WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 20, 2008

ฉากแห่งกระบวนยุติธรรม

กรณีของอำนาจศาล ต่อกรณีอำนาจของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี ที่ผู้ถูกแจ้งความกล่าวหาแอบดักฟังโทรศัพท์ ประสงค์จะขอเบิกความนำ พล.อ.เปรม ขึ้นเป็นพยานนั้น

หากมองอย่างประชาชนทั่วไปแล้ว เป็นที่แน่นอนว่า หากศาลเห็นควรให้นำพยานปากใดก็ตามขึ้นเบิกความ เพื่อให้เกิดข้อเท็จจริงต่อกระบวนการตัดสินพิจารณา ให้บังเกิดเป็นความยุติธรรมขึ้นแล้ว

พยานบุคคลนั้นๆ ก็ต้องมาขึ้นให้การต่อศาล ซึ่งหากปฏิเสธหรือหลบเลี่ยง ยังถือเป็นความผิดด้วย...

แต่ก็ต้องกลายเป็นเรื่องที่กำลังสร้างความงุนงงให้กับสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง เมื่อบรรดานายทหารผู้อยู่ใต้บารมีของ พล.อ.เปรม ออกมาพูดเป็นเชิงว่า

การที่จะนำ พล.อ.เปรม ขึ้นเป็นพยานในชั้นศาลนั้น เป็นการกระทำที่ไม่บังควร ดังตัวอย่างที่ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกมากล่าวเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2551 ที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เอ็นบีที ว่า

กรณีแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. พยายามดึง พล.อ.เปรม ไปขึ้นศาลในคดีดักฟังโทรศัพท์นั้น จะทำอะไรต้องคำนึงถึงความเหมาะสม อย่าทำอะไรเพื่อประโยชน์ของคนบางส่วน บางกลุ่ม หรือบางหมู่คณะ

การกล่าวเช่นนี้ พอเข้าใจได้ ซึ่งหาก พล.อ.เปรม ไม่เกี่ยวข้องกับมูลเหตุแห่งคดี เชื่อว่าก็คงไม่มีผู้ใดสามารถลากจูงไปขึ้นศาลได้ เพราะไม่ได้ประโยชน์...

ในทางตรงกันข้าม ผู้ถูกกล่าวหาประสงค์ให้ พล.อ.เปรม มาเป็นพยานในศาลนั้น เข้าใจตามที่ผู้ถูกกล่าวหาอ้างถึงก็คือ เนื้อความการสนทนาในเทปดักฟังดังกล่าว มีการกล่าวถึงชื่อของ พล.อ.เปรม

โดย นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส. สัดส่วน พรรคพลังประชาชน และอดีตแกนนำ นปก. ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ถึงความคืบหน้าการพิจารณาคดีดักฟังโทรศัพท์ ระบุไว้ตอนหนึ่งว่า

“ซีดีบันทึกเสียงดังกล่าว คือการสนทนาระหว่างข้าราชการระดับสูง และผู้พิพากษาอีก 2 คน ซึ่งบทสนทนาพาดพิงถึง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์...???

ตามกรณีนี้ ศาลอาญาได้นัดดูพยานในวันที่ 23 มิถุนายน โดยบุคคลที่เป็นผู้สนทนา ทั้งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้พิพากษา 2 คน รวมทั้งคนที่ถูกเอ่ยถึง เช่น พล.อ.เปรม ก็จะถูกเชิญให้เป็นพยานในชั้นศาลด้วยเช่นเดียวกัน” นายจตุพร กล่าว

ดังนั้น กรณีเชิญ พล.อ.เปรม ไปเป็นพยานให้การ จึงไม่ได้ผิดฝา ผิดเรื่อง ผิดเจตนารมณ์ของกฎหมาย ที่ต้องการให้เกิดความยุติธรรมแต่อย่างใด

