WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, December 20, 2008

กวีเขียนให้คนอ่าน กวีอ่านให้คนฟัง ( คอลัมน์ : เราต่างมาจากทั่วสารทิศ : วิสา คัญทัพ )

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : เราต่างมาจากทั่วสารทิศ
วิสา คัญทัพ

เมื่อผมเขียนบทกวีลงในหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ รายวัน มีผู้คนติดตามอ่านอยู่พอสมควร เขียนมาได้หลายเดือน แฟนที่เป็นขาประจำตามอ่านมีมากขึ้น จากนั้นผมทดลองอ่านบทกวีรายวันดังกล่าวผ่านรายการ “กุญแจเมืองไทย” ทางคลื่นวิทยุวิสดอมเรดิโอ เอฟเอ็ม 105 ที่ผมจัดร่วมกับ คุณอดิศร เพียงเกษ และ คุณไพจิตร อักษรณรงค์ มีแฟน SMS ชมชอบอยู่ไม่น้อย
ต่อมาได้นำบทกวีบางบทไปอ่านบนเวที “ความจริงวันนี้สัญจร” ซึ่งจัดกันที่ราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ปรากฏว่าได้รับการตอบรับจากประชาชนเรือนแสนด้วยเสียงปรบมือโห่ร้องชื่นชมอย่างกึกก้อง เป็นการนำเสนอผลงานที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเป็นที่สุด
ล่าสุดได้อ่านบทกวีเปิดนำรายการ “ความจริงวันนี้สัญจรภาคพิเศษ” อีกครั้งที่วัดสวนแก้ว คราวนี้มีแฟนๆ มากมายมาถามว่ามีการรวบรวมบทกวีชุดนี้พิมพ์เป็นเล่มหรือยัง เมื่อตอบว่ายังก็มีเสียงเรียกร้องให้จัดพิมพ์เป็นเล่มได้แล้ว
อันที่จริงการเขียนบทกวีลงในหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ รายวัน ของผม ถือเป็นงานทดลอง เริ่มจากความคิดที่เห็นนักเขียนการ์ตูนการเมืองเขียนรายวันได้ กวีก็น่าจะมีมุมมองการเมืองที่ทันสถานการณ์ และเขียนบทกวีทุกวันได้เช่นกัน โดยผมกำหนดเบื้องต้นเป็นกลอนสุภาพ ความยาวราว 5 บท ทำต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ผมได้คัดบางบทที่คิดว่าเนื้อหาไม่เข้มแข็งออกไปบ้าง ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาอารมณ์ร่วมในสถานการณ์ปัจจุบันเอาไว้ เป็นภาพสะท้อนแห่งยุคสมัยของความขัดแย้งที่ดำรงอยู่ ซึ่งแน่นอนว่ากวีย่อมต้องแสดงทรรศนะที่เป็นส่วนตัวออกมาว่าคิดเช่นใด อันอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับความคิดเห็นของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ในยุคสมัยแห่งการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอันลึกลับซับซ้อนจากสภาพสังคมแบบไทยๆ อาจต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าความจริงบางประการจะคลี่คลายออกมา
ผมจงใจที่จะใช้คำว่า “กวีศรีประชา” เรียกขานตัวเองในลักษณะปราบดาขึ้นมาเป็น ประการหนึ่งเพราะเขียนบทกวีต่อเนื่องมายาวนานกว่า 30 ปีแล้ว ทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ และผลงานอันมากมายก็บริบูรณ์เพียงพอที่จะไม่ต้องขัดเขิน เอียงอาย จะเรียกขานตัวเองในตำแหน่งที่ไม่ได้นำลาภยศอะไรให้มากมาย
อีกประการหนึ่ง รูปงานของตนเองที่สำแดงออกมาอย่าง “เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” นั้นเป็นเสมือนงานที่มอบกายถวายตัวและหัวใจให้กับประชานอย่างสุดจิตสุดใจ แม้งานที่ทำต่อเนื่องตลอดมาก็ดำเนินไปตามแนวทางประชาชนมิเสื่อมคลาย ยิ่งในท่ามกลางการต่อสู้อันสลับซับซ้อนเช่นนี้ การวิเคราะห์ความขัดแย้งทางสังคมมีความสำคัญอย่างมากในการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประชาชนได้อย่างไม่ผิดพลาด ขอให้พิจารณาข้อความต่อไปนี้
