WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, November 21, 2008

ไขปม ทำไม“เครือผู้จัดการ” ล้มละลาย ไม่เกี่ยวต้าน"แม้ว" อะไรจะเกิดขึ้นกับหนี้ก้อนโต 4,726 ล้านบาท

การมีหนี้สินล้นพ้นตัวของ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จึงไม่เกี่ยวกับการต่อสู้หรือต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตรงกันข้ามนายสนธิกลับนำบริษัทแมเนเจอร์ มีเดีย ไปสนิทสนมใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ถึงขั้นออกมาเขียนปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณหลายครั้งหลายหน

หลังจากศาลล้มละลายกลาง พิจารณาเห็นสมควร ให้ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) หรือบริษัทเครือผู้จัดการ เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ผู้จัดการรายสัปดาห์ และนิตยสารผู้จัดการรายเดือน ล้มละลาย จึงมีคำสั่งเมื่อบ่ายวันที่ 18 พฤศจิกายน 2551 ให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัทดังกล่าว

ผลที่ตามมาทันที นายสนธิ ลิ้มทองกุล หนึ่งในแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เจ้าของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ตัวจริง ไม่สามารถออกหนังสือพิมพ์ในชื่อ ผู้จัดการ รายวัน ได้ต่อไป เพราะ หัวหนังสือพิมพ์ ผู้จัดการ เป็นทรัพย์สินของ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้ว

ดังนั้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 นายสนธิ จึงสั่งให้ กองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวันออกหนังสือพิมพ์ในชื่อ ผู้จัดการ 2551 เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่า นำทรัพย์สิน (ชื่อหนังสือพิมพ์) ของผู้อื่นมาใช้

อย่างไรก็ตาม การใช้ชื่อหนังสือพิมพ์ว่า ผู้จัดการ 2551 อาจเป็นการลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นได้

ประกอบกับกระบวนการจดแจ้ง ก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายวันฉบับใหม่ ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ 2550 ยังไม่เสร็จสิ้น ในวันที่ 20 พฤศจิกายน ทีมงานผู้จัดการจึงออกหนังสือพิมพ์ในชื่อ "สารจาก ASTV โดยทีมงาน ผู้จัดการ "

ขณะที่พนักงานของบริษัทว่า 500 ชีวิตนั้น ได้รับการชี้แจงจากฝ่ายบริหาร บริษัทแมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จะต้องเลิกจ้าง(เนื่องจากถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย) แต่จะให้ไปสมัครงานใหม่กับ บริษัท เอเอสทีวี จำกัดของ นายสนธิ โดยพนักงานจะทำงานในตำแหน่งเดิม และเงินเดิมเท่าเดิมทุกอย่าง

อย่างไรก็ตาม สำหรับคนทั่วไปที่มิได้อยู่ในวงการธุรกิจแล้ว อาจสงสัยว่า เกิดอะไรขึ้น ทำไม บริษัทบริษัทแมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จึงล้มละลาย

แต่สำหรับผู้ที่ติดตามข่าวสารทางด้านธุรกิจ และผู้คนในแวดวงสื่อสารมวลชนรู้ดีกว่า บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป ประสบปัญหาทางด้านธุรกิจมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 และ มีหนี้สินหลายพันล้านบาทหรือที่เรียกกันว่า หนี้สินล้นพ้นตัว จนต้องการสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ ตั้งแต่ปี 2541

การมีหนี้สินล้นพ้นตัวของ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จึงไม่เกี่ยวกับการต่อสู้หรือต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

ตรงกันข้าม ในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ เรืองอำนาจตั้งแต่ต้น ปี 2544 นายสนธิ ลิ้มทองกุล กลับนำบริษัทในเครือ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ปไปสนิทสนมใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ถึงขั้นออกมาเขียนปกป้องพ.ต.ท.ทักษิณ หลายครั้งหลายหน โดยเฉพาะในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องเผชิญกับ คดีซุกหุ้นภาคแรก จนศาลรัฐธรรมนูญให้ พ.ต.ท.ทักษิณรอดคดีหวุดหวิดด้วยเสียง 8 ต่อ 7

ในช่วงดังกล่าวบริษัทในเครือแมเนเจอร์ฯเฟืองฟูอย่างมาก มีเม็ดเงินโฆษณาจากหน่วยงานของ รัฐและรัฐวิสาหกิจเข้ามาเป็นจำนวนมาก

เมื่อมี หนี้สินล้นพ้นตัว การที่จะทำให้บริษัทอยู่รอดต่อไปได้ก็คือการนำบริษัทเข้าสู้กระบวนการฟื้นฟูกิจการซึ่งมีเป้าหมายหลัก 2 ประการ คือ

1.ฟื้นฟูกิจการของบริษัท ให้สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามปกติที่เรียกกันว่า การออกจากแผนฟื้นฟูกิจการหรือยกเลิกการฟื้นฟูกิจการ

2.สามารถหาเงินมาชำระคืน ให้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นขอชำระหนี้ ในการฟื้นฟูกิจการดังกล่าว

