WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 19, 2008

จุดจบของสงครามครั้งนี้ ?


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย

ผมรู้สึกว่าคนจำนวนมากสับสนและสงสัยว่า สงครามความขัดแย้งทางการเมืองไทยครั้งนี้ จุดจบจะเป็นอย่างไร มีการนองเลือดหรือไม่

ผมไม่คิดว่าจะมีการนองเลือดมากไปกว่าที่เป็นมาแล้ว คือ พธม.ปะทะกับตำรวจ หรือ พธม.ปะทะกับ นปช. เพราะโดยธรรมชาติ มวลชนปะทะกันก็คงไม่มีการบาดเจ็บและล้มตายมาก เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปกั้นกลางแม้จะช้าไปหน่อย แต่ก็คงไม่บาดเจ็บหรือล้มตายมากนัก ที่มีการนองเลือดในอดีตนั้นมักถูกทหารไล่ฆ่าประชาชนด้วยอาวุธสงครามมากกว่า ยกเว้นว่าจะมีการทำรัฐประหารและประชาชนต่อต้านแล้วทหารไล่ฆ่าประชาชน อย่างนั้นก็นองเลือดแน่ และเมืองไทยก็จะมีสภาพไม่ต่างจากพม่า และจะเกิดสงครามกอบกู้ประชาธิปไตยต่อไป เหมือนกับที่พวกเราเคยต่อสู้กับ คมช. ผิดกันแต่ครั้งนี้ อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ออกมาเป็นหัวหอก แกนนำอย่างเต็มที่

แต่หากความขัดแย้งยังอยู่ในสภาพปัจจุบัน โดยไม่มีทหารเข้ามายุ่ง ผมไม่คิดว่าจะมีการนองเลือดแต่อย่างใด




แล้วความขัดแย้งจะไปถึงจุดไหน ผมมองว่ามันออกได้สองทางคือ


หนทางแรกหากฝ่ายอำมาตยาธิปไตยทนไม่ได้ ทำรัฐประหาร จุดจบก็คือ จะมีการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ย้อนรอยเหตุการณ์หลังวันที่ 19 กันยายน 49 แต่ครั้งนี้อาจมีการต่อต้านที่รุนแรงกว่า แม้ว่าจะมีการร่าง รธน.ที่เป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า รธน.ปี 2550 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังไม่มีทางหมดสิ้น ต่อให้สามารถกำจัดพวกทักษิณไปหมดสิ้นก็ตาม แต่หน่อประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นแล้ว ประชาชนตื่นตัวขึ้นมากแล้วก็คงไม่ยอมกลับไปสู้การเมืองยุคก่อนปี 2475 อย่างแน่นอน สุดท้ายสถานการณ์ทางการเมืองก็ต้องกลับมาเหมือนในขณะนี้ คือ มีการต่อสู้กันต่อไปจนกว่าจะได้ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์

แต่ข้อสรุปนี้ "ฝ่ายศักดินา" จะสูญเสียความศรัทธาไปจนแทบหมดสิ้น และจะไม่สามารถควบคุมสังคมได้อีกต่อไป สุดท้ายประเทศไทยก็ต้องเดินไปถึงจุดที่เกิดการปฏิวัติ 2475 ขึ้นอีกจนได้และอาจมีการเปลี่ยนแปลงระบบใหญ่โต และควบคุมสถานการณ์ได้ยาก

แนวทางที่สองคือ ไม่มีการทำรัฐประหาร และปล่อยให้มีการต่อสู้ผ่านตัวแทน หรือ Proxy เหมือนปัจจุบันนี้ ซึ่งเราก็จะเห็นมีการยุบพรรคพลังประชาชน และมีพรรคใหม่เกิดขึ้น มีความพยายามที่จะแก้ไข รธน. ซึ่งหากไม่มีรัฐประหาร การแก้ไขย่อมสำเร็จได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลของพรรคพลังประชาชน ก็จะได้ครองอำนาจต่อไป แม้จะกระท่อนกระแท่น อาจมีการเปลี่ยนตัวนายกฯ หลายคน

สุดท้ายอาจถึงคุณเฉลิม อยู่บำรุง หรือ พล.อ.ชัยสิทธิ ชินวัตร เป็นต้น แต่รัฐบาลก็ยังไปได้

หากเกิดแนวทางที่สอง ผมว่าในท้ายที่สุด การเมืองก็จะฟอร์มตัวเป็นระบอบการเมืองแบบสองพรรคอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในแนวทางนี้ กลุ่มอำมาตยาธิปไตย จะต้องลงไปปรับปรุงพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้เป็นพรรคอนุรักษ์นิยมอย่างจริงจัง เพื่อใช้ในการต่อสู้กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งเป็นพรรคเสรีนิยมในรูปแบบหนึ่ง พรรคประชาธิปัตย์คงต้องเปลี่ยนโครงสร้างของพรรคที่เน้นภาคนิยม เป็นให้คนชั้นสูงใน กทม. เข้าไปมีบทบาทมากขึ้น และคงต้องเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรคจากนายอภิสิทธิ์ไปเป็นคนอื่น เช่น สุรินทร์ พิศสุวรรณ หรืออาจรออีกสักนิด ให้คุณปลื้ม (มล.ณัฐฏกรณ์ เทวกุล) เติบโตทางวัยวุฒิพอสมควรก่อน ก็อาจจะเข้าพรรค ปชป. และ Change พรรคนี้อย่างจริงจังเสียที เพื่อให้สามารถต่อสู้กับพรรคพลังประชาชนได้ อย่างสมน้ำสมเนื้อ ไม่ใช่คอยตอดเล็กตอดน้อยเล่นเกมการเมืองแบบปัจจุบันนี้


