หรือว่าคุณจะได้สแตนดาร์ดใหม่ สแตนดาร์ดที่ว่ายึดสนามบินโดยยึดประชาธิปไตย...ไม่ผิด เอากันอย่างนี้แหละ
เพราะฉะนั้นต่อไปในอนาคตจะมีเกษตรกร กรรมกร ไปยึดสนามบิน คนตกงานว่างงาน อาจจะเป็นล้านคน ไปยึดสนามบิน โอเคไหม ไม่ถือว่าเป็นการก่อการร้าย ไม่ถือว่ากระทำผิด ถือว่าเป็นประชาธิปไตย ดีเหมือนกันไหมคะ

** บทบาทของรัฐบาลที่จะเข้ามาทำงาน หรือตัวนายกฯ เอง ควรจะเข้ามาจัดการเรื่องม็อบต่างๆ อย่างไร เพราะว่าหลายฝ่ายก็มองว่าประเทศตอนนี้ถ้าปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไปคงแย่
ถ้าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ถ้าฉลาดเขาต้องดำเนินการอย่างเด็ดขาด สังคมขณะนี้กำลังตั้งคำถามกันมากเรื่องความยุติธรรม เรื่องนิติรัฐ ถ้านายกฯ คนใหม่ขึ้นมาแล้วยังดับเบิลสแตนดาร์ด มันไม่รู้จบ แม้กระทั่งในครอบครัวเวลาตัดสินเด็ก 2 คนทะเลาะกัน จะทำอย่างไร หรือพี่รังแกน้องจะแก้ปัญหาอย่างไร นั่นคือความยุติธรรมใช่ไหมคะ แต่ของเรากลับไม่ใช่เลย ตอนนี้มันคือดับเบิลสแตนดาร์ดไงคะ
ทีนี้ถ้าคุณอภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแล้วยังคงสนับสนุนเฉพาะกลุ่มคนเสื้อเหลืองอยู่ สังคมมันอยู่ไม่ได้...ไม่ได้จริงๆ แล้วคนที่จะประณามไม่ใช่เฉพาะคนที่อยู่ฝั่งตรงข้ามนะคะ แต่เป็นคนกลางที่เขาไม่ได้ถือหางใคร เขาเห็นหมดค่ะ เพราะว่าคนไทยไม่โง่ คนทั้งโลกรู้ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน อย่างลืมว่ายุคนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์ การสื่อสารมันถึงกันหมด และพรมแดนด้านภาษาไม่มี เพราะฉะนั้นเขาต้องมองว่าถ้าคุณขึ้นมาเป็นนายกฯ แล้วคุณใช้ดับเบิลสแตนดาร์ด คุณไม่ได้แก้ไข คุณไม่ได้คลี่คลายปัญหา ในที่สุดมันจะเป็นเผด็จการฝ่ายหนึ่งที่กระทำกับอีกฝ่ายหนึ่งตลอด