อย่างไรก็ตามในกรณีของบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป เมื่อเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการแล้ว แม้จะมีการแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการหลายครั้ง แต่ไม่สามารถทำสำเร็จได้ตามแผนทั้งๆที่เวลาผ่านมาเกือบ 10 ปี ยังคงอยู่ในขั้นตอนที่ 1 ของกระบวนการฟื้นฟูกิจการเท่านั้น เมื่อศาลพิจารณาจากรายงานของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และพยานหลักฐานต่างๆ จึงเห็นควรให้บริษัทล้มละลาย จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังกล่าว

การมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็เพื่อมิให้ทรัพย์สินของบริษัทบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ปที่เหลืออยู่ เสื่อมค่าลงไปอีก ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการชำระบัญชีโดยกฎหมายล้มละลาย และนำทรัพย์สินที่เหลืออยู่ดังกล่าวออกขายทอดตลาดเพื่อนำมาเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ที่ยื่นขอชำระหนี้ไว้แล้วตั้งแต่การยื่นขอฟื้นฟูกิจการ และเจ้าหนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างการฟื้นฟูกิจการซึ่งเจ้าหนี้เหล่านั้นต้องมายื่นขอชำระหนี้ใหม่ในคดีล้มละลายภายในเวลา 2 เดือนนับแต่วันประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดสำหรับเจ้าหนี้ภายในประเทศไทย และ 4 เดือนสำหรับลูกหนี้นอกประเทศไทย

ในปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่าบริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป มีหนี้สินอยู่เท่าไหร่ แต่จากข้อมูลการยื่นขอชำระหนี้ไว้ตั้งแต่การยื่นขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ปรากฏว่า มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ 359 ราย เป็นจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ 4,726,097,449.67 บาท

แต่เมื่อนำทรัพย์สินที่เหลืออยู่ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ มาขายทอดตลาดแล้ว จะเหลือทรัพย์สินเฉลี่ยคืนให้แก่เจ้าหนี้ตามสัดส่วนคนละกี่บาท

สำหรับพนักงานบริษัทนั้นมีโอกาสที่จะได้รับการชำระหนี้ในอันดับต้นๆพร้อมกับค่าภาษีที่ต้องชำระภายใน 6 เดือน หลังจากชำระค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ค่าธรรมเนียมของเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และค่าทนาย ทั้งนี้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 257 บัญญัติว่า

บุริมสิทธิในเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้แก่ลูกหนี้ซึ่งเป็นนายจ้างนั้น ให้ใช้สำหรับค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ค่าชดเชย ค่าชดเชยพิเศษ และเงินอื่นใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเพื่อการงานที่ได้ทำให้ นับถอยหลังขึ้นไปสี่เดือน แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งแสนบาทต่อลูกจ้างคนหนึ่ง

เพื่อให้เห็นภาพว่า บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป มาถึงจุดจบ จึงขอนำขั้นตอนกระบวนการฟื้นฟูกิจการมานำเสนอดังนี้

ผู้ร้องขอต่อศาลให้เข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการประกอบด้วย

ธนาคาร ทหารไทย จำกัด(มหาชน) ที่ 1

ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ที่ 2

บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ลูกหนี้ ที่ 3

ผู้บริหารแผน น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์

ทุนทรัพย์ 2,737,587,388.35 บาท

วันที่ศาลมีคำสั่งรับคำร้องขอ 9 ตุลาคม 2541

ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ 6 พฤศจิกายน 2541

มีเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ 359 ราย เป็นจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ 4,726,097,449.67 บาท

ที่ประชุมมีมติพิเศษยอมรับแผน และมีมติตั้งคณะกรรมการเจ้าหนี้รวม 7 รายคือ

1. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) รายที่ 125

2. นายสุวิทย์ จินดาสงวน รายที่ 200

3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) รายที่ 216

4. บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ) รายที่ 262

5. บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด รายที่ 61

6. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) รายที่ 44

7. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอสจีสินเอเชีย จำกัด รายที่ 208

วันที่ 3 สิงหาคม 2542 ศาลแพ่งมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 90/58 วรรค 1 โดยมี นายสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นผู้บริหารแผน

ศาลมีคำสั่งเมื่อ วันที่ 29 พฤษภาคม 2543 ตั้ง น.ส.เสาวลักษณ์ ธีรานุจรรยงค์ เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่

กำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผน วันที่ 29 ธันวาคม 2546 เวลา 9.30. ห้องประชุม 1105 ชั้น 11 อาคารกรุงเทพประกันภัย

กำหนดนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผน วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2547 เวลา 9.30. ห้องประชุม 1105 ชั้น 11 อาคารกรุงเทพประกันภัย

ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนของผู้บริหารแผน วันที่ 23 พฤษภาคม 2547

นัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขแผน วันที่ 13 มีนาคม 2550 เวลา 09.30 น. ห้องประชุม 1105

คำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน ของผู้บริหารแผน วันที่ 28 มิถุนายน 2550

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารแผน ซึ่งก็คือมือขวาของ นายสนธิไม่สามารถบริหารแผนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ จึงยื่นคำร้องต่อศาลขอขยายระยะเวลาซึ่งศาลนัดพิจารณาไปเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2551 แต่มีการเลื่อนพิจารณามาวันที่ 18 พฤศจิกายน จนศาลมีคำสั่งให้ บริษัท แมเนเจอร์ มีเดีย กรุ๊ป ล้มละลายในที่สุด