WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, December 19, 2008

ประชาธิปไตย

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน โดย ศุภชัย ใจสมุทร

ช่วงสัปดาห์ของการช่วงชิงจัดตั้งรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ประชาชนทั้งประเทศลุ้นกันว่าผู้ใดจะได้เป็นนายกรัฐมนตรี นั้น ผ่านกลับมีเวลาการได้อ่านหนังสืออย่างเต็มอิ่ม

ผมได้อ่านปาฐกถาเรื่อง “ประชาธิปไตยแบบไทย” ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ได้ทรงแสดงไว้ต่อบรรดาสมาชิกของสมาคมกิจการวิเทศสัมพันธ์และกฎหมายระหว่างประเทศแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2508 ว่า

“ประชาธิปไตย เป็นคำที่มีความหมายตรงกับคำว่า Democracy อยู่แล้ว คือ ประชา demos ซึ่งแปลว่าประชาชนและอธิปไตย kratia ซึ่งแปลว่าเป็นใหญ่ ประชาธิปไตย ก็แปลว่าประชาชนเป็นใหญ่ หรือถ้าจะไขความออกให้เต็มวาทะของ อับราฮัม ลินคอล์น ก็คือการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชนเป็นลักษณะที่สำคัญยิ่ง ที่ว่า “โดยประชาชน” นั้นในสมัยกรีกและโรมัน คือสมัยนครรัฐซึ่งพลเมืองมีจำนวนน้อย พอที่จะไปร่วมวินิจฉัยปัญหาในที่แห่งเดียวกันได้ และทาสก็ไม่นับว่าเป็นพลเมือง การที่ประชาชนจะปกครองประชาชนกันเอง ก็ย่อมทำได้ แต่ในสมัยปัจจุบันพลเมืองมากมายเป็นล้านๆ จึงทำไม่ได้ ต้องใช้วิธีเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ โดยมีกำหนดเวลา เช่น วาระละ 4 ปี เป็นต้น ฉะนั้น “โดยประชาชน” ย่อมหมายความว่า โดยประชาชนเลือกตั้งผู้แทนเข้ามาทำการแทน

ส่วนคำว่า “เพื่อประชาชน” นั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้ว เราต้องถือสาธารณประโยชน์ หรือประโยชน์สุขของประชาชนเป็นใหญ่

ตอนนี้ข้าพเจ้าขอเรียนให้ทราบว่า คริสโตเติล บิดาแห่งรัฐศาสตร์ได้กล่าวไว้อย่างไร เกี่ยวกับประชาธิปไตย คริสโตเติล ถือว่า วัตถุที่หมายของระบอบการปกครองก็คือ จะส่งเสริมสาธารณประโยชน์ จึงได้เรียงลำดับระบอบการปกครองต่างๆ นี้ไว้ เป็นแบบดีและไม่ดี ดังต่อไปนี้

เริ่มจากแบบดี ตามลำดับ คือ Royalty ราชาธิปไตย Aristocracy อภิชนาธิปไตย (ผู้ดีเป็นใหญ่) Constitutional Government การปกครองโดยรัฐธรรมนูญ

ส่วนแบบไม่ดี คือ Tyranny ทรราช Oligarchy อัปชนาธิปไตย (น้อยคนเป็นใหญ่) Democracy ประชาธิปไตยที่อริสโตเติลเรียงลำดับไว้เช่นนี้ ก็เพราะประชาธิปไตยในกรุงเอเธนส์ แล้วหาประโยชน์ของคนจน ซึ่งเป็นคนส่วนมาก แต่จุดประสงค์ที่ถูกต้องตามความเห็นของ อริสโตเติล ก็คือแสวงประโยชน์ส่วนรวม ถ้าอริสโตเติล ได้มาเห็นหลักราชาธิปไตยของไทยแล้วคงจะพอใจเป็นอันมาก เพราะถึงแม้ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระมหากษัตริย์ก็ทรงอยู่ในข้อผูกพันที่จะปกครองโดยธรรมและโดยอนุวัตรตามพระธรรมศาสตร์ เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม”

