นายพงษ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย กล่าวถึงการเข้ายื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ว่า เมื่อมีการยื่นญัตติให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว สิ่งที่สภาต้องทำก็ขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของสภาที่ว่าตามข้อบังคับ หากจำไม่ผิดเมื่อมีการยื่นญัตติก็จะมีการบรรจุภายใน 15 วัน จากนั้นก็เป็นหน้าที่ของประธานสภาผู้แทนราษฎรที่จะดำเนินการตามข้อบังคับ
“ความเห็นส่วนตัวตั้งก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการลงประชามติก็ได้ยืนยันมาตลอดและมีความเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญปี 40 นั้นไม่เคยมีใครเรียกร้องให้ฉีกทิ้งไป แต่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มาฉีกทิ้งไป ทั้งที่รัฐธรรมนูญปี 40 ได้ยกร่างในช่วงที่บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ภายใต้บรรยากาศของความต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปการเมือง เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นแบบอย่างที่ดี หากมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นแม่แบบในการแก้ไข” นายพงษ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งมีการมองว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ทำให้มีการใช้อำนาจในการแทรกแซงองค์กรอิสระ นายพงษ์เทพ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 40 ใช้มาเป็นเวลา 9 ปี เราได้รู้ว่า มีจุดไหนที่ต้องแก้ไข สมัยรัฐบาลที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เคยให้อาจารย์จากที่ต่างๆทำการศึกษาแล้วว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นอย่างไร เพราะฉะนั้นถือว่ามีแบบอย่างที่ดีในการแก้ไขแล้ว ซึ่งนั้นคือความเห็นของตนที่ยังเหมือนเดิม ในเมื่อเราได้มีการเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญแล้วก็น่าจะแก้ไขได้ดีส่วนรัฐธรรมนูญปี 50 การยกร่างขึ้นมาภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วเจตนารมณ์ของคนที่ตั้งสสร.ก็มีเจตนารมณ์ซึ่งก็คงถือว่าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงแบบหลักของการแก้ไข รัฐธรรมนูญปี 40 น่าเป็นแบบหลักที่ดีในการแก้ไขมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 50
เมื่อถามว่า แต่ก็มีการมองว่าการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของอดีตไทยรักไทย นายพงษ์เทพ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นว่าการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 จะเป็นประโยชน์กับอดีตไทยรักไทยอย่างไร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ จะทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ อันนี้คือหลักของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายพงษ์เทพ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่เสนอให้มีการลงประชามตินั้น ก็แล้วแต่ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้กำหนดว่าให้ต้องมีการลงประชามติ แต่ถ้าจะทำประชามติก็เป็นเรื่องของประชาชนคนไทยที่เห็นว่าควรมีการลงประชามติหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวก็เห็นด้วยเพราะไม่ใช่เรืองเสียหาย แค่เสียงบประมาณเพิ่มเติมในการทำประชามติเท่านั้นส่วนที่มีการโยงไปว่าที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจะหนีคดียุบพรรคนั้น นายพงษ์เทพ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการแก้ไขกติกาให้ดีขึ้น กติกาที่ทำอยู่ทุกอย่างในวันนี้ ต้องบอกว่า ไม่มีเหตุผลเท่าที่ควร ตนคิดว่าประชาชนต้องใช้ความหนักแน่น ในการรับฟังจากฝ่ายต่างๆ แล้วใคร่ครวญด้วยตัวเอง
“ความเห็นส่วนตัวตั้งก่อนร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการลงประชามติก็ได้ยืนยันมาตลอดและมีความเห็นตรงกันว่า รัฐธรรมนูญปี 40 นั้นไม่เคยมีใครเรียกร้องให้ฉีกทิ้งไป แต่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มาฉีกทิ้งไป ทั้งที่รัฐธรรมนูญปี 40 ได้ยกร่างในช่วงที่บรรยากาศเป็นประชาธิปไตย ภายใต้บรรยากาศของความต้องการที่จะให้มีการปฏิรูปการเมือง เพราะฉะนั้นจึงถือเป็นแบบอย่างที่ดี หากมีการใช้รัฐธรรมนูญปี 40 เป็นแม่แบบในการแก้ไข” นายพงษ์เทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเลือกตั้งมีการมองว่ารัฐธรรมนูญปี 40 ทำให้มีการใช้อำนาจในการแทรกแซงองค์กรอิสระ นายพงษ์เทพ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 40 ใช้มาเป็นเวลา 9 ปี เราได้รู้ว่า มีจุดไหนที่ต้องแก้ไข สมัยรัฐบาลที่มีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เคยให้อาจารย์จากที่ต่างๆทำการศึกษาแล้วว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นอย่างไร เพราะฉะนั้นถือว่ามีแบบอย่างที่ดีในการแก้ไขแล้ว ซึ่งนั้นคือความเห็นของตนที่ยังเหมือนเดิม ในเมื่อเราได้มีการเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนของรัฐธรรมนูญแล้วก็น่าจะแก้ไขได้ดีส่วนรัฐธรรมนูญปี 50 การยกร่างขึ้นมาภายใต้บรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แล้วเจตนารมณ์ของคนที่ตั้งสสร.ก็มีเจตนารมณ์ซึ่งก็คงถือว่าไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน เพราะฉะนั้นถ้าพูดถึงแบบหลักของการแก้ไข รัฐธรรมนูญปี 40 น่าเป็นแบบหลักที่ดีในการแก้ไขมากกว่ารัฐธรรมนูญปี 50
เมื่อถามว่า แต่ก็มีการมองว่าการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นการทำเพื่อประโยชน์ของอดีตไทยรักไทย นายพงษ์เทพ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นว่าการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 จะเป็นประโยชน์กับอดีตไทยรักไทยอย่างไร เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นประโยชน์เพื่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ จะทำเพื่อประโยชน์ของใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ อันนี้คือหลักของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
นายพงษ์เทพ กล่าวต่อว่า ส่วนเรื่องที่เสนอให้มีการลงประชามตินั้น ก็แล้วแต่ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้กำหนดว่าให้ต้องมีการลงประชามติ แต่ถ้าจะทำประชามติก็เป็นเรื่องของประชาชนคนไทยที่เห็นว่าควรมีการลงประชามติหรือไม่ ซึ่งส่วนตัวก็เห็นด้วยเพราะไม่ใช่เรืองเสียหาย แค่เสียงบประมาณเพิ่มเติมในการทำประชามติเท่านั้นส่วนที่มีการโยงไปว่าที่เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อจะหนีคดียุบพรรคนั้น นายพงษ์เทพ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการแก้ไขกติกาให้ดีขึ้น กติกาที่ทำอยู่ทุกอย่างในวันนี้ ต้องบอกว่า ไม่มีเหตุผลเท่าที่ควร ตนคิดว่าประชาชนต้องใช้ความหนักแน่น ในการรับฟังจากฝ่ายต่างๆ แล้วใคร่ครวญด้วยตัวเอง