WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, May 22, 2008

แฉสื่อชั่ว! ขวางประชามติรธน.


* มีผลประโยชน์ทางธุรกิจเลยแพ้ไม่ได้
ประสานเสียงขานรับ “ประชามติ” หลัง “สมัคร” แจงใช้งบ 2 พันล้าน “อ.จรัล” ชี้สุดคุ้ม เพราะเป็นกระบวนการสร้างความชอบธรรมยิ่งใหญ่พอกับการเลือกตั้ง ส่วนสื่อชั่วที่ออกมากลับลำคัดค้านเป็นเพราะมีผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง “ทักษิณ” หนุนแนวคิดเปิดเวทีฟังเสียงประชาชน ขณะที่ คปพร. ยื่นหนังสือถึงประธานสภาฯ วันนี้ หลัง 164 ส.ส. - ส.ว. ยื่นญัตติแก้ไข รธน.50 พร้อมเสนอให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในกรรมาธิการ คาด 9 มิ.ย. เดินหน้าพิจารณาได้ทันที

ท่ามกลางการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ที่มีรากเหง้าจากเผด็จการ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดมีความคืบหน้าไปอีกขั้นเมื่อกลุ่ม ส.ส. และ ส.ว. รวม 164 คน ได้เข้ายื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.00 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคมที่ผ่านมา

เพื่อนำไปสู่กระบวนการตรวจสอบรายชื่อ ตามกฎหมายกำหนดให้สมาชิกรัฐสภา 1 ใน 5 สามารถเข้าชื่อกันยื่นญัตติแก้ไขกฎหมายได้ จากนั้นจึงจะบรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ในวันที่ 9 มิถุนายนนี้

ขณะเดียวกับที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ให้จัดสรรงบประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อจัดทำประชามติในการแก้ รธน. ในเดือนกรกฎาคม 2551 เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนว่าจะให้มีการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 50 หรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลา 45 วัน

และในทันทีเช่นกันก็เริ่มเกิดเสียงคัดค้านจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์และสื่อบางกลุ่ม ที่กลับลำหลังจากสนับสนุนให้มีการทำประชามติในตอนแรก แต่มาตอนนี้กลับแสดงท่าทีต่อต้านคัดค้านแนวคิดดังกล่าว ด้วยการอ้างถึงเหตุผลของการใช้งบประมาณที่มากเกินไป

“อ.จรัล” ฉะสื่อชั่วแฝงปมธุรกิจ
อ.จรัล ดิษฐาอภิชัย ประธานคณะกรรมการประชาชนเพื่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) แสดงความเห็นด้วยกับการทำประชามติ เพราะจะได้พิสูจน์ให้ผู้ที่คัดค้านเห็นว่าประชาชนเจ้าของประเทศไม่ต้องการ รธน. ที่มาจากเผด็จการ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน ประเทศไทยจะได้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น มองว่าการทำประชามติเป็นกระบวนการที่ยิ่งใหญ่พอๆ กับการเลือกตั้ง เนื่องจากการลงประชามติเป็นความชอบธรรมในการแก้ รธน.

ส่วนที่มีผู้คัดค้านโดยตั้งข้อสังเกตว่าใช้งบมากเกินไปนั้น อ.จรัล มองว่าคนพวกนี้มีจุดยืนที่จะคัดค้าน เพราะแพ้จึงไม่เห็นด้วย เช่นฝ่ายค้าน ถ้าไม่ยุบสภาแล้วเลือกตั้งใหม่ชาติไหนถึงจะได้เป็นรัฐบาล ขณะที่กลุ่มสื่อมวลชน ที่ค้านก็เพราะมีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง ฉะนั้นจะแพ้ไม่ได้

