WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, November 18, 2008

ลักษณะอันไม่ชอบด้วยหลักนิติธรรมของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550


คอลัมน์ : ประชาทรรศน์วิชาการ

โดย คณิน บุญสุวรรณ


นอกเหนือจากที่มาอันไม่ชอบธรรมและกระทบต่อภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือของประเทศไทยในสายตาชาวโลก ฐานที่เกิดจากการรัฐประหารล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน อย่างที่เรียกว่า “มาจากปลายกระบอกปืน” แล้ว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ยังมีลักษณะอันไม่ชอบธรรมและขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมอีกหลายประการ อันอาจนำไปสู่วิกฤติและความล่มสลายของระบบการเมืองได้ ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง ส.ว. ประเภทสรรหาจำนวน 74 คน กรรมการการเลือกตั้งจำนวน 5 คน กรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 9 คน ผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวน 3 คน รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งใช้อำนาจของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทั้งหมดนี้ ดำรงตำแหน่งและใช้อำนาจเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่เคยได้รับโปรดเกล้าฯ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และตามประเพณีปฏิบัติของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งได้สืบทอดมายาวนาน

ประการที่สอง คณะกรรมการสรรหา ส.ว. จำนวน 7 คน ซึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการจัดทำบัญชีรายชื่อ ส.ว. ประเภทสรรหา จำนวน 74 คนนั้น ไม่ได้มีความยึดโยงและรับผิดชอบต่อผู้ใดหรือองค์กรใด ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตยของชาติทั้งสาม ทั้งยังไม่มีการลงนามรับสนองพระบรมราชโองการเพื่อแสดงความรับผิดชอบใดๆ อีกด้วย

ประการที่สาม จงใจใช้บทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ เป็นกลไกในการสืบทอดอำนาจของคณะปฏิรูปการปกครองฯ ซึ่งแปลงสภาพเป็น คมช. เพื่อให้บุคคลทั้งหลายทั้งหมดที่คณะปฏิรูปการปกครองฯ ตั้งไว้ภายหลังการรัฐประหาร ได้ครองตำแหน่งในทุกองค์กรที่ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน หรือแม้แต่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งทั้งหมดนี้ สามารถสืบเนื่องและต่อเป็นจิ๊กซอว์ไปถึงการตั้ง ส.ว. สรรหา 74 คน เพื่อเอาไว้เป็นฐานหลักในการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่อยู่ฝ่ายตรงกันข้าม เพราะประธานของทั้ง 4 องค์กร ดังกล่าว เป็น 4 ใน 7 คณะกรรมการสรรหา ส.ว. นอกเหนือจากการเปิดช่องไว้ในบทเฉพาะกาลให้ ส.ว. สรรหาชุดแรกอยู่ในตำแหน่งได้ครึ่งวาระ คือ 3 ปี เพื่อที่จะทำการตรวจแถวว่ามี ส.ว. สรรหาคนใดบ้างที่แตกแถว เพื่อที่จะลบชื่อออกไป และจะได้นำบุคคลที่เคยอยู่ในคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และแกนนำบางคนของ คมช. เข้ามาเป็น ส.ว.สรรหา ซึ่งจะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้ 6 ปี ในขณะที่ ส.ว. สรรหาในปัจจุบัน ประเภท “สายตรง” ซึ่งมีอยู่ประมาณ 40 คน ก็จะได้รับการสรรหาให้เป็น ส.ว. ชุดใหม่อีก 6 ปี รวมเป็น 9 ปี และที่สำคัญ บุคคลทั้งหลายทั้งหมดที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ รวมทั้งมีตำแหน่งและใช้อำนาจเต็มตามรัฐธรรมนูญโดยบทเฉพาะกาล ก็จะได้รับความคุ้มครองโดยการนิรโทษกรรมล่วงหน้า ชนิดที่เรียกว่า “ทำอะไรไม่ผิด” ไปตลอดอายุการใช้บังคับของรัฐธรรมนูญ 2550 เลยทีเดียว ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในบทเฉพาะกาล มาตรา 309