** เป็นไปได้ไหมถ้าจะมีการนิรโทษกรรมให้กับทั้ง 2 ฝ่าย
อันนี้อาจจะเป็นทางออกเหมือนกับในหลายๆ ประเทศที่เขาจะให้กระบวนการยุติธรรมจัดการไปก่อน อย่างเช่น ที่อินโดนีเซีย กรณีของ เอสตราด้า มีการพิสูจน์ความผิด ศาลสั่งตัดสินจำคุก แล้วมีการนิรโทษกรรม แต่ต้องรับความผิดไปก่อนค่ะ
กรณีเดียวกันในเกาหลีที่มีการปราบปรามนักศึกษา มีการตัดสิน ประธานาธิบดีของเขาในขณะนั้นเรียกว่าชีวิตทางการเมืองหมดไปแล้ว เพราะเขาถูกตัดสินว่าผิด แต่อันนี้มันเท่ากับให้ความยุติธรรมกับผู้สูญเสีย มีการชดเชยมีอะไรต่ออะไร แต่ในที่สุดประธานาธิบดีคนใหม่เข้ามาเขานิรโทษกรรมเหมือนกัน
แต่ของประเทศไทยเรายังไม่มีใครรับผิดเลยนะคะ เหตุการณ์ 14 ตุลา 6 ตุลา มีใครรับผิดบ้างไหม 6 ตุลานั้นหนักมาก เรารู้ชื่อผู้เสียชีวิตแค่ 40 คน แต่คนสูญหายนั้นไม่มีใครกล้าแจ้ง เพราะถูกปลุกปั่นว่าเป็นคอมมิวนิสต์ แล้วมีการฆ่ากันกลางเมือง ใช้อาวุธสงคราม ฝีมือตำรวจ ตชด. เป็นหลักเลย แล้วตำรวจใน กทม. ลูกเสือชาวบ้าน ซึ่งสิ่งที่ชูเพื่อเข้าไปฆ่านักศึกษาวันนั้นคือเรื่องชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จนกระทั่งวันนี้มีใครถูกลงโทษไหม เราเห็นหน้านายตำรวจใหญ่ในวันนั้นทุกคนนะคะ แต่ลงโทษใครไม่ได้ ประเทศไทยมันอึมครึมแบบนี้แหละ
แล้วถ้าในอนาคตคุณอภิสิทธิ์ขึ้นมาเป็นนายกฯ แล้วบอกว่านิรโทษกรรมไปเลย หรือว่าไม่เอาผิดกับฝ่ายพันธมิตรฯ แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น แสดงว่าสังคมไทยไม่มีความยุติธรรม ไม่มีมาตรฐานอะไรเลย เป็นนิติรัฐได้ไหม อยู่ในสังคมโลกได้ไหม แล้วคนเขาจะมองว่าเราตกต่ำ อย่างพวกนักเศรษฐศาสตร์เขาอาจจะมาอีกอย่างหนึ่ง แต่ในความเป็นสังคมที่ศิวิไลซ์เขายอมรับเราได้ไหม ถ้าจะประเมินเราตอนนี้เราใกล้กับพม่าแล้วนะ เพราะว่าพม่านั้นเขาเป็นเผด็จการทหารอย่างชัดเจน เขาจะสั่งอย่างไรก็ได้ เขาจะฆ่าทั้งหมู่บ้านได้ ตรงไหนที่เขาจะไปวางท่อแก๊ส เขาจะรบ จะจับผู้นำฝ่ายค้านไปขังเป็นปีก็ได้ เพราะฉะนั้นเราอาจจะต้องเทียบเคียงระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า

** มองอย่างไรกับเรื่องรัฐธรรมนูญ 2550 ที่หลายฝ่ายมองว่าจะต้องแก้ไขเพราะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารบ้านเมือง
คือรัฐธรรมนูญ 2550 มันมีปัญหาตั้งแต่ก่อนทำประชามติ ไม่มีประเทศไหนที่เขาให้เวลาทำประชามติแค่เดือนเดียว รัฐธรรมนูญทั้งเล่มนะคะ แล้วประชาชนได้อ่าน วิเคราะห์ ได้พิจารณาทั้งเล่มไหม คือจับมัดมือชกนะคะ แล้วอย่างที่บอกว่ารัฐธรรมนูญ 2550 นั้นมันทำให้ภาพของนักการเมืองดูเลวทราม ดูตกต่ำ มันเป็นการยกอำนาจให้กับข้าราชการ แล้วมีการร่างนโยบายซ่อนไว้ในรัฐธรรมนูญ มีการกำหนดไปเลยว่าคุณจะต้องดำเนินการอย่างไร หรือบริหารอย่างไร แม้กระทั่งในทางเศรษฐศาสตร์การเมืองกำหนดไปเลยว่าเป็นตัวบทของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมันแปลกมาก ปกติมันต้องเปิดไว้ว่าเรื่องนโยบายจะต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร คือรัฐบาล แต่นี่มันเขียนทุกอย่างไว้ในรัฐธรรมนูญ แถมยังมีเรื่อง “อภิสิทธิ์ชน” ที่ให้ ส.ว. มาจากการแต่งตั้งได้อีก
คือ...มันแอบซ่อนสิ่งที่ย้อนยุคอยู่มากสำหรับรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 แม้ว่าที่ผ่านมาเราจะมีรัฐธรรมนูญที่ก้าวหน้ามาแล้วหลายฉบับ แม้กระทั่งฉบับปี 2540 ที่เรามองว่ามาจากการมีส่วนร่วม แต่ปรากฏว่าฉบับปี 2550 นี้ใครเป็นคนเขียน คือ สนช. สายพันธมิตรฯ ทั้งนั้น นักวิชาการสาย คมช. ต่างๆ เพราะฉะนั้นมันผิดตั้งแต่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ขึ้นมาแล้ว รวมทั้งการลงประชามติ แต่เพื่อต้องการที่จะไปเอาประชามติมารับรองว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ว่าได้ผ่านความคิดเห็นของประชาชนแล้ว
ถ้าไม่ปลดล็อกรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หรือแก้ไข ประเทศไทยจะได้เครื่องมือที่ผิดพลาด คือถ้าจะชั่งหรือวัดอะไรสักอย่างแต่เครื่องมือมันผิดแล้ว มันก็จะโกงตราชั่งกันตลอด ทีนี้ตราชั่งเราหมายถึงรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นมันจะต้องเที่ยงตรง มันต้องยอมรับได้ ต้องยุติธรรม แต่ในเมื่อคุณไปทำให้มันเป็นอย่างนั้นแล้ว รัฐบาลชุดใหม่มาก็ทำงานตามรัฐธรรมนูญเก่า มันก็ไม่ได้อะไร