“งบประมาณที่ใช้ในการทำประชามติคุ้มเกินคุ้ม เพราะจะทำให้เรารู้ว่าประชาชนต้องการอย่างไร 2 พันล้านบาทนี้อาจจะช่วยป้องกันเหตุการณ์นองเลือดที่หลายคนบอกว่าถ้าแก้ รธน.จะทำให้เกิดความคัดแย้งจนนองเลือดก็ได้ ถ้าไม่ทำประชามติทางออกก็คือ ต้องดำเนินการตามกระบวนการปกติของรัฐสภา ตรงนี้หากไม่มีคนออกมาค้านค้านนอกสภาก็จะไม่เกิดปัญหา แต่ถ้ามีคนค้านนอกสภามากจะทำให้เกิดกระแสทางการเมือง” อ.จรัล กล่าว และว่า ในวันพรุ่งนี้ (22 พ.ค.) จะเดินทางไปพบนายชัยเพื่อแสดงความยินดีกับตำแหน่งใหม่ และขอให้ท่านยืนหยัดในการเดินหน้าแก้ไข รธน. เพื่อประชาชนต่อไป

นพ.เหวงยื่นสภาเสนอปชช.ร่วมกมธ.
นพ.เหวง โตจิราการ กรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) เปิดเผยว่า ทาง คปพร. จะเข้ายื่นหนังสือต่อประธานสภาฯ ในวันนี้ (22 พ.ค.) เพื่อให้เร่งแก้ไขระเบียบข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2544 หมวดที่ 6 ข้อ 91 เพื่อเปลี่ยนคณะกรรมาธิการวาระ 2 ให้เป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วยอย่างน้อย 1 ใน 3 พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการถ่ายทอดสดในการประชุมสภาฯ เพื่อพิจารณาแก้ไข รธน. อีกทั้งอนุญาตให้กลุ่มคปพร.ใช้ห้องประชุมตึก 2 อาคารรัฐสภาเปิดประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐบาลเป็นเจ้าภาพทำประชามติในร่าง รธน. 40 ก. กับ รธน.50 เพื่อลดระดับอุณหภูมิทางการเมืองและการเผชิญหน้า รวมทั้งตัดช่องว่างของกลุ่มคัดค้านไม่ให้ก่อความวุ่นวายในสังคม ตนเห็นว่า หากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังบ้าเลือดไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี ไม่มีความเป็นมนุษย์หลงเหลืออยู่ ยังเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนในบ้านเมืองอีก ก็หมายความว่ากลุ่มพันธมารฯ พวกนี้ยอมเดินลงเหวนรกไปเอง

“ทักษิณ” หนุน“สมัคร”ทำประชามติ
วันเดียวกัน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์หลังนำคณะบุคคลสำคัญจากประเทศซาอุดีอาระเบีย เข้าพบนายประภัตร โพธสุธน เลขาธิการพรรคชาติไทย ที่ จ.สุพรรณบุรี โดยแสดงความเห็นด้วยกับนายสมัคร ที่เสนอให้มีการทำประชามติในการแก้ไข รธน. เห็นด้วยกับแนวทางของนายกฯ สมัคร ที่จะให้มีการทำประชามติในการแก้ไข รธน. ถือเป็นแนวทางที่ดี เพื่อให้ได้ข้อยุติที่ดี ไม่อยากให้เอาชนะคะคานกัน อยากให้เคารพกติกาที่มีอยู่ หากกติกาไม่ดีก็ควรแก้ไข

เช่นเดียวกับ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ยังคงย้ำจุดยืนเดิมว่า ควรแก้ไข รธน.50 โดยยึด 40 เป็นหลัก พร้อมแนะให้มีการทำประชามติฟังความคิดเห็นประชาชนภายหลังแก้ไข รธน.แล้วเสร็จ ซึ่งไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร อีกทั้งเห็นว่าการแก้ รธน.ครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับ 111 คนหรือเพื่อหนีคดียุบพรรค ทุกฝ่ายไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป

