WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 18, 2008

เกิดมาทำไม (1)


คอลัมน์ : คิดในมุมกลับ

โดย ปฏิญา ยอดเมฆ


เดอะ บริดจ์ (The Bridge) เป็นภาพยนตร์สารคดีที่กำลังเป็นที่ฮือฮาในโลกภาพยนตร์ ขอถือวิสาสะแปลและเพิ่มเติมเป็นชื่อไทยเอาเองว่า “สะพานมรณะ” เหตุที่เรียกอย่างนี้เพราะเป็นภาพยนตร์ที่จับภาพเหตุการณ์คนกระโดดสะพานฆ่าตัวตายซึ่งเกิดขึ้นจริง

สะพานดังกล่าวคือ สะพานโกลเดนเกต ในอเมริกา เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างซานฟรานซิสโกกับแหลมมาริน เคยติดอันดับเป็นสะพานแขวนที่ยาวที่สุดในโลก (แต่ปัจจุบันอยู่อันดับ 7 โดยที่ 1 คือ สะพานอากาชิ ไคโก ประเทศญี่ปุ่น) นอกจากยาวติดอันดับโลก สะพานโกลเดนเกตยังเป็นเจ้าของสถิติที่ไม่มีใครพึงปรารถนาคือเป็นสถานที่ยอดนิยมของคนสิ้นหวังที่จะมากระโดดน้ำฆ่าตัวตาย ด้วยความสูงระดับ 70 เมตร!) และรอบ 8 ปีที่ผ่านมา มีคนฆ่าตัวตายที่สะพานนี้กว่า 1,200 คน !

เอริก สตีล ผู้กำกับเรื่องนี้ ใช้วิธีติดตั้งกล้องไว้ที่ปลายสะพานทั้งสองข้าง เฝ้าคอยบันทึกเหตุการณ์นับ 1,000 ชั่วโมงว่าจะมีใครหรืออะไรเกิดขึ้นที่สะพานอาถรรพ์แห่งนี้ ผลก็คือกล้องได้จับภาพคนมาฆ่าตัวได้กว่า 20 คน โดยกว่า 10 คนในนั้น ถูกช่วยเหลือและเกลี้ยกล่อมโดยเจ้าหน้าที่ไว้ได้ทันท่วงที

แน่นอนว่าหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในวงกว้างก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาทั้งดีและร้าย ที่ร้ายก็เพราะคนที่อ่อนไหวและตื่นตูมรีบกล่าวหาว่าเรื่องนี้จะเป็นการ “ชี้โพรงให้กระรอก” ให้ผู้คนมีพฤติกรรมเลียนแบบไปฆ่าตัวตาย (ที่สะพานนี้) กันมากขึ้น ตรงกันข้ามกับนักจิตวิทยาบางท่านที่กลับมองอีกมุมว่านี่จะเป็นการได้ทำความเข้าใจปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายของมนุษย์เพื่อหาทางป้องกัน เพราะที่นักจิตวิทยาพูดตรงกันเสมอมาอย่างหนึ่งก็คือ ผู้ที่จะฆ่าตัวตายไม่ว่าจะดูปกติแจ่มใสหรือร่าเริงสักปานใด แต่ไม่มากก็น้อยจะต้องมี “สัญญาณบอกเหตุ” เตือนก่อนหน้านั้นอยู่ร่ำไป หรือบางคนเรียกว่าสัญญาณขอความช่วยเหลือ ( s.o.s ) ซึ่งคนที่กำลังมีปัญหาจะบ่งบอกสัญญาณนั้นไปสู่คนรอบข้างทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ หากคนรอบข้างสังเกตและเอาใจใส่ ก็อาจจะช่วยบำบัดความเครียดที่กำลังก่อตัวขึ้นก่อนที่โศกนาฏกรรมจะมาถึง ตรงกันข้าม บางคนนอกจากไม่มีที่พึ่งทางใจ คนรอบข้างก็ยังซ้ำเติมให้สิ้นหวังกับชีวิต เช่น พูดจากล่าวหาว่าไร้ค่า ไร้ประโยชน์ ชีวิตนี้ไม่มีความหวัง บางคนก็เสียดสีว่าคนๆ นั้นเรียกร้องความสนใจไปอย่างนั้นเอง (ไม่ต้องไปสนใจมันหรอก) จึงนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด

บางคนอาจกล่าวว่าการฆ่าตัวตายเป็นเพียงเรื่องของคนที่ไม่รักตัวเอง จึงไม่สมควรที่คนอื่นๆ จะไปรักชีวิตแทนเขา แต่อีกด้านหนึ่งมันกำลังกลายเป็นปัญหาสังคม โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่งที่ต้องสูญเสียทรัพยากรบุคคลอันมีค่ามากมายให้กับการฆ่าตัวตาย...

(อ้างอิงข้อมูลจาก the Bridge : เรียนรู้จิตวิทยาผ่านหนัง: เปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์: นิตยสารไบโอสโคป)