ประการที่สี่ จงใจสร้างหมวดขึ้นใหม่ในรัฐธรรมนูญ เพื่อสถาปนา “อำนาจที่สี่” ที่ใช้ชื่อว่า “องค์กรอิสระ” และ “องค์กรตามรัฐธรรมนูญ” เพื่อให้มีความยึดโยงอย่างเหนียวแน่นกับสถาบันศาลยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลฎีกา ในอันที่จะร่วมกันควบคุมและจัดการกับฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝ่ายบริหาร “อำนาจที่สี่” ที่ว่านี้ เป็นไปตามสูตร 4 + 3 กล่าวคือ 4 องค์กรอิสระ ได้แก่ กกต. ป.ป.ช. คตง. และผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่วนอีก 3 ได้แก่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งองค์กรอัยการ ซึ่งได้รับการยกฐานะให้คล้ายๆ จะเป็น องค์กรอิสระกับเขาด้วย

ปัญหาก็คือ องค์กรต่างๆ เหล่านั้น แม้อ้างว่าเป็นอิสระ แต่ก็เป็นอิสระและไม่ยึดโยงหรือรับผิดชอบต่อฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องที่มา องค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ แต่ในทางกลับกันกับมีความยึดโยงและรับผิดชอบต่อฝ่ายตุลาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลยุติธรรมและศาลฎีกาอย่างเหนียวแน่น ชนิดที่เรียกว่าเป็น “บ้านพี่เมืองน้อง” เลยทีเดียว โดยเฉพาะถ้าดูจากข้อเท็จจริงที่ว่า 5 ใน 7 ของคณะกรรมการสรรหา กกต. ป.ป.ช. ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ล้วนมาจาก “ศาล” ทั้งสิ้น ยิ่งถ้านำไปโยงกับบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวข้องกับการสืบทอดอำนาจของ คมช. ด้วยแล้ว ก็ทำให้แลเห็นว่า “อำนาจที่สี่” และฝ่ายตุลาการ รวมทั้งอดีต คมช. นั้น มีความยึดโยง เกี่ยวพัน และรับผิดชอบต่อกันอย่างเหนียวแน่นและเป็นเอกภาพ ซึ่งสะท้อนออกมาในภาพของ “ตุลาการภิวัตน์” อันลือลั่นนั่นเอง

ประการที่ห้า จงใจทำลายหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยของชาติออกเป็น 3 ฝ่าย ซึ่งต้องเป็นอิสระและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน โดยนอกจากจะสถาปนา “อำนาจที่สี่” ขึ้นให้มีฐานะคล้ายๆ กับเป็น “เมืองหน้าด่าน” ของกระบวนการตุลาการภิวัตน์แล้ว ยังยกให้ฝ่ายตุลาการมีอำนาจมากกว่าและสามารถควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารอีกด้วย นอกจากนั้น การที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้ศาลเสนอกฎหมายเองได้ ขอแปรญัตติเพิ่มเติมงบประมาณเองได้ หรือบางครั้งถึงขั้นสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือตัวบทกฎหมายเองได้ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางรัฐสภา หรือในบางจังหวะอาจถึงขั้น “คว่ำ” กฎหมายเองได้นั้น ไปไกลเกินกว่าความหมายของคำว่า “ตุลาการภิวัตน์” มากทีเดียว เพราะเท่ากับว่าศาลซึ่งเป็นฝ่ายตุลาการ นอกจากจะสามารถควบคุมฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติได้แล้ว ยังสามารถก้าวล่วงเข้าไปใช้อำนาจบางส่วนของฝ่ายบริหารและบางส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติได้อีกด้วย