ได้ฤกษ์164ส.ส.-ส.ว.ยื่นแก้รธน.50
เมื่อเช้าวานนี้ (21 พ.ค.) ส.ส.พรรคพลังประชาชน และพรรคร่วมรัฐบาล รวมทั้ง ส.ว. นำโดยนายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน เข้ายื่นญัตติแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร อาทิ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน นายรณฤทธิชัย คานเขต ส.ส.ยโสธร นายพิกิต ศรีชนะ ส.ส.ยโสธร นายพิเชษฐ์ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา นายนรพล ตันติมนตรี ส.ส.สัดส่วน นางพรทิวา นาคาศัย ส.ส.ไชยนาท พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา เป็นต้น

นายบุญจง กล่าวรายงานต่อประธานรัฐสภาว่า ตามที่มี ส.ส.และส.ว. 164 คนได้เข้าชื่อเพื่อเสนอแก้ไข รธน. เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกประกาศใช้มาช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสมาชิกรัฐสภาเห็นว่ามีหลายมาตราเป็นข้อจำกัดต่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา อีกทั้งประชาชนจำนวนก็เรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามที่ปรากฎเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคมที่ผ่านมา ที่เดินทางมายื่นหนังสือต่อสมาชิกรัฐสภา เนื่องจากเห็นว่าหลายประเด็นใน รธน.50 มีข้อจำกัด ในฐานะตัวแทนประชาชนจึงเห็นพ้องต้องกันในการยื่นแก้ไข

“ชัย”รับลูก เชื่อไม่มีเผชิญหน้า
ด้านนายชัย กล่าวภายหลังว่า การพิจารณาแก้ไขกฎหมายสามารถพิจารณาได้ในสมัยประชุมสามัญทั่วไปและสมัยประชุมวิสามัญ พร้อมทั้งยอมรับ เป็นความสัตย์จริง ว่าก่อนหน้านี้ไม่เห็นด้วยที่จะมีการยื่นแก้ รธน.ในช่วงนี้ แต่เมื่อตนเป็นประธานสภาฯ ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย และไม่ทราบถึงการยื่นครั้งนี้ ยังไม่เป็นมติของพรรค เนื่องจากคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคพลังประชาชนไม่เห็นด้วย แต่ก็สามารถทำความเข้าใจกันภายในพรรคได้ เพราะตามกฎหมายระบุชัดเจน รัฐบาลมีสิทธิยื่นญัตติได้ ฉะนั้นจึงเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส.ที่เสนอแก้ไขได้

พร้อมทั้งระบุว่าจะไม่เกิดการเผชิญหน้า เพราะประชาชนส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยให้แก้ไข หากสื่อไม่ทำให้เกิดเช่นนั้น จึงอยากให้สื่อได้เสนอความจริง ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นด้วยที่จะต้องทำประชาพิจารณ์ และเมื่อถามถึงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเตรียมออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านนั้น ไม่ทราบว่าพันธมิตรฯ เป็นใคร ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยไปมาหาสู่ ขณะนี้ยังไม่เห็นประชาชนออกมาเคลื่อนไหวต่อต้าน มีแต่คนออกมาให้มีการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตามกระบวนการประชาธิปไตย

ยึดร่างคปพร.-หนุนทำประชามติ
ขณะเดียวกันมีความเห็นเพิ่มเติมจาก ส.ส. และส.ว. ที่ร่วมลงชื่อในหลากหลายแง่มุม อาทิ นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม กล่าวว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติม รธน.50 ที่ยื่นวันนี้ เป็นร่างฉบับของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) โดยไม่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม เพราะความคิดเห็นต่างๆ ให้ไปเสนอกันในชั้นกรรมาธิการ หลังจากยื่นญัตติแล้ว พวกตนจะร่วมลงชื่อเพื่อขอให้มีการจัดทำประชามติต่อรัฐบาล โดยให้ประชาชนตัดสินใจว่าจะเห็นด้วยกับ รธน.50 หรือฉบับแก้ไขเพิ่มเติมยึด รธน.40 เป็นหลัก