“เราจะยืนยันหรือไม่ว่า ประชาชน ไม่ว่าจะยากดีมีจน มีการศึกษาตามระบบหรือไม่ มีสกุลรุนชาติหรือไม่ จักต้องมีสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม อย่างเท่าเทียมกัน แต่ถ้าพิจารณาให้ดี เราจะพบว่าหาใช่มีทางเลือกเพียง 2 ทางเท่านั้น มีคนบางส่วนเสนอทางเลือกที่สาม ประเภท ไม่เอาทั้ง 2 ทาง ซึ่งฟังเผินๆ ดูดี กล่าวคือ พยายามทำตัวให้ลอยอยู่เหนือความขัดแย้งอย่างไม่ยอมชี้ผิดชี้ถูก และใช้หลักสงวนท่าที ไม่ก้าวล่วง (ทั้งเน้นว่าในที่สุดจะต้องมีฝ่ายแพ้ฝ่ายชนะ) โดยยินดีต้อนรับทั้งฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะ
ทรรศนะเช่นนี้ดูเหมือนดี เราอาจนำไปใช้กับแกนนำที่หลงผิด ถูกหลอกลวงจากแกนนำปฏิกิริยา แต่ต้องพิจารณาว่าสมควรนำมาใช้กับผู้ที่เรียกตัวเองว่าเป็น “ผู้นำมวลชนที่ยืนอยู่บนจุดยืนของพรรคชนชั้นกรรมาชีพ” ได้หรือไม่
นี่เท่ากับแสดงว่า ในระยะนี้ที่คู่ความขัดแย้งของชนชั้นปกครองแปรเปลี่ยนขึ้นมาเป็นคู่ขัดแย้งหลักในระยะปัจจุบันนั้น ยังมองไม่เห็นด้านครอบงำและด้านหลักของความขัดแย้ง กล่าวถึงที่สุดคือ ไม่มีความรู้ที่จะระบุ หรือไม่กล้าระบุอุปสรรคด้านหลักของสังคมในเวลานี้ได้ ฉวยโอกาสโลเล ไม่เอาทั้ง 2 ข้างเวลานี้ ขอลอยตัวโดยอ้างว่าไม่ยอมเลือกทางไหน (พวกสองไม่เอา) ผลจากการเลือกอย่างนี้ก็คือ การเลือกสนับสนุนระบอบอำมาตยาธิปไตยนั่นเอง เพราะเท่ากับช่วยเหลือผู้กระทำที่เป็นด้านหลักของคู่ขัดแย้งอย่างจงใจ แม้จะดูคล้ายกับว่าดีกว่าเลือกข้างระบอบอำมาตยาธิปไตยอย่างเปิดเผย โดยการไปสนับสนุนกลุ่มพันธมิตรฯ และไม่อยากเป็นนั่งร้านของทุนนิยม
แต่ขอให้มิตรสหายวิเคราะห์ให้ลึกซึ้งว่า นี่เป็นทรรศนะลัทธิฉวยโอกาสที่ไม่อาจตัดสินใจได้ว่า เส้นทางใดก้าวหน้า หรือถอยหลัง ใช่หรือไม่ และปล่อยให้การต่อสู้ของประชาชนถูกนำพาโดยชนชั้นปฏิกิริยาเท่านั้น โดยเราไม่เข้าไปมีส่วนร่วมถากถางทางให้การต่อสู้ของประชาชนไปในทิศทางที่ก้าวหน้า
ในสภาพเช่นนี้ ขบวนการฝ่ายประชาชนที่ก้าวหน้าก็จะถูกมวลชนทอดทิ้ง กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม แปลกแยก ในท่ามกลางการต่อสู้ของประชาชน และกระแสการต่อสู้ที่กำลังพุ่งแรงเพิ่มขึ้น ย่อมไม่รอคอยการนำที่ไม่มีการนำอีก หรือการนำที่หลงทิศผิดทางไม่สอดคล้องกับยุคสมัย กระแสธารการต่อสู้ของประชาชนก็จะถาโถมท่วมทับพวกที่ผิดพลาดจนจมมิด ไม่อาจโผล่ขึ้นมาได้อีกต่อไป
ถึงเวลาที่การศึกษาต้องควบคู่ไปกับการปฏิบัติของการต่อสู้ของมวลชน และสร้างองค์ความรู้ใหม่ ไม่ใช่จากการอ่านและการถกเถียงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังต้องเกิดจากการปฏิบัติท่ามกลางการต่อสู้ค้นคว้าจากประสบการณ์ตรง และจากลักษณะพิเศษของสังคมไทยด้วย
มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นพวกลัทธิคัมภีร์ที่นั่งบนยอดภู ยอดดอย และกระโดดติดปีกบินจากลูกภูลูกหนึ่งไปยังอีกลูกหนึ่ง เพ้อฝันว่าจะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยไม่ต้องลงแรงร่วมการต่อสู้กับมวลอย่างเสียสละ ยากลำบาก เพราะกลัวผิด กลัวสกปรก เปรอะเปื้อน” (ธ.ถาวร-ผู้เขียน /1 ธ.ค.2551)
แน่นอน ธ.ถาวร จะเป็นใครก็ช่าง สำหรับผมย่อมถือท่านเป็นสหายที่มีความคิดคล้ายกัน ความคิดชี้นำเช่นนี้ช่วยสร้างหวังและกำลังใจให้ “กวีศรีประชา” ผู้ต่ำต้อยด้อยค่าได้ก้มหน้าทำงานต่อไป