ประการที่หก จงใจที่จะขัดขวางการใช้เสรีภาพของประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมืองและทำลายความน่าเชื่อถือของฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งบั่นทอนขวัญและกำลังใจของนักประชาธิปไตยและประชาชนในระดับรากหญ้า เรียกว่า พยายามที่จะมุ่งล้างเผ่าพันธุ์ “นักการเมืองอาชีพ” ให้หมดไปจากพื้นที่การเมืองในประเทศไทยเลยทีเดียว ทั้งนี้ โดยให้อำนาจแก่ กกต. และศาลฎีกาที่จะสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งคนใดก็ได้ เพียงแต่มีหลักฐานอันควรเชื่อว่าได้รับเลือกตั้งมาด้วยการซื้อเสียงหรือฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง ต่อจากนั้นก็จะโยงไปถึงหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคที่เชื่อว่ามีส่วนรู้เห็น ซึ่งจะทำให้คนเพียงหยิบมือเดียว อย่าง กกต. อัยการสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจเด็ดขาดที่จะสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น จนเลยเถิดไปถึงขั้นสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ที่เรียกว่า “ทำผิดคนเดียวยุบทั้งพรรค” นั่นแหละ

นอกจากนั้น ยังจงใจที่จะ “แปลงสาร” เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในเรื่องการต่อต้านรัฐประหาร และการสั่งยุบพรรคการเมืองที่มีส่วนรู้เห็นหรือมีส่วนร่วมกับการรัฐประหารอันเป็นเจตนารมณ์หลักของรัฐธรรมนูญ 2540 แล้วอุปโลกน์ให้เป็น “ดาบเพชฌฆาต” ที่ตั้งชื่อเสียไพเราะเพราะพริ้งว่า “สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ” ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเรื่องการคุกคามรัฐธรรมนูญและเสรีภาพทางการเมืองของประชาชนมากกว่า ทั้งนี้ แทนที่รัฐธรรมนูญจะให้สั่งยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของพรรคการเมืองที่มีส่วนร่วมกับการรัฐประหาร กลับให้สั่งยุบพรรคและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกโค่นล้มโดยการรัฐประหาร ในขณะที่ปล่อยให้พรรคการเมืองและกลุ่มที่ร่วมกันทำรัฐประหารลอยนวล เสมือนหนึ่งเป็น “กลุ่มอภิชน” ของประเทศ อะไรปานนั้น

ประการที่เจ็ด เห็นได้ชัดว่าเป็นการบัญญัติกฎหมายที่มุ่งจะให้ใช้บังคับเพื่อเอื้อประโยชน์และปกป้องคุ้มครองคนบางคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาองค์กรหรือบุคคลที่เคยมีส่วนร่วมในการรัฐประหารและได้รับแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในขณะที่มุ่งหมายให้ใช้บังคับในทางที่เป็นโทษและเป็นผลกระทบในทางลบต่อคณะบุคคลบางคนบางกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บรรดาผู้ที่ถูกโค่นล้มจากอำนาจโดยการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ไม่เว้นแม้แต่กลุ่มคนที่ถูกสงสัยว่าจะเป็น “นอมินี” ของอดีตผู้นำประเทศซึ่งถูกโค่นล้มไป ทั้งนี้ โดยไม่รู้จักแยกแยะระหว่างเรื่องของ “หลักการ” กับเรื่องของ “ตัวบุคคล”

ประการที่แปด จงใจที่จะออกแบบรัฐธรรมนูญให้เป็นเหมือนสมรภูมิรบ ซึ่งฝ่ายต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์ต่อกัน สามารถหยิบฉวยอาวุธหรือเครื่องมือกลไกต่างๆ ไปใช้ในการเข่นฆ่าหรือทำลายศัตรูในทางการเมือง จนสร้างความร้าวฉานกันไปทั่วทั้งสังคม โดยมีบุคคลที่อยู่นอกรัฐธรรมนูญเป็นผู้ชักใยอยู่เบื้องหลัง โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายทั้งสิ้นที่เกิดขึ้น เป้าหมายเพียงต้องการให้ผู้คนในบ้านเมืองเกลียดกลัวการเมือง ชิงชังนักการเมือง และดูแคลนประชาชนระดับรากหญ้า โดยหารู้ไม่ว่าทั้งหมดที่ออกแบบมานั้น มีแต่จะนำไปสู่ความไม่สงบสุขในบ้านเมือง การแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของคนในชาติ ทำลายศักยภาพของคนไทย ทำให้ประชาชนอ่อนแอ พรรคการเมืองอ่อนแอ และประเทศอ่อนแอ