อย่างไรก็ดี ไม่ได้เร่งรัดในกำหนดเวลาบรรจุญัตติดังกล่าว ให้เป็นอำนาจการตัดสินใจของนายชัย ส่วนที่ ส.ส.ของพรรคและพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนไม่ร่วมลงชื่อด้วยนั้น ไม่ถือเป็นปัญหาและไม่มีนัยยะทางการเมือง เพราะ ส.ส.บางคนก็ติดภารกิจ ชณะที่กลุ่มพันธมิตรฯ ขู่ยื่นถอดถอน ส.ส.และส.ว.ที่เข้าชื่อนั้น หากเห็นว่าผิดก็เป็นสิทธิดำเนินการได้ แต่มองว่าเป็นหน้าที่ในฐานะได้รับเลือกมาจากประชาชน และมาตรา 291 ก็ให้สิทธิ ไม่ได้ทำโดยพลการ

เปิดรายชื่อไร้เงา“ชท.-ประชาราช”
ด้านนายนิสิต สินธุไพร ส.ส.ร้อยเอ็ด กล่าวถึงรายชื่อ ส.ส. และส.ว.ที่ลงชื่อทั้งสิ้น 164 คน แบ่งเป็น ส.ส. พรรคพลังประชาชน 123 คน พรรคเพื่อแผ่นดิน 5 คน พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 4 คน พรรคมัชฌิมาธิปไตย 2 คน และ ส.ว. 30 คน ขณะที่ไม่มี ส.ส.พรรคชาติไทยและพรรคประชาราช ส่วนกระบวนการหลังจากเปิดประชุมสมัยวิสามัญวันแรก ในวันที่ 9 มิถุนายนนี้จะนับไปอีก 15 วันก่อนที่ประธานสภาฯ จะบรรจุในวาระการประชุมและนำไปสู่การตั้งคณะกรรมาธิการต่อไป ไม่ได้กำหนดว่าจะพิจารณาแล้วเสร็จเมื่อใด

อย่างไรก็ดี ในส่วนของพรรคชาติไทยอาจจะยังไม่พร้อมลงชื่อ และคงคิดว่าเป็นเรื่องของพรรคร่วมรัฐบาล ความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ส. จึงไม่มีการประสานงานระหว่างพรรคกับพรรค หากพรรคชาติไทยและพรรคประชาราชอยากขอลงชื่อเพิ่มเติมในภายหลังก็ทำได้

ส่วนที่พรรคชาติไทยไม่ร่วมเข้าชื่อจะมีผลต่อการโหวตในขั้นรับหลักการหรือไม่นั้น นายนิสิต กล่าวว่า ต้องอธิบายเหตุผลในรัฐสภาถึงความจำเป็นในการแก้ไข รธน. ซึ่งรัฐสภาจะวิเคราะห์และตัดสินใจเอง ส่วนที่มี ส.ส.และส.ว.ลงชื่อน้อย น่าจะมีเหตุมาจากกลัวถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งส.ส. และ ส.ว.

7 สว.โวยขอถอนชื่อญัตติ
ส่วนนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ส.ว.ศรีสะเกษ หนึ่งใน 30 ส.ว.ที่ร่วมลงชื่อ เผยว่า มี ส.ว.เลือกตั้งหลายคนไม่เห็นด้วยกับ รธน.นี้ ส่วนตัวไม่รู้สึกเกรงกลัวต่อการถูกถอดถอนตามมาตรา 122 เพราะทุกอย่างเป็นไปตามมาตรา 291 ที่มีขั้นตอนถูกต้องครบถ้วนอยู่แล้ว