** แสดงว่ารัฐบาลชุดใหม่หน้าที่หลักนอกจากจะแก้ไขปัญหาเรื่องความขัดแย้ง เรื่องเศรษฐกิจแล้ว ต้องแก้ไขปรับปรุงรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วย
ต้องแก้ไขค่ะ แล้วมีหลายข้อด้วยที่ไม่เอื้อประโยชน์ให้กับคนจน ไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับชนชั้นล่างจริงๆ และเราไม่มีส่วนร่วม เช่น เรื่องง่ายๆ เลย เก็บภาษีมรดก มันไม่มีนะคะ และมีหลายเรื่องที่ภาคประชาชนเสนอขึ้นไปแล้วไม่ได้รับการพิจารณา เรื่องที่ก้าวหน้ามีน้อยมาก ทั้งที่มีหลายองค์กรพยายามเสนอเข้าไป แต่ไม่มีการตอบรับเลย ถ้าเทียบกับปี 2540 แล้ว นับว่าปี 2540 ดีกว่า

** หากรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแล้วไม่สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ จะทำให้เกิดวิกฤติการเมืองขึ้นหรือไม่ในอนาคต
เป็นแน่นอน แต่ว่ามันไม่ใช่ตัวหลัก เพราะรัฐธรรมนูญคือเครื่องมือที่เขาจะสร้างความชอบธรรมในการที่จะเอามาเป็นตัววัด แต่ว่าตัวความขัดแย้งจริงๆ มันคือความขัดแย้งของคู่ขัดแย้งหลัก นั่นหมายถึงว่า ชนชั้นปกครองที่ประกอบด้วยนายทุนทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายทุนอนุรักษนิยม และฝ่ายนายทุนโลกาภิวัตน์ สองฝ่ายนี้เขาทะเลาะกันประชาชนไม่ได้อะไร แต่ในเมื่อคู่ความขัดแย้งระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายยังดำรงอยู่ จะแก้ไขหรือไม่แก้มันอาจจะยังคงมีเรื่องกันต่อไป เพราะว่าทั้ง 2 ฝ่ายยังไม่เห็นเลยว่าสิ่งที่เขาทำนั้นทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือว่าประโยชน์ของใคร สิ่งที่เขาทำอยู่นั้นทำเพื่ออำนาจ ทำเพื่อประโยชน์ของตัวเอง
ที่อ้างกันนี้ไม่มีผลที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนเลยนะ แล้วพรรคการเมืองตอนที่จะโหวตเลือกนายกฯ ไม่มีพรรคไหนพูดถึงเรื่องนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเลย มีแต่พูดว่าใครมีเสียงเท่าไร ใครเข้าข้างไหน แต่เรื่องอุดมการณ์หรือนโยบายมันตรงกันไหม ไม่มีใครเอามาพูด แบบนี้มันน่าทุเรศไหม แล้วสื่อมวลชนเสนอข่าวแบบนี้ตลอด มันไม่ได้เสนอทางเลือกหรือทางออกให้กับประชาชนจริงๆ