ประการที่เก้า ใช้เล่ห์กลอันแยบยลในการบัญญัติกฎหมายที่จงใจจะให้ประเทศไทยใช้รัฐธรรมนูญ 2 ฉบับในเวลาเดียวกัน อย่างที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญซ้อนรัฐธรรมนูญ” โดยที่รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งใช้บังคับเพื่ออำนวยสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนในวงกว้างแบบกระท่อนกระแท่นและล่าช้า แม้แต่บรรดาสิทธิเสรีภาพต่างๆ ที่บัญญัติไว้อย่างสวยหรู แต่กลับไม่ให้มีการบัญญัติกฎหมายรองรับ ซึ่งเท่ากับเป็นการลอยแพประชาชนและปล่อยตามยถากรรม ประมาณว่า ถ้าชาวบ้านอยากได้อะไรก็ให้ไปฟ้องเอา ในขณะที่รัฐธรรมนูญอีกฉบับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบทเฉพาะกาล กลับอัดแน่นไปด้วยอำนาจ ผลประโยชน์ และตำแหน่ง ซึ่งนำไปประเคนให้แก่กลุ่มบุคคลหรือคณะบุคคลที่เคยมีส่วนร่วมกับคณะปฏิรูปการปกครองฯ และที่ได้รับแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ อย่างชนิดที่เรียกว่า “แจกกันถ้วนหน้า” และได้รับทันทีที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้บังคับ โดยไม่ต้องรอให้มีการตีความ และไม่ต้องรออะไรทั้งสิ้น ไม่เว้นแม้แต่ผู้พิพากษาและพนักงานอัยการ ที่จู่ๆ ก็ได้ต่ออายุเป็นผู้พิพากษาอาวุโสและเป็นอัยการอาวุโสในชั้นศาล และในตำแหน่งที่ตนเกษียณไปจนกว่าจะอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ซึ่งเท่ากับเป็นการเขียนรัฐธรรมนูญขึ้นอีกฉบับหนึ่งที่เอื้อประโยชน์เต็มๆ แก่บรรดาผู้พิพากษาศาลยุติธรรมและพนักงานอัยการ ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการจัดการกับฝ่ายการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต โดยผ่านกลไกพิเศษที่เรียกว่า “ตุลาการภิวัตน์”

และที่ร้าย คือ เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญอีกฉบับหนึ่งต่างหากเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองบรรดาผู้คนทั้งหลายทั้งหมดที่มีส่วนร่วมในการรัฐประหาร และได้รับแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองฯ ในลักษณะอันเป็นการ “นิรโทษกรรมล่วงหน้า” กล่าวคือ อยู่ในฐานะที่ “ทำอะไรไม่ผิด” ไปตลอดอายุการใช้บังคับของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ประเทศไทยก็เคยถูกมหาอำนาจตะวันตกกดขี่โดยผ่าน “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” ในยุคจักรวรรดินิยมมาแล้ว แต่ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2550 คนไทยกลับต้องถูกกดขี่และแบ่งแยกกันเอง โดยมีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิสภาพนอกรัฐธรรมนูญ” คั่นกลาง ซึ่งทำให้คนกลุ่มเล็กๆ เพียงหยิบมือเดียวมีอำนาจและอิทธิพลเหนือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอันเป็นระบบ ที่เรียกกันว่า “อภิชนาธิปไตย” นั่นเอง