จึงไม่เข้าใจว่า การที่ พล.อ.บุญสร้าง กลับนำความรักและเคารพของทหารที่มีอยู่อย่างมากมายต่อ พล.อ.เปรม พร้อมสรุปรวบรัดลงเอยอย่างดื้อๆ ว่า พล.อ.เปรม ได้สร้างประโยชน์มากมายมหาศาล ซึ่งเป็นการทำมาดีทั้งหมด จึงไม่ต้องไปดูเรื่องอื่นๆ มาเกี่ยวพันกับการไปเป็นพยานในชั้นศาลด้วยเจตนาอะไร

เพราะไม่ว่าผู้ใด จะเป็นทหารหรือพลเรือน หรือจะทำประโยชน์มากมายมหาศาลเท่าใด การขึ้นเป็นพยานเบิกความ เป็นคนละเรื่องกัน

หรือการเป็นทหาร การเป็นคนที่ทำคุณประโยชน์อย่างมากมาย มีสิทธิ์ยืนอยู่เหนือกระบวนการยุติธรรม...???

มิน่าเล่า มีความนึกคิดเยี่ยงนี้นี่เอง จึงทำให้ผู้นำทหารไทยที่ผ่านมา ตัดสินใจได้อย่างง่ายดาย ที่จะใช้อำนาจอาวุธยุทโธปกรณ์ที่เป็นภาษีของประชาชน เข้าทำการปฏิวัติรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองอยู่เป็นนิจ

และหากจะกล่าวถึงตัว พล.อ.เปรม แล้ว แม้ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยจะมีข้อสังสัย ว่ามีส่วนเกี่ยวพันอยู่เบื้องหลังการรัฐประหาร เมื่อ 19 กันยายน 2549 มาอย่างต่อเนื่องก็ตาม

แต่ด้วยวัฒนธรรมไทย เรื่องของ พล.อ.เปรม ก็ดูจะเงียบๆ ลงไป หลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550 ยุติลง และได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเรียบร้อยแล้ว

ซึ่งหากย้อนกลับมาพิจารณาทบทวนให้ดีแล้ว เรื่องของ พล.อเปรม ที่ถูกกระชากลากถูขึ้นมาอีก กลับไม่ใช่มาจากฟากฝั่งประชาชนผู้รักประชาธิปไตยแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการจุดชนวนของกลุ่มแก๊งที่เคยสนับสนุนให้เกิดการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ทั้งสิ้น

จึงส่งผลให้ฟากฝั่งประชาธิปไตยพุ่งเป้าไปได้ทันทีว่า นี่เป็นแผนการที่กำหนดให้เกิดขึ้นอย่างมีเล่ห์ และกลิ่นอายแห่งความชั่วร้ายแฝงอยู่ เชื่อมต่อจากประธานองคมนตรี ไปสู่สถาบัน ให้กลายเป็นการจาบจ้วง

มิพักจะต้องพูดถึงกระบวนการ “ตุลาการภิวัตน์” ที่ประชาชนคนไทยทั้งประเทศกำลังจับตาดูอยู่อย่างเขม็งเกลียว เมื่อศาลฎีกาได้แสดงบทบาทดำรงไว้ซึ่งความเป็นกลาง โยนเรื่องขอบเขตอำนาจหน้าที่ของ คตส. กลับไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาตัดสินก่อนว่า ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่

ขณะที่องค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยังคงมีรอยด่างให้เกิดความกังวล ด้วยมีบางคน บางชื่อ เคยมีบทบาทอย่างสูงต่อการสนับสนุนให้เกิดการรัฐประหารขึ้น เมื่อ 19 กันยายน 2549

แต่ก็ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อทรงตรัสให้โอวาทถึงความยุติธรรมที่จะบังเกิดขึ้นได้บนผืนแผ่นดินไทยอย่างแท้จริงนั้น ผู้พิพากษาจำต้องปฏิบัติตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ฉากต่อไปที่ดูจะเป็นฉากสำคัญ...จึงไม่พ้นให้ประชาชนต้องจับจ้อง การแสดงบทบาทการใช้อำนาจของตุลาการศาลสถิตยุติธรรม ที่ต้องเป็นอิสระจากอำนาจของผู้มีบารมี

ให้พ้นจากคำเล่าลือที่เป็นข้อกังวลของประชาชนให้หมดสิ้น...

พร ภัทร (แทน)