***พันธมิตรฯ แถลงการณ์ออกมาล่าสุดบอกว่าจะค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ก็เสนอ 70 : 30
เขาอาจจะประเมินว่าการที่เขาเคลื่อนไหวมาจะต้องได้มากขึ้นมากขึ้น เขาต้องได้มากกว่าก่อนที่เขาจะเคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นเขาต้องเรียกร้องเอาให้ได้ แล้วการที่เขาเรียกร้องเอา 70 : 30 นั้นเป็นการดูถูกประชาชน เพราะเขามองอยู่เสมอว่าการที่ฝ่ายรักทักษิณ หรือคนเสื้อแดงนั้นมีมวลชนมาก เขาอ้างเลยว่าเสียงพวกนี้มาจากการซื้อทั้งสิ้น แต่เขาไม่ได้มองว่ามันมีนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชนแล้วทำให้ประชาชนเลือก
ตัวอาจารย์เองไม่ใช่ฝ่ายทักษิณ แต่มองว่านโยบายที่เรียกว่าประชานิยมมันมีประโยชน์ต่อประชาชน อย่างเช่น เรื่อง 30 บาท แล้วเรื่องการประกัน หรือสวัสดิการอะไรต่างๆ มันยังเป็นประโยชน์ ประชาชนคิดว่าเขาได้รับประโยชน์ตรงนี้เขาเลยเลือก แต่ถ้าจะให้ดีกว่านั้นจะต้องผลักดันให้เข้าไปสู่รัฐสวัสดิการให้ได้ เพราะตราบใดที่ยังไม่มีรัฐสวัสดิการ ชนชั้นที่เรียกว่าคนยากคนจนเวลาเจอกับวิกฤติแล้วยิ่งจนมาก คุณไม่สามารถยกระดับเขาได้ คือสังคมนี้มันเหลื่อมล้ำกันมาตั้งแต่แรกแล้ว และเมื่อเขาต้องการค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าที่อยู่อาศัย ตรงนี้ถ้าแก้ไขไม่ได้สังคมมันมีปัญหา คนจนมันมากขึ้น
ฉะนั้นนโยบายของทักษิณ (พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) ที่มองว่าบางส่วนเป็นประชานิยมที่มอมเมาประชาชน แต่เราจะทำอย่างไรที่นำไปสู่นโยบายที่ก้าวหน้าและเป็นประโยชน์จริงๆ ต่อประชาชน ในขณะเดียวกันถ้ามองสายของพรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นสายของพวกอนุรักษนิยม กลุ่มทุนอนุรักษ์ นโยบาย อาทิ การเอามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ที่ได้รับการตอบรับของรัฐบาลในสมัย คมช. ที่จัดการเอาทุกอย่างออกนอกระบบโดยฉับพลัน และไม่ฟังเสียงใครเลย
ฉะนั้นถ้าหากเราเจอนโยบายแบบนี้กับพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง ประชาชนมีแต่ตายกับตายเลย เพราะว่าประชาธิปัตย์เขาพูดไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่าเขานั้นเป็นพวกถือทฤษฎีที่เรียกว่าน้ำล้น คนรวยต้องรอดก่อน นโยบายที่เอาใจชนชั้นกลาง ซึ่งคือพวกกลุ่มพันธมิตรฯ ที่มาจากชนชั้นกลางเสียเป็นส่วนใหญ่ กับชั้นสูง แต่นั่นมันไม่ได้หมายความว่าแก้ไขปัญหาที่ทำให้เกิดวิกฤติได้ เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบระหว่างนโยบายของพรรคการเมืองทั้ง 2 พรรค ซึ่งยังไม่มีใครเสนอออกมาให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน แต่ถ้าวิเคราะห์จากสิ่งที่เคยเห็นเดิมๆ เรายังถือว่านโยบายของฝ่ายทักษิณเอื้อประโยชน์ต่อประชาชนมากกว่า
เพราะฉะนั้นฝ่ายพันธมิตรฯ เขารู้ว่าอย่างไรเสียเขาไม่ได้เสียงข้างมาก อยู่ไปอยู่มาอย่างนี้ มวลชนที่เป็นฝ่ายเสื้อแดงมันเยอะกว่าอยู่ดี สู้เขาล้มกระดานเลยดีกว่า แล้วเขาตั้งรัฐบาลที่ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง รัฐบาลพระราชทาน แล้ว 70 : 30 นั้นมาจากไหน เชื่อได้เลยว่าเขาจะไม่ยอมรับสายอาชีพที่มาจากคนชั้นล่าง ไปๆ มาๆ เขาจะเอาอาชีพของข้าราชการมาเป็นหลัก อาชีพของพวกชนชั้นกลาง หรือว่าถ้าเขาบอกว่าเป็นพวกเกษตรกร แต่คุณจะได้คนที่เป็นเกษตรกรจริงหรือเปล่า แทนที่จะได้เกษตรกรจริงๆ อาจจะเป็นนายกสมาคมอะไรต่างๆ แล้วคำว่า 70 : 30 ของเขามันเป็นเรื่องตบตา ทำให้สิทธิของชนชั้นล่างนั้นลดลง การเลือกตั้งหนึ่งสิทธิหนึ่งเสียงนั้นหายไป เป็นการเมืองเผด็จการ หลอกลวง เป็นรูปแบบของการเมืองเผด็จการ