ขณะที่ นายวรวิทย์ บารู ส.ว.ปัตตานี และ นายแวดือลาแม มะมิงจิ ส.ว.สรรหา แถลงถอนรายชื่อออกจากการเป็นผู้สนับสนุนดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้ตนได้ลงชื่อสนับสนุนขอประชามติจากประชาชนในการการแก้ไข รธน. แต่ทราบจากที่ปรากฏเป็นข่าวว่าชื่อกลับถูกนำไปสนับสนุนญัตติขอแก้ไข รธน. จึงไม่เห็นด้วย ขอถอนชื่อออก เพราะเห็นว่า รธน.ควรบังคับใช้ไประยะหนึ่งก่อน

สำหรับรายชื่อ ส.ว.ทั้ง 7 คนที่ถอนชื่อออกประกอบด้วย นายวรวิทย์ นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ ส.ว.สรรหา นาย สุริยา ปันจอร์ ส.ว.สตูล นายโสภณ ศรีมาเหล็ก ส.ว.น่าน นายแวดือราแม นายมูหามะรอสดี บอตอ ส.ว.นราธิวาส และนายภิญโญ สายนุ้ย ส.ว.กระบี่

“เติ้ง”แทงกั๊กหนุนแก้ในสภา
ในขณะที่ นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย เปิดเผยว่า เท่าที่ติดตามข่าวเห็นว่าเป็นการยื่นส่วนตัวไม่ใช่การยื่นในนามพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทยจึงไม่ได้รับการประสานงาน และไม่ได้ร่วมลงชื่อในญัตติดังกล่าว ส่วนตัวเชื่อว่าจะไม่มีการเสนอร่าง รธน. ฉบับของพรรคพลังประชาชนเข้าไปในสภาอีก เพราะส.ส.ที่ลงชื่อส่วนใหญ่ก็เป็นพลังประชาชน ส่วนกระบวนการแก้ไข รธน.ในสภาจะราบรื่นหรือไม่ยังไม่สามารถระบุได้

“เขาร่วมกันเป็นเอกสิทธิ์ เราคงเข้าไปเกี่ยวข้องไม่ได้ ไม่รู้เขาทำกันเอง ถ้าเป็นเรื่องของพรรคเขาคงติดต่อมาแล้ว ตอนนี้ผมยังไม่เห็นร่าง ยังไม่เห็นสาระคงไปแสดงความเห็นอะไรไม่ได้ ต้องขอดูในสภาก่อน มันอีกยาวไกลจะเป็นอย่างไรตอบไม่ได้ คนที่ไม่เห็นด้วยก็ค้านได้ แต่การค้านต้องอยู่ในระบบ” หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าว

ปชป.ดื้อค้านถกท่าทีวันนี้
ขณะที่รัฐมนตรีในฝ่ายรัฐบาลต่างให้ความเห็นในเรื่องนี้เช่นกัน โดยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ศึกษาธิการ ในฐานะรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน เห็นว่าถือเป็นสิทธิของ ส.ส.ที่ยื่นร่างแก้ไขได้ตามกฎหมาย สุดท้ายก็ต้องไปยำหรือวิเคราะห์กันในสภาฯ หากได้เสียงตามกฎหมายกำหนด 316 เสียงก็ผ่าน หากไม่ครบก็ไม่ผ่าน

ด้าน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเสนอแนะว่าควรจะตั้งตัวแทนของแต่ละฝ่ายจากพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามาดูกันว่าควรจะเป็นอย่างไรและพูดคุยกัน และเห็นว่าควรจะมีการประสานกันมากกว่านี้ ตัวแทนพรรคการเมืองทั้งหลายควรจะมาดูร่างและเมื่อเห็นพ้องต้องกันก็ลงชื่อร่วมกันจะได้เป็นเอกภาพ

ในอีกด้านหนึ่งพรรคประชาธิปัตย์เตรียมนัดประชุมหารือและกำหนดท่าทีในวันนี้ (22 พ.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ จะหารือถึงรายละเอียดของร่างดังกล่าว ทั้งนี้ อาจจะทำร่างแก้ไข รธน. ประกบร่างของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง