WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, November 19, 2008

ระวังนองเลือด : คาดคะเนหรือคำขู่

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

โดย จรัล ดิษฐาอภิชัย

ก่อนพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัตนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มีกระแสความคิดทั้งพูดและเขียนว่า จะเกิดการนองเลือดหรือรัฐประหารหลังพระราชพิธี และพอพระราชพิธีผ่านไป เสียงทำนองนี้ยิ่งดังขึ้น ส่วนใหญ่มาจากพวกพันธมิตรฯ พรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาสรรหา ทั้งๆ ยังไม่มีสถานการณ์จริงใดๆรองรับ นอกจากการยึดทำเนียบของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น เราจะมองกระแสนี้อย่างไร

โดยทั่วไป เวลาพูดถึงกระแสความคิดใดๆ จะต้องเริ่มจากการจับเนื้อหาของความคิดนั้นๆ ว่าอะไร ที่มาของความคิดมาจากข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์อะไร กล่าวเฉพาะความคิดว่าหลังพระราชพิธีจะเกิดความรุนแรงถึงขั้นนองเลือด มีความเป็นมาอย่างไร

ทุกคนคงจำได้ว่า เมื่อ สนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาขับไล่รัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร จนกลายเป็นขบวนการสนธิ ซึ่งต่อมา เป็นพันธมิตรฯ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2549 สถานการณ์การเมืองค่อยๆกลายเป็นวิกฤติอย่างหนักหน่วง มีการชุมนุมเดินขบวนใหญ่ของพันธมิตรฯ และการชุมนุมของคารวานคนจนในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม มีการยุบสภา และการเลือกตั้งทั่วไป 2 เมษายน เวลานั้น ผู้คนทั้ง 2 ฝ่าย “เอาและไม่เอาทักษิณ” รวมทั้งฝ่ายกลางๆ ส่วนใหญ่คาดคะเนว่าวิกฤติจะจบลงไม่นองเลือดก็รัฐประหาร สุดท้าย รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 การวิเคราะห์และคาดคะเนสถานการณ์ ประการแรกผิด ประการหลังถูกต้อง

ต่อมา เมื่อมีการชุมนุมที่สนามหลวงและเดินขบวนต่อต้านระบอบเผด็จการของคณะความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) โดยแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ชุมนุมยืดเยื้อและเดินขบวน 4 ครั้ง ตั้งแต่มิถุนายนถึงสิงหาคม 2550 ผู้คนทั้งหลายก็คาดคะเนกันว่าจะถูกปราบปราม อย่างนองเลือด ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงครั้งหนึ่ง คือ การสลายการชุมนุมหน้าบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ในคืนวันที่ 22 กรกฎาคม มีคนบาดเจ็บ เสียเลือดเนื้อกว่า 40 คน 4 วันต่อมา แกนนำ นปก. 9 คนถูกจับ แต่ก็ยังไม่ถือเป็นการนองเลือดตามที่คิดกัน

ภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ 2550 การเลือกตั้งทั่วไป 23 ธันวาคม และการจัดตั้งรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชาชนเป็นแกนนำ มี นายสมัคร สุนทรเวช เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งถูกต่อต้านโดยพันธมิตรฯ ทันที แล้วไม่นานก็กลายเป็นการเคลื่อนไหวขับไล่รัฐบาล มีการชุมนุมเดินและขบวน บุกยึดสถานีโทรทัศน์ ยึดกระทรวง สุดท้ายเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม กระแสความคิดว่า วิกฤติทางการเมืองรอบใหม่จะนำไปสู่การนองเลือดหรือรัฐประหาร ก็กลับมาอีก และเกิดขึ้นจริงๆ เมื่อวันที่ 2 กันยายน และ 7 ตุลาคม มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บหลายร้อยคน

กระแสความคิดดังกล่าวนี้ เมื่อก่อนมาจากการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง แต่ขณะนี้มิได้มาจากการวิเคราะห์อย่างเดียว หากมาจากยุทธวิธีข่มขู่อีกด้วย และพวกเขามักจะใช้ยุทธวิธีนี้ทุกครั้งเมื่อรัฐบาล หรือ นปช. จะทำอะไร เช่น คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 (กปพร.) และพรรครัฐบาลจะเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภา พันธมิตรฯ พรรคประชาธิปัตย์ ส.ว.สรรหา จะออกมาต่อต้านว่าแก้เพื่อตนเอง เพื่ออดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และลงท้ายด้วยการขู่ว่าจะเกิดความแตกแยก ความรุนแรง และนองเลือดอีก แม้นการจัดรายการ “ความจริงวันนี้” ทั้งที่สถานีโทรทัศน์และสัญจร มีโฟนอินจากคุณทักษิณ พวกนี้ก็ขู่ว่าจะเกิดความรุนแรง นองเลือด รวมไปถึงข่าวการแต่งตั้ง พล.อ.พัลลภ ปิ่นมณี มาช่วยงานรักษาความมั่นคงแห่งชาติ แกนนำพันธมิตรฯ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์หลายคนออกความเห็นว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง เหล่านี้เป็นต้น

รัฐบาลและประชาชนผู้รักประชาธิปไตย จะต้องไม่หวั่นไหวกับคำขู่ของฝ่ายพันธมิตรฯ ขอให้เดินหน้าสร้างสรรค์ประชาธิปไตย เฉพาะหน้าคือ กดดันพันธมิตรฯ ให้ออกจากทำเนียบ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2550 ให้จงได้