** ในเมื่อพันธมิตรฯ ประกาศว่าค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบหัวชนฝา มันจะทำให้เกิดการปะทะกันไหมหากมีการแก้ไขจริงๆ
ถ้าบอกว่าห้ามแก้ไขเลย แล้วเขาจะทำอย่างไร 70 : 30 ถ้าเขาไม่แก้รัฐธรรมนูญแล้วเขาจะได้มาได้อย่างไร เพราะในรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนไว้ คือเขาคงจะต้องแก้ไขในส่วนที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่พันธมิตรฯ เรียกร้องทั้งๆ ที่รู้ว่าแก้ปัญหาไม่ได้ แล้วเขาจะเรียกร้องอะไรกันแน่?
หรือว่า...เขาต้องการล้มกระดานอีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่าการต่อรองครั้งนี้อาจจะไม่ช่วยให้ประโยชน์มาตกที่เขา หรืออาจมองว่าเขาอาจจะไม่รอดจากการถูกลงโทษในทางกฎหมาย เลยต้องสู้เพื่อสร้างความวุ่นวาย หวังที่จะล้มกระดาน สร้างเงื่อนไขให้เกิดการรัฐประหารอีกครั้งหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหารเงียบหรืออะไรก็ตาม

***เรื่องเร่งด่วนของรัฐบาลชุดใหม่คืออะไร
เรื่องแรกต้องนำตัวผู้กระทำผิดทุกฝ่าย มาลงโทษ แล้วต้องเยียวยาให้กับสังคม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาคนว่างงาน ตกงาน เพราะต่อไปจะเป็นเรื่องใหญ่มาก และถ้ารัฐบาลชุดใหม่นี้ไม่ใช้นิติรัฐในการลงโทษคนที่บุกเข้าไปยึดสนามบิน หรือทุกฝ่ายที่ทำผิด ถือว่าเป็นรัฐบาลจอมปลอม เป็นละครอีกฉากหนึ่งเท่านั้น
ส่วนเรื่องรัฐธรรมนูญมันเป็นเหมือนเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่จะบอกว่าชอบธรรมหรือไม่ แต่สิ่งสำคัญคือว่า คู่ความขัดแย้งนั้นยังคงดำรงอยู่ บางคนไปโทษแต่รัฐธรรมนูญ มีอะไรต้องไปฉีกรัฐธรรมนูญ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2540 ดีไหม ดีแล้วเขาฉีกทำไมล่ะ

** ภาพความขัดแย้งหลังจากได้รัฐบาลชุดใหม่มันจะมีเพิ่มขึ้นหรือลดลง
อย่างที่บอกว่าถ้าไม่ดำรงความยุติธรรม ไม่คิดถึงอนาคตของประเทศ ไม่คิดถึงคนยากคนจน ไม่คิดถึงวิกฤติที่จะเกิดขึ้น อย่างไรรัฐบาลก็พัง อยู่ไม่ได้ เพราะมันจะเกิดวิกฤติซึ่งอาจจะย้ายข้างจากชนชั้นปกครองด้วยกัน มาเป็นชนชั้นปกครองกับประชาชนจริงๆ แล้วประชาชนในที่นี้ไม่ใช่ประชาชนที่ใส่เสื้อเหลืองแล้ว อาจจะไม่ใช่ประชาชนที่ใส่เสื้อแดง แต่เป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ คู่ความขัดแย้งจะเปลี่ยนไปเสมอ หากรัฐบาลใหม่ขึ้นมาแล้วไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้เลย ความขัดแย้งมันจะเปลี่ยนขั้ว ระหว่างความขัดแย้งของชนชั้นปกครองกับประชาชน เหมือนในอเมริกา
ส่วนการปะทะกันระหว่างสีเหลืองกับสีแดง คิดว่าคงไม่น่าจะเกิดขึ้น เพราะว่าฝ่ายสีแดงเขาน่าจะหลีกเลี่ยงการปะทะอยู่แล้ว เพียงแต่เขาก็อยากจะแสดงพลังว่าเขามีมวลชนสนับสนุนเหมือนกัน

** คิดอย่างไรหากพันธมิตรฯ จะตั้งพรรคการเมือง
อันนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าเขาคิดว่าเขามีอุดมการณ์ มีนโยบาย แล้วมีมวลชน โดยไม่ใช้อภิสิทธิ์อื่นๆ การตั้งเป็นพรรคการเมืองก็ยังดูดีกว่าที่จะมาใช้การกดดัน ใช้ความรุนแรง การตั้งพรรคการเมืองน่าจะดีกว่า เพราะว่าเขาจะต้องมีฐานเสียง จะต้องยอมรับการแข่งขัน ต้องอยู่ในกติกาของการเลือกตั้ง เพื่อเข้าไปสู่การเมืองในรัฐสภา ไม่ใช่ลักษณะที่เป็นอยู่ในตอนนี้ที่มันใช้อาวุธ ทำตัวนอกกฎหมาย และใช้ความรุนแรง กีดกันคนที่เห็นต่าง ใส่ร้ายคนที่เห็นต่าง ถึงขนาดพิธีกรบนเวทีบอกให้ฆ่าได้เลย คนที่ไม่ใช่พวกเราฆ่าได้เลย หรือว่ามีคนที่ประกาศออกมาว่าได้ตั้งหน่วยขึ้นมาแล้วเพื่อไปจัดการกับฝ่ายตรงข้าม ถ้าเขายังเป็นอย่างนี้ อันตรายมาก

***หากพรรคประชาธิปัตย์ขึ้นมาเป็นรัฐบาล มองว่าจะถูกกดดันทั้งสองข้างไหม ทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง
ต้องโดนอยู่แล้ว ขนาด คมช. หลังการรัฐประหารยังโดนเพราะว่าทำงานไม่ถูกใจ แล้วสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์จะทำ หากเข้าไปเป็นรัฐบาลจริงๆ เขายังถือนโยบายเสรีนิยมอยู่ดี ฉะนั้นมองว่ามันอยู่ยาก ไม่น่าจะอยู่นาน แก้วิกฤติไม่ได้คุณแย่แล้ว และคุณจะอยู่ด้วยการสร้างอิมเมจไม่ได้นะ จะบอกว่าให้ทุกคนจงรักภักดี หรือว่ารักชาติไม่ได้ หากคุณไม่มีนโยบายที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขวิกฤติ ปัญหามันจะเป็นปัญหาตลอด แล้วคุณจะไปปิดปากเขาด้วยเผด็จการ ฆ่าทุกคน มันไม่ได้ มันจะกลายเป็นสงครามกลางเมือง
คือเราต้องกลับไปดูในประวัติศาสตร์ ตอนที่ประเทศต่างๆ ในโลกเกิดวิกฤติ ในหลายๆ ประเทศเขาจะมีการแก้ไขปัญหาของเขา แล้วมีบางประเทศที่เขาทำผิด วิธีการแก้วิกฤติอีกวิธีคือการก่อสงคราม แล้วอันนั้นคือที่มาของสงครามโลก ถ้าไปดูในอดีตจะเห็นได้ว่าหลังวิกฤติเศรษฐกิจมันมีประเทศที่หาทางออกด้วยวิธีการก่อสงคราม แล้วเปลี่ยนอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมผลิตอาวุธ แล้วหากประเทศไทยไม่คำนวณเรื่องที่เกี่ยวกับปากท้องประชาชน คุณคิดเองแล้วกันว่าประชาชนกลุ่มนี้เขาจะลุกขึ้นมาโดยไม่ต้องมีใครไปปลุกระดม กรณีเดียวกันในกรีซ ในประเทศอังกฤษ เคยมี...แค่การชุมนุมเล็กๆ แต่ด้วยความไม่พอใจมันจะใหญ่ขึ้นได้