ผมคิดว่าแนวทางที่สองนี้ เป็นสภาพบังคับว่าถึงอย่างไรก็ต้องออกมาในรูปแบบนี้อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่า อาจจะยังคมมีความวุ่นวายอยู่ในช่วงระหว่างนี้ในขณะที่สถานการณ์ในหลายๆ ด้านยังไม่ลงตัว รวมทั้งความคิดฟุ้งซ่านนอกกรอบของแต่ละฝ่ายยังไม่ลงตัว แต่ถึงอย่างไรก็ตามมันก็จะต้องออกมาแบบนี้ เพราะสุดท้ายประเทศก็จะต้องเดินไปข้างหน้า ประเทศที่มีประชากร 60 ล้านคน คงไม่มีทางหยุดนิ่งอยู่กับที่ หรือต่อสู้วุ่นวายไม่จบไม่สิ้นได้ ไม่มีทางทีภาวะไร้เสถียรภาพจะดำเนินต่อไปอย่างไม่สิ้นสุดได้ เพราะในท้ายที่สุดระบบจะต้องปรับตัวเข้าสู่ดุลยภาพใหม่ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เพื่อบาลานซ์พลังต่างๆ ของสังคมที่เปลี่ยนไปแล้ว

ผมไม่เชื่อว่าพรรคพลังประชาชน จะได้อำนาจรัฐตลอดไป เพราะโดยธรรมชาติแล้ว หากพรรคการเมืองใดครองอำนาจได้ประมาณ 2 สมัยการเลือกตั้ง แรงเสียดทานต่างๆ ในทางนโยบายจะมีมากพอที่จะทำให้การทำงานเกิดอุปสรรค ซึ่งในสุดก็จะแพ้เลือกตั้ง

ประเทศไทยไม่มีทางเหมือนสิงคโปร์ที่พรรคเดียวครองอำนาจ เพราะสภาพสังคมที่เกิดพลังสองกระแสขึ้นมาแล้ว มันไม่มีทางที่กระแสใดจะได้อำนาจตลอดกาล และในอดีตที่ผ่านมาก็ไม่เคยมีใครครองอำนาจได้เกิน 10 ปี ไปนานๆ แม้แต่จอมพล ป. หรือ จอมพลถนอมที่มาจากการทำรัฐประหาร


แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บ้านเมืองจะสงบคงต้องรอให้ผู้มีบารมีชราภาพทั้งหลายตายเสียก่อน ซึ่งก็คงภายในทศวรรษนี้แหละครับ

ในการต่อต้านการทำรัฐประหารนั้น ผมคิดว่า หากพวกเสื้อแดง มีการแสดงพลังบ่อยครั้งและยิ่งใหญ่ขึ้น โอกาสที่จะทำรัฐประหารก็มีน้อยครับ

แม้ว่าผู้มีบารมีอยากจะทำรัฐประหารทุกวันก็ตาม แต่การทำรัฐประหารนั้นไม่เกี่ยวกับความอยากแต่อย่างใด มันขึ้นกับเงื่อนไขทางสังคม หากเงื่อนไขไม่เปิดให้ มันก็เหมือนกับการยกกองทัพเข้าไปในพื้นที่สังหาร ที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิด สุดท้ายต่อให้มีกองทัพเข็มแข็งขนาดไหนก็ไปไม่รอด

ผมคิดว่าการประกาศต่อสู้ของท่านนายกฯทักษิณ ไม่มีอะไรดีกว่า การเคลื่อนไหวอยู่ในต่างประเทศ เคลื่อนไหวสนับสนุนประชาธิปไตย รวมทั้งการจัดโครงสร้างของพรรคระบอบทักษิณให้เข็มแข็ง ประสานความแตกต่างระหว่างแกนนำของพรรคระบอบทักษิณ (จะใช้ชื่ออะไรก็ตาม) ที่มีอยู่ให้รวมกันอยู่ได้ ก็จะทำให้ฝ่ายตรงข้ามทำอะไรไมได้มากนัก

หากจะให้ดี ผมว่าท่านนายกฯทักษิณ เปิดเว็บไซต์จัดรายการ "นายกฯทักษิณพบประชาชน" ผ่านทีวีออนไลน์ ก็จะช่วยสร้างกระแสและความเข็มแข็งให้ พลพรรคเสื้อแดงเพิ่มมากขึ้น

หากตรึงสถานการณ์ให้ได้สัก 5 ปี ศักดินาก็จะไปไม่รอด

แต่ความดื้อของทั้งสองฝ่ายยังไม่หมดครับ พวกที่สนับสนุน พธม. ยังไม่หมดฤทธิ์หมดเดช ต้องปล่อยให้ พธม.อยู่ในทำเนียบต่อไปอีก อย่าปราบเด็ดขาด มวลชนที่สนับสนุนก็จะค่อยๆ ตีตัวออกห่างเหมือนในขณะนี้

และสุดท้ายคนที่สนับสนุน พธม./ปชป. ก็จะเบื่อหน่าย เพราะสู้ไปในแนวทางนั้นก็ไม่ชนะ ก็ต้องหันมายอมรับระบบอยู่ดี

ตอนนี้คนก็เริ่มยอมรับมากแล้วครับ ว่า หากเดินไปแนว พธม. ปัญหาไม่จบ และเริ่มยอมรับระบบมากขึ้น

แต่มันก็ต้องกินเวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปีครับ


จาก thaifreenews