ต่อไปขอคัดคำนำของสำนักพิมพ์แถมท้ายอีกสักหน่อย

แม้บทกวีการเมืองมิใช่อาวุธที่ใช้รบพุ่งในสงคราม แต่พลานุภาพของบทกวีก็สามารถปลุกจิตใจให้ฮึกห้าวเหิมหาญ ปลอบประโลมขวัญ สร้างหวังกำลังใจ สร้างพลังแห่งการต่อสู้ ตราตรึงอยู่ในความทรงจำมิรู้ลืม
บทกวีที่ “กวีเขียนให้คนอ่าน” กับ “กวีอ่านให้คนฟัง” จึงให้อรรถรสที่ต่างกัน
วิสา คัญทัพ เป็นกวีที่มีความสามารถทั้งการเขียนและการอ่าน เขาเป็นกวีที่รู้อารมณ์และจังหวะของถ้อยคำ รู้เบา รู้หนัก รู้เน้น รู้ผ่อนคลาย รู้ย้ำ รู้เสริม รู้เติม และรู้หยุด นอกจากจะเป็นกวีที่มีแบบฉบับเฉพาะตนแล้ว เสน่ห์สำคัญยังอยู่ที่น้ำเสียงและลีลาอันทรงพลังในการอ่าน โดยเฉพาะบนเวทีในที่ชุมนุมชนจำนวนมาก ความเป็นอดีตผู้นำนักศึกษาที่คุ้นเคยกับเวที และม็อบ ทำให้เขาเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกของมวลชน ประชาชนชื่นชมการอ่านบทกวีของ วิสา คัญทัพ โดยเฉพาะการหยิบเอาบทกวีที่เขียนลงในหนังสือพิมพ์ประชาทรรศน์ รายวัน มาอ่านในรายการความจริงวันนี้สัญจร ที่ราชมังคลากีฬาสถาน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ต่อเนื่องมาถึงการอ่านบทกวีที่ลานคนเมือง หน้าที่ว่าการกรุงเทพมหานคร ในการชุมนุมของกลุ่มผู้สวมเสื้อสีแดง
เมื่อ 14 ตุลาคม 2516 วิสา คัญทัพ ประกาศจุดยืนและอุดมการณ์ของเขาผ่านบทกวีวรรคทองอันรู้จักกันทั้งประเทศว่า