** แถลงการณ์ของพันธมิตรฯ ล่าสุดที่บอกว่าหากมีคนของระบอบทักษิณมาอยู่ใน ครม. ด้วยก็จะต่อต้านอีก
มันไม่จบอยู่แล้ว เพราะว่าเขาจะตีความว่าใครเป็นนอมินีอย่างไรก็ได้ ทุกวันนี้ยังสงสัยเลยว่าเมื่อก่อนคุณทักษิณสนิทกับ สนธิ ลิ้มทองกุล แล้ววันนี้มันแปลว่าอะไร คือเราต้องย้อนกลับไปดูประวัติด้วยนะว่าการที่เขาคบใครต่อใคร แล้ววันนี้เขาออกมาเคลื่อนไหว อาจารย์มองว่าเขาเคลื่อนไหวในนามของนายทุนสื่อ เขาไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนเลย แต่ละคนมีประวัติที่น่ากลัวทั้งนั้นเลย คือเขาแอบอ้างว่าเขาทำเพื่อประชาชน เพื่อการเมืองใหม่ซึ่งมันพิสูจน์อะไรไม่ได้เลย และหลักการมันไม่มี มันเหมือนหลักการของเผด็จการในอดีตซึ่งเราเคยมีบทเรียนมามาก อย่างในอินโดนีเซีย สมัย ซูฮาร์โต ที่เขาอยู่ได้หลายสิบปี เขาใช้รัฐบาลที่มีส่วนผสมของข้าราชการจำนวนมาก อย่างพรรคโกลคาร์ เป็นพรรคข้าราชการส่วนใหญ่ อันนี้เราดูได้เลยเพราะเป็นการเปรียบเทียบ

** การเอาผิดในข้อหาก่อการร้ายกับคนที่เข้าไปยึดสนามบินล่ะครับ
ต้องพิสูจน์กันนะคะ แล้วไม่อยากจะบอกว่าเราจะต้องพึ่งผู้พิพากษาที่ยุติธรรม แต่เราเห็นแล้วว่าที่ผ่านมามันเป็นอย่างไร ความเอนเอียง อะไรต่ออะไรที่บอกว่ามันดับเบิลสแตนดาร์ด ถ้าผู้พิพากษาท่านยังไม่มองถึงอนาคตที่ยาวไกล อย่างที่บอกตั้งแต่ต้นว่าไม่มีใครผิดเลย การชุมนุมเป็นการทำตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อเรียกร้องความยุติธรรม มันจะกลายว่าเป็นสแตนดาร์ด เป็นบรรทัดฐานต่อไป ในอนาคตใครอยากชุมนุมแบบนี้ ซึ่งถ้าศาลยอมรับได้ว่าจะให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก ตัดสินไปเลยว่าพันธมิตรฯ ไม่ผิด

** รัฐธรรมนูญ 2550 นี้ควรจะแก้ไขโดยเร็วหรือไม่
ควรจะยกเลิกทิ้งไปเลยทั้งฉบับ 2550 ถ้าเป็นไปได้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาปัดฝุ่นใช้กัน แล้วมาดูแก้ไขมาตราไหนได้บ้าง เพราะรัฐธรรมนูญปี 2550 มันมีหลายมาตราที่จำกัดสิทธิหลายอย่างมากมาย แถมยังมีวุฒิสมาชิกที่มาจากการคัดสรรอีก มันเป็นฉบับที่เร่งร่างของฝ่ายที่มาจากการรัฐประหาร มันจะเอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายเผด็จการ คือตัวพรรคประชาธิปัตย์เขาเห็นด้วยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว แต่เขาอาจจะไม่ไปแตะข้อที่เกี่ยวกับการกลับไปเอาผิดกลุ่มที่ทำรัฐประหาร รัฐธรรมนูญ 2550 มันมีหลายข้อที่ไปจำกัดสิทธิของพรรคการเมือง มันทำให้ดูว่านักการเมืองเลวหมด
อย่างเช่น กรรมการบริหารพรรคทำผิด ตัดสินให้ยุบทั้งพรรค ข้อนี้...แย่แล้ว มันเป็นการล่วงละเมิดสิทธิของสมาชิกพรรคคนอื่น แล้วไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน มีแต่ประเทศไทย คือมันเขียนขึ้นมาแบบมีเป้าหมาย มีเจตนาที่จะตัดตอนนักการเมือง ซึ่งต่อไปก็อาจจะเป็นแนวทางที่เสนอให้ข้าราชการหรือทหารเข้ามาทำหน้าที่แทน รัฐธรรมนูญ 2550 มันปูทางไว้อย่างนั้น