WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, December 16, 2008

ข้อคิดจากพิธีเผาศพ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย


เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ผมได้ไปเผาศพ ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ ณ วัดพระศรีมหาธาตุ (วัดที่คณะราษฎรสร้างขึ้น) คงไม่ต้องบอกว่าท่านเป็นภริยาของ ท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้นำการปฏิวัติประชาธิปไตย 24 มิถุนายน 2475 เป็นบุคคลที่สร้างคุณูปการอย่างใหญ่หลวงแก่ประเทศไทยเกือบทุกด้าน ท่านผู้หญิงพูนศุขสิ้นชีวิตเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2550 พิธีเผาศพของท่านเป็นไปอย่างเรียบง่ายตาม “คำสั่งถึงลูกๆ ทุกคน” 10 ข้อ อันลือลั่นโดยเฉพาะ “ไม่ขอรับเกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น” “ ไม่สวดอภิธรรม” ผมได้ข้อคิดจากงานเผาศพท่านหลายประการ จึงใคร่นำมาเขียนสักอย่าง

แต่ก่อนอื่น ขอเริ่มด้วยเรื่องส่วนตัว ผมโชคดีที่ได้รู้จักกับท่านผู้หญิงพูนศุขมาตั้งแต่ท่านยังพำนักที่บ้านอองโตนี ชานกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ต่อมา ผมเรียกท่านว่า “คุณยาย” มาตลอด ท่านเมตตาผมและครอบครัวเสมอ เมื่อผมแต่งงานใหม่ๆ ไปกราบเรียนเชิญท่านเป็นประธานพิธีสมรส ท่านก็ยินดี จากการที่ได้รู้จักกับท่านผู้หญิงพูนศุข ผมรู้สึกและมีความคิดเห็นว่าท่านเป็นคนยิ่งใหญ่ มีความคิดจิตใจเปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม ความเข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว มีหลักการและความเชื่อมั่นประชาธิปไตยอย่างสูง สมเป็นภริยาคู่ชีวิต ของท่านปรีดี พนมยงค์

ใครที่ได้ศึกษาชีวประวัติของท่านปรีดี ย่อมรู้ว่าท่านปรีดีประสบปัญหาความไม่มั่นคงปลอดภัยในชีวิตมาตั้งแต่หลังการปฏิวัติ 2475 โดยถูกกลุ่มอำมาตยาธิปไตยทั้งในและนอกรัฐบาลใส่ร้าย ป้ายสี โจมตีท่านว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ต้องเดินทางไปอยู่ต่างประเทศพักหนึ่ง เมื่อกลับมา ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีหลายกระทรวง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นนายกรัฐมนตรี ครั้นเกิดคดีสวรรคต รัชกาลที่ 8 ท่านปรีดีก็ถูกใส่ร้ายว่าพัวพันกับคดีนี้ ในที่สุด ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยที่มีกลุ่มนายทหารซึ่งเรียกตัวเองว่า “คณะรักชาติ” ร่วมกับนักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกันโค่นล้มกลุ่มการเมืองของท่านโดยการทำรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 และมุ่งจับเป็นหรือตายท่านปรีดี จนทำให้ท่านต้องหลบหนีไปต่างประเทศ

รัฐบาลและคณะทหารได้กวาดล้างนักการเมืองกลุ่มท่านปรีดี ด้วยการจับกุมคุมขังและสังหารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังจากท่านปรีดีพยายามยึดอำนาจทางการเมืองเพื่อฟื้นฟูประชาธิปไตยล้มเหลว เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ที่เรียกกันว่า “ขบถวังหลวง” ท่านผู้หญิงพูนศุขถูกจับกุมเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2492 ในข้อหากบฏภายในและภายนอกราชอาณาจักร และถูกคุมขัง 84 วัน ท่านผู้หญิงพูนศุขแสดงความเข้มแข็ง ไม่เคยหลั่งน้ำตาเลย ภาพถ่ายที่ท่านเดินนำหน้าตำรวจในวันถูกจับ ย่อมยืนยันลักษณะนี้ของท่านอย่างชัดเจน

ภาพถ่ายนี้ เจ้าภาพได้อัดเป็นรูปขนาดใหญ่นำมาตั้งหน้าแท่นพิธีให้ญาติมิตร ลูกหลานและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยไว้ความอาลัย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ปีที่แล้ว และในพิธีเผาศพได้นำมาตั้งไว้หน้าเมรุ ในขณะที่เดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์ ผมได้พูดกับคนที่รู้จักว่า ภาพถ่ายนั้น เจ้าภาพคงต้องการบอกว่าท่านผู้หญิงพูนศุขถูกจับกุมโดยคณะเผด็จการ ท่านผู้หญิงเป็นนักประชาธิปไตย และต่อต้านเผด็จการ ไม่รู้ว่าคนที่กำลังเดินขึ้นไปวางดอกไม้จันทน์โดยเฉพาะคนที่เห็นด้วยกับรัฐประหาร สนับสนุนเผด็จการทหารของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติหลายสิบคน เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายประสาร มฤคพิทักษ์ จะรู้สึกหรือคิดอย่างไร

นี่ยังไม่พูดถึงว่าครอบครัวของท่านผู้หญิงพูนศุขเป็นครอบครัวของ ท่านปรีดี พนมยงค์ ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตย ถูกรังแก ทำร้ายจากพวกอำมาตยาธิปไตย ต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างประเทศกว่า 30 ปี บรรดาคนที่เคยสนับสนุนเผด็จการ แล้วก็ยังอยู่ฟากอำมาตยาธิปไตยใส่เสื้อเหลือง มาเผาศพท่าน มีสักกี่คนที่คิดว่าตนมาร่วมพิธีเผาศพนักประชาธิปไตยผู้ยิ่งใหญ่ คู่ชีวิตของ ท่านปรีดี พนมยงค์ จะรำลึกนึกถึงและสืบทอดภารกิจของท่านทั้งสองอย่างไร
มิใช่เพียงแต่ถอดเสื้อเหลืองใส่ชุดดำมาร่วมพิธีตามประเพณีเท่านั้น