“ไม่มีอำนาจใดในโลกหล้า ผู้ปกครองต่างมาแล้วสาบสูญ
ไม่มีใครล้ำเลิศน่าเทิดทูน ประชาชนสมบูรณ์นิรันดร์ไป
เมื่อยืนหยัดต่อสู้ผู้กดขี่ ประชาชนย่อมมีชีวิตใหม่
เมื่อท้องฟ้าสีทองผ่องอำไพ ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน”

กว่า 35 ปี วิสา คัญทัพ เขียนบทกวีมาโดยต่อเนื่อง ทั้งรังสรรค์บทเพลงแนวลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพื่อชีวิต ไว้มากมายหลายร้อยเพลง ตลอดจนผลงานบทกวีอีกหลายเล่ม ย่อมยืนยันได้ว่า เขาไม่เพียงแต่เกิดมาเป็นกวี หากแต่ยังเป็นกวีที่ประชาชนธรรมดาสามัญให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น วิสา คัญทัพ ไม่เคยได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใดๆ วันนี้เขาพอใจและประกาศปราบดาตนเองเป็น “กวีศรีประชา” อย่างภาคภูมิใจ

สังคมที่ไม่เคารพสัจจะ ของที่ไม่ใช่สัจจะอาจขายได้ เมื่อวิสาเลือกทางสร้างงานที่เป็นสัจจะ งานของเขาจึงขายยากมาตลอด จนวันนี้สังคมต้องการสัจจะ บทกวีของเขาก็ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ไม่ต้องขายในระบบปกติตามกลไกการตลาดที่วางแผงขายทั่วไปตามร้านหนังสือ หากแต่ “ทำเองขายเอง” นี่แหละ

หนังสือ “กวีศรีประชา” เล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นตามคำเรียกร้องของประชาชน คัดสรรมาจาก “ประชาทรรศน์ รายวัน” หลายบทที่ท่านชื่นชอบปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้แล้ว ไม่น่าจะขัดเขินแต่อย่างใด สำหรับกวีที่ประกาศว่า “ประชาชนย่อมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน” จะขออนุญาตเป็น “กวีศรีประชา”

เฮ้ย กูเป็นกวีศรีประชา ปราบดาขึ้นมาด้วยกล้าหาญ
อำมาตยาธิปไตย เผด็จการ กูยืนหยัดต้านทานจนสุดฤทธิ์
เฮ้ย กูเป็นกวีศรีประชา ด้อยอำนาจวาสนาแต่มีสิทธิ์
เสรีภาพเต็มที่แห่งชีวิต ในความคิดประชาธิปไตย
เฮ้ย กูเป็นกวีศรีประชา จะสรรหาเทวดามาจากไหน
ก็มิอาจไว้เนื้อและเชื่อใจ ประชาชนต้องเป็นใหญ่ในแผ่นดิน
เฮ้ย กูเป็นกวีศรีประชา เจตนารมณ์ สิบสี่ตุลาฯ มิสูญสิ้น
ทั้งวิญญาณ คนกล้า พฤษภาทมิฬ อย่าทรยศชีวิน วีรชน
เฮ้ย กูเป็นกวีศรีประชา แสงดาวแห่งศรัทธาสว่างหน
กูจะร่วมรบรุกกับทุกคน ต้านเผด็จการปล้นประเทศไทย