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้กล่าวเกี่ยวกับการเมืองในหนังสือ รัฐศาสตร์ 14 ฉบับ “ปฏิวัติและประชาธิปไตย” ตีพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ.2517 ไว้ว่า “การปกครองบ้านเมืองของมนุษย์มีกิเลสไม่ว่าจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยย่อมมีทั้งดีและเสีย เมื่อไทยเจริญก้าวหน้าที่สุดในสมัยราชกาลที่ 4 ที่ 5 มีการเลิกทาสได้โดยไม่มีการพลิกแผ่นดิน แต่สมัยนั้นเราปกครองกันด้วยระบอบพระเจ้าแผ่นดินทรงสมบูรณาญาสิทธิราชย์จัดอยู่ในระบอบเผด็จการ ในทางตรงกันข้าม เมื่ออเมริกาเลิกทาสต้องมีการพลิกแผ่นดินเกิดศึกกลางเมือง ฆ่าฟันกันตายมากกว่าที่อเมริกันไปตายในสงครามโลก แต่สมัยนั้นอเมริกาปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย

ในวิถีของมนุษย์มีกิเลส ขาวแท้ ดำแท้ ดีแท้ ชั่วแท้ จึงไม่มีโดยทั่วไป อะไรทั้งหมดมีแต่เหตุ คือทั้งดีและชั่ว ในบ้านเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และชินกับประชาธิปไตยดี อยู่ไปๆ ประชาธิปไตยยังพังลงไป เช่น สมัยฮิตเลอร์ปกครองเยอรมนี ทั้งนี้เพราะหมดศรัทธาในระบอบการปกครองมากเสียง ฟังไม่ได้ศัพท์ ทำอะไรเด็ดขาดไม่ได้ มัวแต่รักพี่เสียดายน้อง ข้าพเจ้าเคยคุยกับคนเยอรมันหลายคนว่า เผด็จการของฮิตเลอร์นั้นแหละดี เพราะฮิตเลอร์ฉีกสัญญาแวร์ซายส์ใต้ หางานให้คนทำได้ ทั้งหมดจึงอยู่ที่กาลเทศะ...

แก่นของประชาธิปไตย เป็นเรื่องของการปกครองโดยเสียงข้างมาก แต่ก็ไม่แน่ว่าเสียงของคนข้างมากจะดีเสมอไป ถ้าเอาโจร 500 คน กับพระ 5 องค์ มาอภิปรายลงมติกันว่า ปล้นเขาดีหรือไม่ดี การที่โจร 500 คน ผู้มีเสียงข้างมากลงมติว่า ปล้นเขาดี ไม่ได้แปลว่าเสียงข้างมากดีและถูกต้อง จะให้เป็นประชาธิปไตยที่ดี จึงต้องมากทั้งเสียง ความรอบรู้ ความจงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง การเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ไม่ใช่เสียงมากลากเข้ารกเข้าพง”

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ยังได้แสดงความเห็นที่น่าสนใจด้วยว่า “ความจริงในสมัยที่เมืองไทยเคยเป็นประชาธิปไตยแท้ๆ มีผู้แทนปวงชนเข้ามามีสิทธ์มีเสียงในการปกครองบ้านเมือง แทนที่ผู้แทนจะเข้ามาเป็นปากเป็นเสียงของประชาชน กลับเข้ามาเป็นปากเป็นท้องของประชาชนก็เคยมี มีอะไรกินหมด แม้กระทั่งจอบเสียมที่เขามอบให้ไปแจกแก่ชาวนาชาวสวน มือที่ชูกันลงมติในสภาสมัยหนึ่ง เหมือนเมืองเปรตขอส่วนบุญจากผู้กินเมืองโกงเมือง ประวัติการปกครองเมืองไทยที่แล้วมา ทำให้เห็นว่าการปกครองที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองไทยต่อไปข้างหน้า ถ้าเป็นไปได้แต่เพียงการปกครองชนิดที่ทำให้บ้านเมืองมีขื่อแปก็ดีถมไป...” จึงขออนุญาตนำมาถ่ายทอดให้อ่านกันเล่น โดยเฉพาะผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศครับ